bloggang.com mainmenu search









บ้านโป่งแดง ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งแดง อ.ขามทะเลสอ








ในอดีตเป็นบริเวณที่มีสัตว์ชุกชุม และลงมากินดินโป่งซึ่งมีลักษณะเป็นสีแดงเหนียว เป็นที่มาของชื่อ โป่งแดง








เป็นพื้นที่ลุ่มมีสายลำตะคองไหลผ่าน และมีคลองซอยมากมาย








ที่นี่จึงทำนากันมาแต่ช้านาน ... จึงเป็นอีกแหล่งที่ผลิตหมี่โคราชที่เรียกว่าหมี่น้ำฉ่า








ชาวบ้านอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน ต่างมีที่นาที่อยู่ล้อมรอบหมู่บ้าน








ในการเดินทางไปที่นาของตนที่อาจไม่ได้อยู่ติดถนน

จึงทำสะพานไม้กระดานเพื่อทอดไปยังที่นา ทั้งเพื่อใช้ขนข้าวจากนา และเดินทางในหน้าน้ำ









เล่าว่ามีอยู่หลายสะพาน บางสะพานเชื่อมกันได้ระหว่างบ้านต่าง ๆ 




















และใช้เป็นเส้นทางเดินตัดนาถึงบ้านละลมหม้อ ข้ามคลองลำตะคอง  เพื่อเข้ามายังตัวเมืองขามทะเลสอ








ไปตามหาสะพานด้านหลังของวัดสามัคคีสโมสร








ที่เคยเป็นสะพานไม้เปลี่ยนเป็นสะพานปูน และถนนดินแดงเข้าไปยังที่นา








ต้นตาลกับกอไผ่ ต้นเดียวกันหรือไม่ ?








มีบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านลาวถูกทิ้งร้าง วัดก็ถูกทิ้งร้าง

คงเหลืออยู่แต่ร่องรอยของรากฐานที่เคยเป็นวัด

มีผู้คนจากที่อื่นอพยพเข้ามาอยู่

เมื่อได้แผ้วถางจึงได้พบอาคารถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุมชอนไชจนเสียหาย

และหลวงพ่อแก่นจันทร์ ถูกเสาทับอยู่

จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อแก่นจันทร์มาประดิษฐานอยู่ที่วัด สามัคคีสโมสรในปัจจุบัน

ศิลปะล้านช้าง

ลักษณะที่สำคัญคือ พระกรรณ(หู) มีเบ้าพระกรรณขนาดใหญ่ ติ่งพระกรรณห้อยยาวโค้งออกจากลำคอ

เพื่อนบอกว่าอิทธิพลอยุธยา เพราะฐานสูงและมีผ้าทิพย์ มีไรพระศก








วัดอุดมสามัคคี หรือวัดลาว หรือวัดใน หรือวัดโป่งเหนือ

สร้างปี 2392 ในรัชสมัยรัชการที่ 3

วิหาร ที่เคยเป็นโบสถ์เก่าทำด้วยไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก







ขนาด 3 ห้อง ด้านหน้าและด้านหลังเป็นโถงระเบียง








ช่องหน้าต่างมีซี่ลูกกรงไม้ด้านล่าง ... เพิ่งเคยเห็นที่วัดในโป่งแดงนี้








พระประธานศิลปะล้านช้าง

เพื่อนบอกว่าอิทธิพลรัตนโกสินทร์ ที่ขอบสบงมีสองขอบเริ่มมีตอนสมัยรัชกาลที่ 3








หินทรายแดง หลงเหลืออยู่ข้างโบสถ์ หรือจะเป็นเสมาที่ถูกถอนขึ้นมา เพื่อสร้างโบสถ์ใหม่








มีผู้คนอยู่เพิ่มมากขึ้น

ปี 2460จึงได้ส้รางวัดขึ้นทางทิศตะวันออกชื่อ โป่งแดงบูรพาราม

โบสถ์







มีลูกระนาดเตี้ย ๆ ที่หน้าต่างเช่นกัน








พระประธานศิลปะล้านช้างเช่นกัน








กุฏิ








ปี 2464 มีการสร้างวัด วัดสุริยาเย็น หรือ วัดโป่งใต้ขึ้น








ถูกทิ้งไว้แถวบริเวณโบสถ์








หน้าบันทางทิศตะวันตก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ทางตะวันออกกำลังขุดบ่อจึงเข้าไปเก็บภาพไม่ได้ 

ไม่ทราบว่าเหมือนที่วัดพระนารายณ์มหาราช หรือวัดกลาง หรือไม่

ที่หน้าบันด้านหน้า ทิศตะวันออกเป็นรูป พระนารายณ์ทรงครุฑ ทิศตะวันตกเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ต่างจากปราสาทหินที่พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จะอยู่ในทิศตะวันออกเพราะเป็นเทพประจำทิศ








พระประธาน








พระโมคคัลลา พระสารีบุตร














ด้านหลังพระประธานบรรจุอัฐิพระครูอินทรีย์สังวรณ์ เจ้าอาวาสองค์แรกและเจ้าคณะแขวงสูงเนิน














ปี 2513 ได้รวมวัด อุดมสามัคคี หรือวัดโป่งเหนือ และวัดสุริยาเย็นหรือวัดโป่งใต้ ซึ่งอยู่ติดกันให้เป็นวัดเดียวกัน








ชื่อวัดสามัคคีสโมสร จึงถอนเสมาทั้งสองโบสถ์ และตั้งโบสถ์ใหม่








ในวันที่ 17-18 สิงหาคม 2559 จะได้ทำพิธีพุทธาภิเศก

พิธีเททองหล่อพระประธาน พลวงพ่อแก่นจันทร์ ... จึงขอร่วมบอกบุญมา ณ ที่นี้ด้วย








เมืองโป่งแดงแห่งนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญคือ วัดน้ำฉ่า








เป็นโบสถ์ที่เข้าใจว่าสร้างทับอโรคยาศาล














ภาพแกะสลักสมัยขอม ประดับไว้หลังโบสถ์

ภาพเทพและยักษ์กวนเกษียรสมุทร








ภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ... ทับหลังทิศตะวันออก








ซึ่งอยู่บนบนเส้นทางลำตะคอง

อาจไปยังเมืองโคราช - ปราสาทเมืองแขก , เมืองเสมา

หรือแหล่งหินตัดที่สีคิ้วก็อาจเป็นได้

หรืออาจย้อนไปถึงยุคทวาราวดีที่ ใช้หินตั่งก็อาจเป็นได้








ขอบคุณภาพสะพานไม้ในอดีต ... เครดิต เฟสบุ๊ค "เรื่องเล่าชาวโป่งแดง"



Create Date :01 สิงหาคม 2559 Last Update :14 มกราคม 2566 18:48:47 น. Counter : 6769 Pageviews. Comments :18