bloggang.com mainmenu search





ช้างพลาย




ช้าง จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดลำตัวใหญ่ ขนตามลำตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาวเรียก "ช้างพลาย" ถ้าไม่มีงาเรียก "ช้างสีดอ" ตัวเมียเรียก "ช้างพัง"

ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ช้างใช้เวลาในการตั้งครรภ์นานที่สุดในบรรดาสัตว์บกคือ 22 เดือน ช้างแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม มีอายุขัยประมาณ 50 ถึง 70 ปี ช้างที่มีอายุมากที่สุดที่ได้บันทึกไว้คือ 82 ปี


ประเภทและสายพันธุ์ช้างปัจจุบัน มีสองสายพันธุ์ คือ

1.ช้างแอฟริกา
2.ช้างเอเชีย


ช้างโบราณ ได้แก่

1.ช้างแมมมอธ
2.ช้างสี่งา


ช้างในสื่อต่างๆ ช้างเป็นสัตว์ที่ปรากฏตัวมากหลายครั้งในสื่อต่างๆ ดังนี้

ภาพยนตร์

ยังมีภาพยนตร์ไทยที่กล่าวถึงความสำคัญของช้างอีกมากมาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย เช่น

คนเลี้ยงช้าง พ.ศ. 2533

ช้างเพื่อนแก้ว
ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการผจญภัยของช้างกับเด็ก แสดงให้เห็นถึงความฉลาด น่ารัก แสนรู้ของช้าง

ก้านกล้วยก้านกล้วย
ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องที่สองของไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับช้าง

ต้มยำกุ้ง
ภาพยนตร์แอคชั่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลักพาช้างออกนอกประเทศ พระเอกในเรื่องซึ่งเป็นเจ้าของช้างได้ไปตามทวงคืนมา แสดงให้เห็นถึงความรักและหวงแหนช้าง สัตว์ประจำชาติของชาติไทย

องค์บาก 2
ภาพยนตร์แอคชั่น ซึ่งมีช้างเป็นกองกำลังสมทบ

ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงคราม มักมีการนำช้างมาใช้ในฉากสงคราม


ช้างในความเชื่อในความเชื่อของฮินดู ช้างที่กล่าวถึง คือ ช้างเอราวัณซึ่งเป็นพาหนะของพระอินทร์ และพระพิฆเนศซึ่งมีศีรษะเป็นช้าง


ส่วนในจินตนาการสัตว์ป่าหิมพานต์ก็มีสัตว์ที่มีช้างหลายแบบเช่น

กรินทปักษา มีตัวเป็นช้างมีปีกหางแบบนก
หัสดีลิงก์ มีตัวเป็นนกแต่มีหัวเป็นช้าง
วารีกุญชร มีตัวเป็นช้างแต่มีหางอย่างปลา


ชนิดของช้างเอเชีย
ช้างเอเชียจำแนกได้ 3 ชนิดย่อย ได้แก่

ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกา (Elephas maximus maximus Linn)
ช้างเอเชียพันธุ์อินเดีย (Elephas maximus indicus Cuvier)
ช้างเอเชียพันธุ์สุมาตรา (Elephas maximus sumatranus Temmick)


ขี้ช้าง

ขี้ช้าง มีตัวด้วง และแมลงต่างๆ เข้าไปตอมแล้วหาอาหาร นอกจากนี้ยังมีเมล็ดพืชชนิดต่างๆ ที่ช้างกินเข้าไป ซื่งเมล็ดพืชเหล่านี้พร้อมที่จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เมื่อได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำและอากาศ


ช้างในประวัติศาสตร์

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์

เจ้าพระยาปราบหงสาวดี (ก้านกล้วยในภาพยนตร์)
เจ้าพระยาปราบไตรจักร


ช้างในพระพุทธประวัติ

พลายนาฬาคิรี
พลายคิรีเมขล์
พลายปาลิไลยกะ


ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

ช้างเอราวัณ
ช้างไอราวัณ
ช้างพลายมงคล


ช้างไทยในสมัยกรุงสุโขทัย

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ชื่อรุจาครี

ซึ่งช้างเผือกเชือกนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก เมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย


ช้างไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือก ที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล

ในสมัยสมเด็จพระอินทราชา ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น

ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ
พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร

ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์

ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ

ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร

ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระบรมโกศ) ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์


