bloggang.com mainmenu search



"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"  ตามมาเลย


Sukhothai



เริ่มจากออกจากกรุงเทพ โดยสายการบิน Bangkok Airways เพราะเนื่องจากมีสายการบินเดียวที่ลงจังหวัดสุโขทัย ส่วนตัวยัยพลอยชอบสายการบินนี้อยู่แล้ว สายการบินอะไรใจดีจัง เข้าเลาจ์ได้แม้จะไม่นั่งคลาสพิเศษ... แถมเลาจ์พี่เค๊าก็ไม่ได้ไก่กานะจะบอกให้ มีของให้กินดีกว่าบางเลาจ์ซะอีก... รออะไร  ไปกันเลยดีกว่าค่ะ 


ก่อนที่จะไปถึงเราก็มารู้ประวัติคร่าวๆกันก่อนดีกว่า เดี๋ยวไปถึงแล้วจะเหมือนไปไม่ถึง เพราะไม่รู้รากความเป็นมา... 


ประวัติสุโขทัย


สุโขทัย ตั้งเป็นอาณาจักรแรกของไทยเมื่อกว่า 700 ปี สุโขทัย มาจากคำว่า สุข + อุทัย หมายถึง "รุ่งอรุณแห่งความสุข" ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้ย้อนรอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองที่สามารถเห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุขโขทัยและศรีสัชนาลัย



พ.ศ. 1800 สุโขทัยเริ่มเมื่อพระยาศรีนาวนัมถม บิดาพ่อขุนผาเมือง ได้ปกครองเมืองสุโขทัยเร่อยมาจนสิ้นพระชนม์  ต่อมาอาณาจักรขอมสบาดโขลญลำพง ได้เข้ายึดเมือง ขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง จ้าวเมืองราด ได้ยึดเมืองคืนมาและสร้างเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี  ขุนบางกลางห่วต่อมามีพระนามใหม่ว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัย อาณาจักรแห่งแรกของไทย



ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้แผ่อาณาจักรออกไปกว้างขวางปกคลุมเขตประเทศไทยเกือบทั้งหมด บ้านเมืองเจริญในทุกๆด้าน ประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ กฏหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อ พ.ศ. 1826 อักษรไทยได้ถูกจารึกไว้ในแผ่นศ่ลามากมาย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบถึงเมืองสุโขทัยในอดีตมากขึ้น  ในศิลาจารึกบอกถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักร ว่ามีอาณาเขตกว้างขวาง

ทิศเหนือจรด แพร่  น่านและหลวงพระบาง

ทิศใต้จรดนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันออกจรดเมืองเวัยงจันท์ และ

ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี


การปกครองระบบ "พ่อปกครองลูก" ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีมีสิทธิเสรีภาพ ดั่งคำจากรึกว่า"ไพร่ฟ้าหน้าใส ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  "เพื่อนจูวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า"  สมัยนั้นชาวสุโขทัยทำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาศัยน้ำที่มีบริบูรณ์ทำสวนไร่นา  สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งเรียกว่า "ทำนบพระร่วง" ซึ่งนักโบราณคดีค้นพบถึง 7 แห่ง  สุโขทัยเป็นศูนย์กลางทางการค้าและผลิตเครื่องถ้วยชาม"สังคโลก" ส่งออกขายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะบอร์เนียว  นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์การค้าสินค้าจากจีน เช่นถ้วยชามและผ้าไหม


ในปี พ.ศ. 1890 กรุงศรีอยุธนามีอำนาจมากขึ้น จึงขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอำนาจแทนสุโขทัย แต่สุโขทัยก็ยังมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก 2 พระองค์จึงสิ้นราชวงศ์ และได้เข้าร่วมกับกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียเมืองให้พม่า ครั้งที่ 2 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าาจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงโปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นที่บ้านธานี (ท่าหนี) ริมแม่น้ำยม ซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน


วันที่ 1 เมษายน 2475 ได้ยุบอำเภอธานี ตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสุโขทัยขึ้นกับจังหวัดสววรคโลก จนถึง พ.ศ.2482 จึงได้ยกอำเภอสุโขทัยขึ้นเป็นจังหวัดสุโขทัย

cr://www.sukhothai.go.th/history/hist_10.htm




เมื่อเครื่องบินแลนด์ดิ้ง โอ้วว๊าวววว สนามบินอะไรสวยงามเช่นนี้...



