bloggang.com mainmenu search
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ททท.

สายลมอ่อน ๆ ปะทะเข้าใบหน้า ทำให้รู้สึกชื่นอกชื่นใจกับความเย็นสบาย เมื่อได้มายืนมองวิวทิวทัศน์บริเวณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งนอกจากจะเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนได้แล้วนั้น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตฮิตอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปชมกินลมชมวิว สัมผัสความงามของ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กันค่ะ...

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้ง อยู่บริวเณบ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเขื่อนดินแกนดินเหนียวกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน ความยาวตัวเขื่อน 4,860 เมตร สามารถเก็บน้ำได้ 785 ล้านลูกบาศก์เมตร ณ ระดับความสูง 42 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่ง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มี อาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เริ่มกักเก็บน้ำได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2541

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ประวัติความเป็นมา

สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อน เพื่อแก้ปัญหา จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว

โดย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธาน

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

สถานที่ท่องเที่ยว

สิ่งน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้แก่ จุดชมวิวบริเวณสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง จัดแสดงเนื้อหาความรู้ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมในบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางรถไฟตัดผ่านบริเวณ อ่างกักเก็บน้ำเหนือเขื่อนหลายช่วง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถไฟชมทัศนียภาพ อันสวยงามได้ด้วย รวมไปถึงการแวะชม ทุ่งทานตะวัน ที่ขึ้นเรียงรายอยู่บริเวณสองข้างทาง โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โทร. (036) 494031 - 4

ทุ่งทานตะวัน

ทุ่งทานตะวัน


การเดินทาง

จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี-โคกตูม พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) ระยะ ทาง 48 กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 - 17.30 น.

นอกจากนี้ ยังมีบริการท่องเที่ยวทางรถไฟขบวนพิเศษ ไป-กลับ กรุงเทพฯ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ออกจากสถานีหัวลำโพง เวลา 07.30 น. ถึง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 12.00 น. เที่ยวกลับออกจาก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 14.40 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 200 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 220-4334 สายด่วน 1690 หรือ //www.srt.go.th




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Create Date :08 มิถุนายน 2554 Last Update :8 มิถุนายน 2554 21:43:03 น. Counter : Pageviews. Comments :2