bloggang.com mainmenu search

มาเจอกันกับเกล็ดความรู้เรื่องสุขภาพกันอีกแล้วนะครับ โดยวันนี้ผมก็มีเกล็ดความรู้เรื่องแผลร้อนในมาฝาก เพื่อนๆชาว สนามฟุตบอล Bangkok7 ได้รู้จักกันมากขึ้นนะครับซึ่งก็เชื่อได้เลยครับว่าร้อยทั้งร้อยเพื่อนๆ ชาว สนามฟุตบอล Bangkok7 จะต้องเคยเป็นกันแน่นอน ซึ่งบางทีก็ทราบสาเหตุบางทีก็ไม่ทราบสาเหตุงั้นเราก็เริ่มทำความรู้จักกับแผลร้อนในกันเลยดีกว่า

โดยลักษณะของแผลร้อนก็จะเป็นหลุมสีขาว มีอาการแสบ ซึ่งก็จะเกิดตรงริมฝีปากบ้าง เหงือกบ้าง หรือ กระพุ้งแก้ม ซึ่งสาเหตุที่เกิดแผลร้อนในก็จะมีอยู่หลายอย่างครับได้แก่ 1. ความเครียด 2. ท้องผูก 3. อนามัยในช่องปากไม่ดี 4. โดนของแข็งมีคม อย่างโดนก้างปลา หรือ โดนฟันคบ ซึ่งแน่นอนครับ เวลาที่ใครได้เป็นแล้วบอกได้เลยว่าในวันแรกจะรู้สึกแสบมากจนไม่ค่อยจะได้เป็นอันกินอะไรกันเลย ซึ่งในการรักษาก็ตามสาเหตุเลยครับ 1.หาวิธีลดความเครียด 2.ประทานอาหารเช่น ผลไม้ที่มีกากเยอะ ดื่มน้ำมากๆ 3. รักษาอนามัยนช่องปากให้ดี 4. ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีโอกาสสร้างแผลในปาก และก็กินอาหารอย่างมีสติ

และปกติแล้วแผลร้อนในนี่จะหายไปเองภายใน 7 วันนะครับ แต่ถ้าเป็นถึงสองอาทิตย์แล้วยังไม่หาย เพื่อนๆชาว สนามฟุตบอล Bangkok7 ก็คงต้องไปพบหมอกันแล้วละครับเพื่อที่จะได้มีการรักษาที่ถูกต้องกับอาการอีกครั้ง

สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่

แผลแอฟทัส (Aphthous ulcer)

        เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการแผลเปื่อยในปากเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่มักเป็น ๆ หาย ๆ เป็นประจำ พบมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงขณะใกล้มีประจำเดือน)

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าอาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาทางภูมิต้านทานหรือปฏิกิริยาอิมมูน (immunity) ที่เกิดกับเยื่อบุผิวภายในช่องปาก โรคนี้มักเกิดขึ้นขณะที่มีความเครียดทางจิตใจ, ขณะมีประจำเดือน, อาหารไม่ย่อย, ท้องผูกหรือเป็นไข้เรื้อรัง ชาวบ้านมักเรียกว่า แผลร้อนใน

อาการ รู้สึกเจ็บในปาก เมื่อตรวจดูจะพบมีแผลตื้น ๆ ขอบแผลแดง ตรงกลางแผลเป็นสีขาวปนเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร (บางครั้งมีขนาด 7-15 มม.) ขึ้นที่เยื่อบุช่องปาก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม บนลิ้น ใต้ลิ้น (ส่วนน้อยอาจพบที่เพดานปาก เหงือก หรือ ต่อมทอนซิล) อาจขึ้นเพียงแผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ ในระยะ 2-3 วันแรกจะรู้สึกปวดมากจนบางครั้งกลืนหรือพูดไม่ถนัด ถ้ายิ่งกินถูกของเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด จะรู้สึกปวดแสบมากขึ้น ต่อมาอีก 5-7 วัน จะพบว่ามีเยื่อเหลือง ๆ ปกคลุมที่ผิวของแผล ต่อมาแผลจะค่อยทุเลาปวดและหายได้เองภายใน 7-14 วัน โดยมากมักจะไม่เป็นแผลเป็น

            ส่วนมากจะไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการอ่อนเพลีย และมีไข้ร่วมด้วย

การรักษา

        1.  ควรงดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จนกว่าแผลจะหาย

        2.  บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ วันละ 2-3 ครั้ง

        3.  กินยาแก้ปวดลดไข้ (ย1) ถ้ารู้สึกปวดมากหรือเป็นไข้

        4.  ป้ายแผลด้วย กลีเซอรีนโบแรกซ์ หรือ เจนเชียนไวโอเลต วันละ 2-3 ครั้ง หรือทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมเคนาล็อก (Kenalog in orabase) วันละครั้งก่อนนอน

        5.  ถ้าแผลไม่หายใน 3 สัปดาห์ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ


//board.postjung.com/626929.html

Create Date :07 สิงหาคม 2555 Last Update :7 สิงหาคม 2555 19:51:56 น. Counter : 2140 Pageviews. Comments :0