bloggang.com mainmenu search






ด้วง




ด้วง (Beetle) จัดเป็นแมลงปีกแข็งในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยแมลงปีกแข็ง (ด้วง) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ในอันดับ Coleoptera แมลงในกลุ่มนี้บางชนิดมีพิษ

การรับประทานเพียง 1 ตัว สามารถทำให้คนที่รับประทานเข้าไปตายได้ เช่น ด้วงน้ำมัน บางชนิดมีพิษต่อผู้สัมผัส ได้แก่ ด้วงก้นกระดก การรับประทานหรือสัมผัสด้วง ต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ มิฉะะะนั้นอาจให้โทษแก่ผู้นั้นได้

เพราะด้วงบางชนิดอาจมีพิษทำให้ปวดแสบปวดร้อนได้ เช่น ด้วงนำมัน ด้วงดินบางชนิด เป็นต้น

ความสำคัญของด้วงในระบบนิเวศวิทยา เป็นผู้ย่อยสลายได้ดีแก่ซากพืช เช่น ด้วงขี้ควายหรือแมงกุ๊ดจี่ ในทางการเกษตรเป็นแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงหนวดยาว

ทางด้านอาชญากรรมนักนิติเวชกีฏวิทยา สามารถนำด้วงมาหาปัจจัยของสาเหตุการตายในงานของนิติเวชกีฏวิทยา (Forensic Entomology) ของมนุษย์ได้ โดยด้วงจะเข้ามายังศพช่วงระยะที่ศพเริ่มจะแห้ง จนถึงระยะศพแห้ง


ด้วงในประเทศไทย

มีการสำรวจด้วงวงศ์ย่อยชีลาฟินาอี้ (Pselaphinae) ในวงศ์สปาไฟลินิเดอี้ (Staphylinidae) ในเมืองไทยพบเพียง 40 ชนิดจนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ดร.ชูเฮอิ โนมูระ (Shuhei Nomura) ผู้เชี่ยวชาญด้านด้วงจากพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยา ประเทศญี่ปุ่น

พบด้วงชนิดใหม่ที่เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี 3 ชนิด คือ

Articerodes thailandicus หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ ไทยแลนดิคัส
Articerodes Ohmumoi หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ โอมูโมอิ
Articerodes Jariyae หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ จาริเย


สถิติ

ยาวที่สุดในโลก ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส (Dynastes hercules) วงศ์ Scarabaeidae-Dynastinae ตัวผู้ยาวที่สุดที่บันทึกไว้ (จากปลายเขาถึงปลายท้อง) คือ /270 มิลลิเมตร ส่วนตัวเมียไม่มีเขามีขนาด 60-100 มิลลิเมตร แหล่งที่พบคือโคลัมเบีย เอกวาดอร์ บราซิล คอสตราริกาและปานามา เป็นต้น

ยาวอันดับสอง ด้วงกว่างเนปจูน (Dynastes neptunus) วงศ์ Scarabaeidae-Dynastinae ตัวผู้ยาวที่สุดที่บันทึกไว้ (จากปลายเขาถึงปลายท้อง) คือ 180 มิลลิเมตร ตัวเมียประมาณ 60-85 มิลลิเมตร แหล่งที่พบคือโคลัมเบียและโบลิเวีย


สถิติในไทย

ด้วงกว่างสามเขาจันท์, ด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (Chalcosoma caucasus) เป็นกว่างสามเขาที่ใหญ่-ยาวที่สุดในโลก ตัวยาวที่สุดพบที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนิเซีย ยาว 130 มิลลิเมตร

ด้วงชนิดนี้พบมากในทางตะวันตกของมาเลเซีย ตัวผู้ที่ยาวที่สุดในไทยยาว 120 มิลลิเมตร พบที่จันทบุรี (ในโลกนีมีด้วงกว่างสามเขาอยู่สามชนิดคือ Chalcosoma caucasus,Chalcosoma atlas และ Chalcosoma mollenkampi)


ด้วงที่น่าสนใจและเพาะเลี้ยงได้ง่าย

จะกล่าวอยู่สองกลุ่มคือ ด้วงกว่าง (วงศ์ Dynastinae,Scarabaeidae) เช่น ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon) ด้วงกว่างสามเขา (วงศ์ย่อย Chalaosoma) กว่างห้าเขา (วงศ์ย่อย Eupatorus) และด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกาง (วงศ์ย่อย Lucanidae) ซึ่งต่างประเทศทำกันนานแล้ว

แต่ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัว เพราะเป็นสัตว์ที่เพาะเลี้ยงง่าย และไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นศัตรูพืช เพราะว่าหนอนกินไม้ผุที่ตายแล้วและมีเห็ดราขึ้นเป็นอาหาร


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานปรีดิ์ปราโมทย์นะคะ
Create Date :17 มกราคม 2554 Last Update :17 มกราคม 2554 10:07:08 น. Counter : Pageviews. Comments :0