ช้างไทยในสมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย


ช้างไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1
ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร (บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร (บวรบุษปทันต์) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ (อรรคคเชนทร์) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ (อรรคชาติดามพหัตถี) พระบรมเมฆเอกทนต์

รัชกาลที่ 2
มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ (คเชนทรธราธาร) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์

รัชกาลที่ 3
มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ (ศักดิสารจุมประสาท) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ

รัชกาลที่ 4
มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ

รัชกาลที่ 5
มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ

รัชกาลที่ 6
ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ

รัชกาลที่ 7
ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก


รัชกาลที่ 9

มีช้างเผือก 10 เชือก คือ

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
พระเศวตวรรัตนกรีฯ
พระเศวตสุรคชาธารฯ
พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ
พระเศวตศุทธวิลาศฯ
พระวิมลรัตนกิริณีฯ
พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ
พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ
พระเทพรัตนกิริณีฯ
พระบรมนัขทัศ


การคล้องช้าง

เพนียดคล้องช้าง คือสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง แต่เดิมเคยใช้พื้นที่ข้างพระราชวังจันทรเกษม จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงย้ายมาที่ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เป็นพาหนะของชนชั้นสูง สำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถังหรือ เครื่องมือสำคัญในการนำลี้พลเข้าต่อสู้กับข้าศึก ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย

พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่งอีกด้วย


วิธีจับช้าง

หมอช้างจะขี่ ช้างต่อ ล่อช้างป่าจากนอกพระนคร ให้เข้ามาในเพนียดแล้วคัดเฉพาะช้างที่ต้องการไว้ เมื่อจะนำมาฝึก ก็จะให้หมอช้างชี่ช้าง 4-7 เชือกวิ่งไล่ต้อน

ผู้ที่ทำหน้าที่จับช้าง หรือ คล้องช้าง จะขี่ช้างต่อ ถือ คันจาม ไม้ด้านยาวที่ปลายด้านหนึ่งเป็นบ่วง และ ปลายเชือกผูกติดกับคอช้าง คอยหาจังหวะคล้องบ่วงเข้าที่เท้าหลังของช้าง

เมื่อบ่วงรัดเท้าช้างไว้แน่น จากนั้นควาญท้ายจะโยนบ่วงที่เหลือลงจากหลังช้าง เพื่อให้ช้างลากไปติดเสาตะลุง ก็เป็นอันจับช้างได้ จากนั้นนำช้างต่อสองเชือกปะกบข้าง แล้วนำไปยังสำโตงเตง เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือก ซึ่งการเลือกช้างนั้น จะต้องดูที่คชลักษ์เป็นหลัก แล้วจึงนำช้างแต่ละคชลักษ์ไปฝึกตามตำรา


สิ่งก่อสร้างภายในเพนียด

พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร
ศาลปะกำ สถานที่สำหรับทำพิธี ก่อนจับช้างเข้าเพนียด
เสาชุง ปักเว้นระยะเพื่อทำเป็นคอก
ช่องกุด ประตูเล็กๆ สำหรับเจ้าหน้าที่เข้าออก
เชิ่งเทินก่ออิฐ เป็นกำแพงล้อมรอบเพนียด
เสาโตงเตง เป็นซุงที่ห้องจากด้านบน ปลายลอย มีเชือกดึงออกไปด้านข้าง เพื่อเปิดให้ช้างเข้า ทำหน้าที่เนประตู


การใช้ช้างเป็นตราประจำจังหวัดของไทย

กรุงเทพมหานคร
รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตามแบบภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์


ภาคเหนือ

เชียงราย
รูปช้างสีขาวกับเมฆ ลายที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว

เชียงใหม่
รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว

ตาก
รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง

แม่ฮ่องสอน
รูปช้างเล่นน้ำ


ภาคกลาง

นครนายก
รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง

สุพรรณบุรี
รูปการทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชมังกะยอชวา ที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อ พ.ศ. 2135


ภาคใต้

นราธิวาส
รูปเรือกอและกางใบแล่นรับลมเต็มที่ ภายในใบเรือเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องคชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ ช้างสำคัญซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2520


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารศุภสวัสดิ์ โสมนัสสวัสดิ์สิรินะคะ
Create Date :11 มีนาคม 2554 Last Update :11 มีนาคม 2554 8:04:58 น. Counter : Pageviews. Comments :0