Sukhothai



Sukhothai




Sukhothai



มียีราฟกะม้าลายในสนามบินด้วย เจ๋งอะ แต่เค๊าปิดไม่ให้เข้าชม


Sukhothai



ไปรับรถที่จองเช่าไว้ แล้วมาเริ่มexploreที่เขตเมืองเก่ากันก่อนเลย เขตเมืองเก่าที่ว่านี้ก็เป็นที่ตั้งของ "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" นั่นเองค่ะ


อุทยานครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัยตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12



ผังเมืองจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ปัจจุบันยังคงมีกำแพงเมืองให้เห็นโดยรอบบริเวณ ซึ่งภายในบริเวณเล็กๆ ราว 3-4 ตารางกิโลเมตรนี้มีวัดมากถึง 26 แห่ง ยังไม่รวมวัดที่รายล้อมอยู่รอบบริเวณกำแพงเมืองอีกซึ่งรวมๆแล้วก็มีเกือบ 40 วัด  มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก


เฉพาะรอบๆเส้นสีแดงนะคะที่เป็นเขตอุทยาน


Historic Town of Sukhothai



องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)



เราจะเริ่มจากทางด้านนอกกำแพงเมืองเก่าก่อนนะคะ ก่อนอื่นแวะที่ tourist info. ที่สุดแสนจะคลาสสิค ก่อนเพื่อรับข้อมูลสิ่งที่เป็น The must ทั้งหลาย เพื่อเราจะไม่พลาดสิ่งใดด้วยประการทั้งปวง  


Historic Town of Sukhothai




ด้านในมีนิทรรศการบอกเล่าที่มาและประวัติของวัดสำคัญต่างๆ


Historic Town of Sukhothai



เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลใจดีเป็นกันเองมากค่ะ อธิบายอย่างละเอียดเลย เราใช้เวลาที่นี่พอประมาณแล้วออกไปชมของจริงกันเลย เริ่มจาก



วัดพระพายหลวง


Historic Town of Sukhothai



ตั้งอยู่ภายนอกเขตอุทยาน และนอกกำแพงเมือง ตามที่บอกว่าแวะรอบนอกก่อนแล้วค่อยเข้าด้านใน วัดสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 นับเป็นโบราณสถานยุคต้นของเมืองสุโขทัย ที่มีโบราณวัตถุและสถาปัตยกรรมบางส่วน ซึ่งเป็นศิลปะขอม สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยดั้งเดิมได้สร้างเพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาได้สร้างเพิ่มเติมเพื่อเป็นพุทธสถาน


Historic Town of Sukhothai




Historic Town of Sukhothai



โบราณสถานสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย

ปรางค์ 3 องค์ นับเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สุดของวัดที่สร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนต้น ก่อด้วยศิลาแลง เพื่อเป็นประธานของวัด ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งองค์ที่สมบูรณ์ ปรางค์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเรื่องราวตามพุทธประวัติ

- พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ 3 องค์ เป็นพระอุโบสถก่ออิฐ มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าทั้งสองด้าน เสาก่อด้วยศิลาแลง ด้านหลัง มีฐานชุกชี ภายนอกพระอุโบสถมีเสมาปักอยู่โดยรอบ

- พระวิหาร ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ เป็นพระวิหาร 5 ห้อง เหลือฐานและเสาที่ก่อด้วยศิลาแลง ภายในปรากฏฐานอาสนะ และฐานชุกชี

- เจดีย์ทรงเหลี่ยม ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร เป็นเจดีย์ก่ออิฐ มีฐานเป็นสี่เหลี่ยม ลดหลั่นขึ้นจนถึงส่วนยอด มีซุ้มประดิษฐานองค์พระอยู่รอบเจดีย์ทั้งสี่ด้าน เหมือนอย่างเช่น เจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน นอกเจดีย์ล้อมรอบด้วยระเบียงคด

- มณฑปพระสี่อิริยาบถ ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ทรงเหลี่ยม เป็นมณฑปที่ประดิษฐานองค์พระทั้งสี่อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เหมือนอย่างเช่น วัดเชตุพน จ.สุโขทัย และวัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร มณฑปมีสภาพชำรุด คงเหลืออยู่เฉพาะอิริยาบทเดิน (ปางลีลา) ที่มีลักษะค่อนข้างเด่นชัด


Historic Town of Sukhothai



จากการสำรวจเพื่อบูรณะ ได้ค้นพบวัตถุโบราณต่าง เช่น พระพุทธรูป สถูปจำลอง เครื่องถ้วย ประติมากรรมรูปจำลอง ปูนปั้นรูปเทวดา สัตว์ และกรอบซุ้มต่างๆ



