bloggang.com mainmenu search
คู่มือเที่ยวลาว

++ ภาษาลาวเพื่อการท่องเที่ยว ++
++
ข้อมูลประเทศลาว ++

ประเพณีที่ควร...และ...ไม่ควรปฏิบัติเมื่อไป...เที่ยวลาว

1. ลาวทักทายกันด้วยคำว่า “สบายดี” พร้อมกับยิ้ม แต่การแตะเนื้อต้องตัวกันไม่นิยมทำ

2. การพนมมือ เป็นประเพณีการทักทายของชาวลาว

3. การใช้เท้าทำอย่างอื่นนอกจากการเดินและเล่นกีฬาแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ “หยาบคาย” มากสำหรับชาวลาว เพราะเท้าเป็น ”ของต่ำ”

4. การใช้มือจับศรีษะของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่สุภาพอย่างมาก

5. การตะโกนเสียงดังหรือพูดเสียงดังเป็นการไม่สุภาพ เพราะชาวลาวเป็นคนพูดจานุ่มนวล

6. นักท่องเที่ยวควรการแต่งกายให้สะอาด และเรียบร้อย

7. การเปลือยกายในที่สาธารณะนั้นไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

8. การที่จะเข้าบ้านเรือน ควรถอดรองเท้าทุกครั้งเพราะชาวลาวถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

9. การเดินผ่านคนที่นั่งอยู่ควรที่จะค้อมตัวลง เพราะเท้าเป็นของ “ต่ำ” และจะต้องไม่เดินข้ามคนที่นั่งอยู่อย่างเด็ดขาด

10. สถานที่สาธารณะไม่ควรกอดและจูบกัน “โปรดรอบคอบ”

11. การที่จะถ่ายรูปควรขออนุญาตเจ้าตัวก่อน ว่ายินดีหรือไม่

12. การแจกของฝากแก่เด็กๆ เป็นการส่งเสริมให้มีการขอ

13. การอุดหนุนซื้อหรือลองรับประทานอาหารของชาวลาวเป็นการช่วยเหลือธุรกิจและการเกษตรของท้องถิ่น

14. “กรุณา” แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และแสดงความนอบน้อมในขณะที่อยู่ในวัดต่างๆ และขณะที่ถ่ายรูป

15. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งของ ไม่ควรเข้าไปหรือจับต้องโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

16. พระสงฆ์เป็นที่เคารพบูชา สตรีไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวพระ หรือ จีวร

17. ช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขว้างสิ่งของ ให้สกปรก!!!เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนชาวลาว

18. โปรดช่วยกันพิทักษ์รักษาสัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์ โดยการไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่า

19. สนับสนุน โดยการซื้องานฝีมือท้องถิ่นที่ดีและมีคุณภาพของชาวลาว

20. สิ่งเสพติดผิดกฎหมาย มีโทษต่อตัวเองและ สังคมชาวลาวด้วย

ภาพประกอบโดย Chongkham Ponekeo
ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลจาก
//www.thaiembassy.org/vientiane/laosinformation_do-donts.html
//www.linethaitravel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=408881&Ntype=6

[]
หัวข้อ การเดินทางไปเที่ยวลาว การเดินทางไปเที่ยวลาว

การเดินทางไปเที่ยวสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นับ วันสะดวกสบายสำหรับชาวไทย เนื่องจากไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้า หิ้วกระเป๋าหรือเป้สะพายหลังไปประทับลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย หากมีหนังสือเดินทาง หรือถ้าหากไม่มีก็ยื่นเอกสารขออนุญาตเข้าประเทศชั่วคราว ณ จุดนั้นๆ

แต่ก็ไม่ควรจะลืมว่าไปลาว เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง แม้จะใกล้เคียง แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้เหมือนกับประเทศไทยเลยทีเดียว เรื่องนี้สำคัญ..



จากจังหวัดอุบลราชธานี นั่ง รถโดยสารประจำทางผ่านทางช่องเม็ก-วังเต่า เข้าไปถึงเมืองปากเซ แขวงจำปาสักในภาคใต้ จากอุดรธานี-หนองคาย ข้ามสะพานมิตรภาพเข้าเวียงจันทน์ จากมุกดาหารข้ามสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ไปเมืองไกสอน พมวิหาน (สะหวันนะเขต) จากนครพนมข้ามเรือเข้าเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน หรือ จาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคายไปเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ

ทางภาคเหนือ ต้นทางจะอยู่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ข้ามแม่น้ำโขงไปยังเมืองต้นผึ้ง เมืองเอกของแขวงบ่อแก้ว แต่ต้นทางใหญ่ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะอยู่ที่ อ.เชียงของ ลงเรือที่นั่นล่องไปตามลำน้ำเฮฮาไป กินลมชมวิวไป 2 วันกับ 1 คืนก็ถึงหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก

ตามแนวชายแดนทางบกความยาวกว่า 1,000 กิโลเมตรตั้งแต่เหนือจรดใต้ซึ่งมีอาณาเขตติดกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียง เหนือของไทยนั้น มีช่องทางเข้าไปท่องเที่ยวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กว่า 10 จุด เกือบทั้งหมดเป็น “ด่านสากล” คือจะเข้าและออกที่ด่านเหล่านั้นได้เลย หรือ จะไปออกที่อื่นก็ได้ในเที่ยวกลับ ต่างกับด่านที่เป็นเพียง "จุดผ่านแดน" หรือ "จุดผ่อนปรน" เพื่อการค้าการขาย เข้าทางไหนก็ต้องออกทางนั้น

นั่งแอร์บัสของเจ้าจำปี เข้าเวียงจันทน์ หรือนั่ง ATR72 บูติคแอร์ไลน์ไปหลวงพระบางก็สะดวก ส่วน MA60 ของการบินดอกจำปา พาผู้โดยสารสู่ทั้งสองปลายทาง ทุกสายการบินสะดวกสบายไม่ต่างกัน

กรุงเทพฯ-หลวงพระบางใช้เวลาบินชั่วโมงครึ่ง เวียงจันทน์ถึงเร็วกว่านั้น...

ประชาชนลาวกับชาวไทยมีภูมิหลังทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างกันพอสมควรในรายละเอียด ส่วนชาวตะวันตกจะพบว่าชาวลาวแตกต่างไปจากพวกเขาอย่างสิ้นเชิง

องค์การบริหารการท่องเที่ยวแห่งชาติลาว ได้จัดพิมพ์หนังสือคู่มือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ให้ข้อแนะนะเกี่ยวกับสิ่งที่ “ควรทำ” และ “ต้องไม่ทำ” (Do and Do Nots) ระหว่างการอยู่เยือน สปป.ลาว

หนังสือเป็นภาพวาดการ์ตูนประกอบ มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เนื้อความสั้นกระชับ ตรงประเด็นและ มีข้อความภาษาลาวกำกับ มุ่งเน้นที่จะให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวจากซีกโลกตะวันตกเป็นหลัก

แต่ย่อมไม่เสียหายอะไรหากนักท่องเที่ยวจากเพื่อนบ้านอย่างไทยจะเรียนรู้ ควรอ่านให้ดี เพื่อให้แน่ใจว่ายังไม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมแห่งตะวันออก

เวียงจันทน์กับหลวงพระบาง อาจจะเป็นเพียง 2 เมืองนอกราชอาณาจักร ที่คนไทยไปเที่ยวแล้วรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยที่สุด

อย่างไรก็ตาม โลกเปลี่ยนไป...สังคมเปลี่ยนไป ไปเที่ยวเวียงจันทน์ในวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ที่นั่นมีมิจฉาชีพอยู่ไม่น้อย การฉกชิงวิ่งราวทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวเกิดถี่ยิบขึ้น แม้ทางการลาวจะปราบปรามอยู่ตลอดเวลาแต่ก็ยังไม่หมดไปง่ายๆ

นักท่องเที่ยวจาก จ.นนทบุรี คนหนึ่งที่ไปกับคณะใหญ่ เพิ่งจะโดนมาหยกๆ ช่วงปลายเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ระหว่างไปเที่ยวชมและนมัสการพระประธาน กับศาลเจ้าแม่สีเมือง ณ วัดสีเมือง

เจ้าหน้าที่ตำรวจลาวกล่าวว่า วัยรุ่นนักวิ่งราวพวกนั้นทำกันเป็นแก๊ง และเลือกที่จะเข้าจู่โจมกลุ่มนักท่องเที่ยวประเภทไปเช้าเย็นกลับ หรือประเภท “ชะโงกทัวร์” ไปโผล่ดูโน่นดูนี่แบบรีบๆ เพราะจะต้องไปต่ออีกยาวไกล เช่นนี้เป็นต้น

พวกมิจฉาชีพในเวียงจันทน์รู้ดีว่า นักท่องเที่ยวประเภท “ทัวร์ด่วน” เหล่า นี้จะไม่มีเวลาไปแจ้งความหรือตามไปเอาเรื่องเอาราว เมื่อไปประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็ยากที่จะทำอะไรได้ การป้องกันระมัดระวังตลอดเวลาเป็นทางที่ดีที่สุด

สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำนครหลวงเวียงจันทน์ นำภาพชุดนี้ออกเผยแพร่บนเว็บไซต์ เพื่อเตือนให้ทราบว่านอกจากจะต้องระวังกระเป๋าสตางค์กับทรัพย์สินต่างๆ ให้ดีแล้ว ยังจะต้องทำอะไรบ้าง

ที่มา
//www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9500000051911
ภาพจาก
//nyenoona.wordpress.com/2008/03/04/memories-of-laos/


Create Date :02 มิถุนายน 2554 Last Update :2 มิถุนายน 2554 10:52:25 น. Counter : Pageviews. Comments :6