bloggang.com mainmenu search








อัพบล๊อกวันนี้อยากจะเขียนถึง ตุง หรือ ธุง ในความหมายของผู้คนในอีสานให้ได้อ่าน เพราะคิดว่านานๆเข้าเรื่องราวและความหมายของธุงนั้นคงหายไปตามยุคสมัยครับ ... สำหรับภาพที่ลงในบล๊อกนี้ได้ไปถ่ายมาจากงาน "มาฆปูรมี ทวาราวดีมิ่งหล้า เมืองฟ้าแดดสงยาง" ซึ่งเป็นการถวายธุงและรำบวงสรวงพระธาตุยาคู อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ในวันที่ 17 - 18 กพ. 2562 ที่ผ่านมาครับ




ด้านในสุดคือพระธาตุยาคู



สำหรับ คำว่า ตุง หรือ ธุง นั้น คุณวิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เขียนไว้ว่า

ในงานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์  “ตุง” หรือ  “ธุง” หลากหลายรูปแบบและหลากหลายสีสันบนผืนผ้าหรือใช้วัสดุสิ่งอื่นเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณในงานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์  “ตุง” หรือ  “ธุง” หลากหลายรูปแบบและหลากหลายสีสันบนผืนผ้าหรือใช้วัสดุสิ่งอื่นเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ

“ตุง” มีความเป็นมาจากเรื่องเล่าเมื่อครั้งในอดีตว่า มีพวกเหล่ามารปีศาจขึ้นไปก่อกวนเทวดาบนสวรรค์ จนทำให้เหล่าเทวดาตกใจกลัวเป็นอย่างมาก ทำให้เจ้าแห่งสวรรค์สร้าง “ตุง”  ขึ้นมา เพื่อให้เหล่าเทวดาได้มองเห็น “ตุง” แล้วเกิดความกล้าหาญไม่หวาดกลัวเหล่ามารปีศาจอีกต่อไป “ตุง” จึงเป็นเหมือนตัวแทนในการขับไล่มารร้ายไปจากสวรรค์นั้นเอง ทำให้ในกาลต่อมามนุษย์จึงได้ประดิษฐ์ “ตุง” เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชา อีกทั้งเป็นปัจจัยการส่งกุศลให้แก่ตนเองในชาติหน้าจะได้เกิดบนสรวงสวรรค์ต่อไป

“ตุง” จึงนับได้ว่าเป็นเครื่องสักการะ เพื่อใช้พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในบุญเฉลิมฉลอง หรือขบวนแห่ต่าง ๆ การประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ เพื่อความสวยงามตระการตา โดยมีความแตกต่างกันตามความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมของท้องถิ่น ซึ่งโดยทั่วไปตุงจะมีลักษณะคล้ายกับธงมีความยาวประมาณ 1 – 3 เมตร อาจทอด้วยผ้าฝ้ายเป็นลายขิด ลวดลายสัตว์ คน ต้นไม้ หรือพระพุทธรูป เพื่อถวายพระสงฆ์เป็นพุทธบูชา


ตุงคำว่าตุง  ก็คือ ทุง หรือ ธง  นั่นเอง เป็นธงแบบห้อยยาวจากบนลงล่าง เมื่อเข้าไปในวิหาร ก็จะเห็นตุงหลากหลาย  ตุงเหล่านี้ทำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น ผ้า กระดาษ ธนบัตร เป็นต้น โดยมีขนาด รูปทรงตลอดจนการตกแต่งต่างกันออกไปตามระดับความเชื่อ  ความศรัทธา และฐานะ ทางเศรษฐกิจของผู้ถวายคติความเชื่อเกี่ยวกับการถวายตุง