Historic Town of Sukhothai



ที่เจดีย์ทรงเหลี่ยม


Historic Town of Sukhothai



ที่ด้านหลังพระปรางค์


Historic Town of Sukhothai




Historic Town of Sukhothai




วัดศรีชุม



Historic Town of Sukhothai



อยู่ใกล้กับวัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานนอกเขตอุทยาน และ นอกกำแพงเมืองสุโขทัยเช่นกัน ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียง ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึง "พระอจนะ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปวัดศรีชุม ต่อมาได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัย พระเจ้าลิไท


Historic Town of Sukhothai



พระอจนะ


Historic Town of Sukhothai




Historic Town of Sukhothai




Historic Town of Sukhothai





วัดศรีชุมนี้มีเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นวัดที่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงประชุมทัพและทำพิธี ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ก่อนที่จะทำการปราบเมืองสวรรคโลก เนื่องจากพระยาสวรรคโลกได้แข็งเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2127 มณฑปวัดศรีชุม เป็นมณฑปที่ใหญ่ที่สุดของสุโขทัย ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร ผนังมณฑปสร้างเป็น 2 ชั้น ทำเป็นอุโมงค์ เรียกกันว่า อุโมงค์วัดศรีชุม ภายในมีบันไดทางขึ้นสู่ยอดของมณฑปได้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเลอะเลือนเกือบหมด เพดานมีภาพลายเส้นบนหินชนวน เป็นเรื่องในชาดกซึ่งเป็นอดีตชาติต่างๆของพระพุทธเจ้า เรียงประดับต่อเนื่องกัน ภายในอุโมงค์นี้ยังเป็นที่ค้นพบ ศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่เป็นจารึกเรื่องราวของการกำเนิด ราชวงศ์ผาเมือง ราชวงศ์พระร่วง และการสถาปนากรุงสุโขทัย



Historic Town of Sukhothai




Historic Town of Sukhothai



ปล. **ที่กำแพงหนาๆนี้จะมีประตูสามารถเข้าไปเดินด้านในได้ ติดตามภาพได้จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหงนะคะ ที่มิวเซี่ยมมีการจำลองอุโมงขึ้นและภาพให้เห็นว่าแต่ละหน้าต่างจะมองไปเห็นอะไร คนสร้างช่างเข้าใจคิดยิ่งนัก ซับซ้อนมาก น่านับถือ ***  เห็นหน้าต่างที่อยู่ด้านบนไหมคะ เดี๋ยวไปดูกันว่าเป็นอย่างไร


ที่ด้านข้าง


Historic Town of Sukhothai



วัดเมื่อมองจากด้านนอก จะไม่เห็นองค์พระ ดูเล็กกระทัดรัด แต่พระอจนะใหญ่มากก


Historic Town of Sukhothai



เตาทุเรียง  ไว้อบเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีเหลือให้ชมไม่มากนัก


Historic Town of Sukhothai




ต่อมาเริ่มเข้าเขตกำแพงเมือง ทางประตูศาลหลวง  ป้อมประตูเมือง ซึ่งเหลือแแต่คันดิน


Historic Town of Sukhothai






วัดสรศักดิ์


Historic Town of Sukhothai



ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง แต่ยังนอกเขตอุทยานนะคะ บริเวณใกล้กับศาลตาผาแดง วัดตระพังสอ และวัดซ่อนข้าว ณ วัดแห่งนี้ได้ค้นพบศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวว่า นายอินทสรศักดิ์ ได้ขอพระราชทานที่ดินจากออกญาธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย เพื่อสร้างอารามถวาย ครั้นสร้างสำเร็จแล้วจึงให้นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ จากตำบลดาวขอน ผู้เป็นน้าของ ออกญาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัย ให้มาจำพรรษาที่วัดนี้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1959 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ขณะยังทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล พร้อมพระราชมารดาและพระมาตุจฉา(น้า) ที่เมืองสุโขทัย การเสด็จคราวนี้พระมาตุจฉาได้เสด็จเข้าพำนักยังพระตำหนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกติดกับวัดสรศักดิ์ ความในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ตอนนี้เองที่ช่วยชี้ตำแหน่งของพระตำหนักหรือวังของเจ้านาย ตลอดถึงกษัตริย์ของสุโขทัยว่าควรจะอยู่ตรงบริเวณทิศตะวันตกของวัดสรศักดิ์เหนือศาลตาผาแดง

ลักษณะเด่นของวัดนี้คือ มีเจดีย์ประทานทรงระฆัง หรือทรงลังกาที่มีช้างล้อมรอบฐาน ตามความเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์พาหนะของพระเจ้าจักรพรรด์ที่คู่ควรกับการเป็นพาหนะค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอด 5,000 ปี


