bloggang.com mainmenu search

เกิดจากเสียงของการสั่นสะเทือนของเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ขณะนอนหลับ เนื่องจากมีสภาวะ
การอุดกั้นทางเดินหายใจ

อวัยวะที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น
- ผนังกั้นช่องจมูกคด
- เนื้อเยื่อเทอร์บิเนตในช่องจมูกบวมโต
- ต่อมทอนซิล และต่ออะดีนอยด์โต
- กระดูกใบหน้า หรือ คางเล็กกว่าปกติ

การนอนกรนแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 แบบ
1. เพียงแต่เสียงกรน (Just Snoring)
2. มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Airway Resistant Syndrome)
3. มีการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea Syndrome)


ผลของการนอนกรน

1. พักผ่อนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอนกลางวัน อาจเกิดอุบัติเหตุในการขับรถหรือขณะทำงานกับเครื่องกล
2. ขาดสมาธิในการเรียน การทำงาน อารมณ์ไม่ดี ก้าวร้าว หดหู่ ในเด็กอาจมีปัญหาอยู่ไม่สุขปัญหา
การเรียน ปัสสาวะรดที่นอน
3. มีการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ รู้สึกกลืนติดหรือมีก้อนในลำคอ
4. ความเสี่ยงในโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
แนวทางการตรวจวินิจฉัย เพื่อวางแผนการรักษา
1. พบแพทย์แผนก หู คอ จมูก เพื่อซักประวัติ
2. ตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจพิเศษในช่องจมูก ช่องปาก โดยกล้องส่องสายอ่อน
(Flexible Nasopharyngoscopy)
3. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูอัตรามวลของร่างกาย
4. ทำแบบทดสอบภาวะง่วงนอนในเวลากลางวัน
5. เจาะเลือดตรวจ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อมีข้อบ่งชี้
6. ตรวจภาวะการนอนหลับ (Overnight Sleep Test) การนอนกรน ทำให้การนอนหลับในเวลากลางคืน เป็นการนอนที่ไม่หลับสนิท หลับไม่ลึก ทำให้หูไวได้ยินเสียงง่าย
และตื่นง่ายกลางดึก ร่างกายไม่มีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ที่มา : //www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/การนอนกรน_188/th

Create Date :16 กันยายน 2554 Last Update :16 กันยายน 2554 19:09:03 น. Counter : Pageviews. Comments :0