การที่ชาวบ้านนำตุงมาถวายเป็นพุทธบูชา ทั้งที่เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วหรือเป็นการถวายเพื่อส่งกุศลผลบุญให้แก่ตนเองในชาติหน้า ก็ด้วยคติความเชื่อที่ว่าเมื่อตายไปแล้วจะพ้นจากการตกนรกโดยอาศัยเกาะชายตุงขึ้นสวรรค์ จะได้พบพระศรีอริยะเมตตรัย หรือ จะได้ถึงซึ่งพระนิพพาน จากความเชื่อนี้จึงมีการถวายตุงที่วัด อย่างน้อยครั้งนึงในชีวิตของตน










ธุงใยแมงมุม


ความเชื่อของคนอีสานเกี่ยวกับธุง พบว่า ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องจากธุงของคนอีสานไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้จากจำแนกออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการถวายผ้าธุง และด้านการนำธุงมาใช้

สำหรับความเชื่อที่เกี่ยวกับการถวายธุงให้วัดส่วนใหญ่ เชื่อว่า ได้กุศลแรง เพราะธุงถือเป็นของสูงในพิธีกรรม และมักถูกนำมาใช้ตกแต่งในงานบุญที่สำคัญเสมอ หากถวายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเชื่อว่าบุญจะถึงและได้บุญมาก ดังนั้นผ้าธุงที่ญาติโยมนำมาถวายวัดจึงมักนิยมเขียนหรือปักชื่อทั้งญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว และชื่อผู้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดังนั้น คนอีสานจึงมีความเชื่อเกี่ยวกับธุงใน 2 ลักษณะ คือ การทำบุญ เมื่อได้ทำบุญด้วยการถวายธุงแล้ว จะอยู่เย็นเป็นสุข เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การให้ทาน เมื่อได้ให้ทานด้วยการถวายธุงแล้วจะช่วยให้วิญญาณผู้ตายหลุดพ้นจากนรกหรือวิบากกรรม


ความเชื่อเกี่ยวกับการนำธุงมาใช้ เชื่อว่า

1)การปักหรือแขวนธุงในเขตงานบุญเป็นการบอกกล่าวหรือเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คน รวมทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นได้รับรู้สถานที่แห่งนี้กำลังมีงานบุญ บางแห่งได้เย็บกระเป๋าติดกับตัวธุงสำหรับใส่เงิน ดอกไม้และอื่น ๆ ไว้ด้วย ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการใส่เงินอาจมีแตกต่างกันไปบ้าง เช่น บางแห่งเชื่อว่าเป็นการส่งเงินให้คนหรือญาติที่ตายไปแล้ว บางแห่งบอกว่าให้กับเจ้ากรรมนายเวร 

2)การปักหรือแขวนธุงเป็นการป้องกันพญามารมารบกวนเขตพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา 3)การปักหรือแขวนธุงเป็นการตกแต่งสถานที่งานบุญที่สำคัญที่เคยยึดถือสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี

รายละเอียดเพิ่มเติม : บันทึก ศึกษา ธุงอีสาน รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2554














ธุงใยแมงมุม เป็นตุงที่ทำจากเส้นด้ายจากเส้นฝ้ายหรือเส้นไหม ผูกโยงกันคล้ายใยแมงมุม นิยมใช้แขวนตกแต่งไว้หน้าพระประธาน หรือโดยรอบในงานพิธีกรรม ใช้ในการปกป้องคุ้มครองคล้ายกับตุงไชย เป็นที่แพร่หลายในภาคอีสาน   การประดับธุงใยแมงมุมของวัดไชยศรี งานบุญเผวสบ้านสาวะถี และ ประดับในงานร่วมสมัย เป็นต้น 

และจากภาพคือการประดับในงาน "มาฆปูรมี ทวาราวดีมิ่งหล้า เมืองฟ้าแดดสงยาง" ที่วัดพระธาตุยาคู อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งจะแขวนไว้จนถึงช่วงาน "ชุมนุมไหว้พระธาตุยาคู" ในเดือนพฤษภาคม นี้ครับ









Create Date :04 มีนาคม 2562 Last Update :4 มีนาคม 2562 11:02:11 น. Counter : 23594 Pageviews. Comments :6