Historic Town of Sukhothai





วัดซอนข้าว


ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับวัดสรศักดิ์ เป็นวัดในสมัยสุโขทัย แต่ไม่พบประวัติการสร้างในศิลาจารึก ภายในมีโบราณสถาน ประกอด้วย พระวิหาร ก่อด้วยอิฐ มีฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ ด้านหน้าเป็นมุขลด มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าทั้งสองข้าง ภายในพระวิหาร มีเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงโกลนก้อนเป็นวงกลม ก่อกันเป็นรูปเสา ด้านหลังพระวิหาร เป็นที่ตั้งของเจดีย์ประธานทางพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม เหลือเฉพาะส่วนฐานถึงซุ้มเรือนธาตุ ส่วนบนที่เป็นดอกบัวตูมนั้นได้ทลายลงไป ด้านข้างของพระวิหาร เป็นที่ตั้งของมณฑป สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป คล้ายกับที่ วัดตระพังทองหลาง โดยก่อเป็นอิฐที่ฐาน ลดหลั่นเป็นชั้นจรดส่วนมณฑปทั้งสามด้าน รอบโบราณสถานยังคงปรากฏกำแพงแก้วให้เห็น


Historic Town of Sukhothai



ข้างๆวัดมีคุณป้ากำลังหาปลาอยู่ จึงเดินไปคุยกะป้า ป้าบอกเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีปลาเหลือให้จับไม่เหมือยสมัยก่อน  ว่าแล้วป้าก็ชูถุงที่มีปลาตัวเล็กๆอยู่ไม่กี่ตัวให้ดู


"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"


Historic Town of Sukhothai



ศาลตาผาแดง


ศาลตาผาแดง หรือ ศาลพระเสื้อเมือง หรือ ศาลเทพารักษ์ ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับวัดสรศักดิ์และวัดสระศรี เป็นโบราณสถานปรางค์เดี่ยวแบบขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ทั้งองค์ ส่วนฐานยกสูง ผนังของฐานเป็นบัวลูกฟัก ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปยังเรือนธาตุ ส่วนของเรือนธาตุมีซุ้มผนังทึบทั้ง 2 ด้าน ส่วนอีก 2 ด้านนั้นเป็นซุ้มทางเข้าออก ด้านบนของศาลตาผาแดงเป็นส่วนปรางค์ซึ่งปัจจุบันได้ทลายลงไป โบราณสถานแห่งนี้ นับเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของเมืองสุโขทัย ครั้งบูรณะศาลตาผาแดงนั้นได้ค้นพบเทวรูปหิน ศิลปะลพบุรี (เปรียบเทียบได้กับศิลปะเขมรสมัยบายน) จำนวน 4 องค์ มีทั้งรูปบุรุษและสตรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง


Historic Town of Sukhothai





มาเริ่มเข้าด้านในอุทยานแห่งชาติสุโขทัยกัน เราสามารถขับรถเข้าไปวนดูด้านในได้ แต่ต้องซื้อตั๋วรถเข้าชม และตั๋วสำหรับคนเข้าชมด้วย อย่าลืมบอกว่าคนไทย ไม่งั้นคุณจะได้จ่ายค่าตั๋วราคาคนต่างชาติค่ะ


หนึ่งในไฮไลต์ที่สุดของที่นี่ คือ วัดมหาธาตุ


Historic Town of Sukhothai




ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม ศิลปะแบบสุโขทัยแท้เป็นเจดีย์ประธาน รายรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพฯ ด้านเหนือและด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้ม เรียกว่า “พระอัฎฐารศ”


เจดีย์มหาธาตุ


Historic Town of Sukhothai



ใต้ฐาน


Historic Town of Sukhothai




พระประธาน


Historic Town of Sukhothai





Historic Town of Sukhothai




พระรอบๆวัด


Historic Town of Sukhothai



เจดีย์โดยรอบ


Historic Town of Sukhothai



Historic Town of Sukhothai



Historic Town of Sukhothai




ด้านซ้ายของวัด


Historic Town of Sukhothai



วัดมหาธาตุในยามค่ำคืน  ทางอุทยานจะเปิดไฟส่องโบราณสถานทุกวันเสาร์ถึงเวลา 21.00 น.


Historic Town of Sukhothai



วัดชนะสงคราม


วัดชนะสงคราม หรือ วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ระหว่างวัดมหาธาตุ และวัดสระศรี ประวัติการสร้างไม่ชัดเจน เป็นวัดขนาดกลาง ภายในประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ที่เป็นจุดเด่นของวัด ขนาบข้างด้วยเจดีย์รายทรงวิมานทั้งสององค์ ซึ่งเป็นทรงเจดีย์ที่มักจะพบได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่วนที่สุโขทัยนั้นยังมีปรากฏอยู่ที่วัดตระพังเงินและวัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่บริเวณด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นที่ตั้งของพระวิหาร ปรากฏเฉพาะส่วนฐานและเสาก่อที่ด้วยศิลาแลง ด้านหลังเจดีย์ประนั้นเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ รอบพระอุโบสถมีใบเสมา ปักอยู่บางส่วน



Historic Town of Sukhothai




วัดสระศรี-ตระพังตระกวน


Historic Town of Sukhothai



วัดสระศรี ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับศาลตาผาแดง และวัดชนะสงคราม เป็นโบราณสถานขนาดกลาง บนเกาะ กลางสระน้ำขนาดใหญ่สุด ที่เรียกว่า ตระพังกวน ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่ภูมิทัศน์สวยงาม และเป็นบริเวณที่จัดงานเผาเทียนเล่นไฟ รวมทั้งงานแสงสีเสียงของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย



Historic Town of Sukhothai



ภายในวัดสระศรี มีโบราณสถานประกอบด้วย

- พระวิหาร มีขนาดค่อนข้างใหญ่เก้าห้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน เสาแปดเหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามีมุขเด็จและบันไดทางขึ้นทั้งสองด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย พุทธลักษณะงดงาม พระเกศาขมวดใหญ่ ยอดเป็นเปลว ประดิษฐานที่ฐานชุกชี

- เจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเจดีย์ทรงทรงระฆัง หรือทรงลังกา ขนาดใหญ่ ฐานชั้นล่างเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ยกสูง ก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนบนเป็นชั้นบัวถลา องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตรและปลียอด ภายในได้มีการขุดพบเจดีย์จำลองสำริด เจดีย์ดีบุก กรวยชิน กรวยเหล็ก โดยสมบัติดังกล่าวปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

- เจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ด้านข้างเจดีย์ประธาน รอบเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ด้านหน้าเจดีย์ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย

- พระอุโบสกลางน้ำ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร บนเกาะที่มีขนาดเล็ก เป็นพระอุโบสถสองห้อง เหลือเฉพาะส่วนฐานและเสา มีเสมาหินชนวนปักอยู่โดยรอบ อันเป็นการแสดงเขตของพุทธาวาส



Historic Town of Sukhothai


วัดสระศรีในยามค่ำคืน


Historic Town of Sukhothai



วัดเมื่อมองทางจากถนนภายนอกอุทยาน


Historic Town of Sukhothai


วัดใหม่


วัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้วัดชนะสงคราม และอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง เป็นโบราณสถานศิลปะสุโขทัยตอนปลาย ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ภายในโบราณสถานประกอบด้วย พระวิหารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ ย่อมุมทั้งด้านหน้าและด้านหลังพระวิหาร ด้านบนเป็นที่ตั้งของฐานพระวิหารซึ่งค่อนข้างสูง มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานประดับลายแข้งสิงห์ศิลปะแบบอยุธยา แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอยุธยาที่มีต่อยุคสุโขทัยตอนปลาย พระวิหารมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เสาภายในก่อด้วยศิลาแลง ด้านหลังเป็นที่ตั้งของฐานชุกชี



อนุเสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง


สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ พระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก 

Historic Town of Sukhothai




ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย


Historic Town of Sukhothai





วัดศรีสวาย


เป็นวัดที่มีศิลปะแบบขอม สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ มีพระปรางค์สามยอดเป็นประธาน ลักษณะเป็นรูปกลีบขนุน ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค นางอัปสรและลายดอกไม้จีน ด้านหน้าพระปรางค์เป็นที่ตั้งของพระวิหาร ซึ่งมีระเบียงคดล้อมองค์พระปรางค์และพระวิหาร ด้านหลังโบราณสถานมีสระน้ำ เรียกว่า สระลอยบาป ใช้เป็นที่ทำพิธีลอยบาปหรือล้างบาปตามความเชื่อลัทธิพราหมณ์ ภายนอกสุดของวัดศรีสวายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง

ครั้งเมื่อสำรวจวัดได้มีการพบ รูปพระอิศวร และหินจำหลัก ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กรและชิ้นส่วนของเทวรูปและลึงค์ทำด้วยสำริด ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง 


Historic Town of Sukhothai


To be continue Sukhothai 2 ..

Ploy Journey Journal

Create Date :03 กันยายน 2559 Last Update :3 กันยายน 2559 17:31:19 น. Counter : 3057 Pageviews. Comments :0