bloggang.com mainmenu search


สวัสดีค่ะะะะะะะะะ




เอนทรี่ล่าสุด รีวิว Brainwake Organics Thonglor - ดีต่อลิ้น ดีต่อกาย และดีต่อกระเป๋าสตางค์





หลังจากรีวิวทริปวันเดียว ณ ฉะเชิงเทรามาแล้วดังนี้


 อาหารเที่ยง ณ ร้านเอกเขนก






วันนี้ก็จะพาไปเที่ยวและสักการะอีกวัดหนึ่งของฉะเชิงเทรานะคะ นั่นก็คือวัดท้องมังกร หรือวัดเล่งฮกยี่ (วัดจีนประชาสโมสร) นั่นเองหละค่าาา


สำหรับพิกัดของวัดนี้ก็อยู่ใกล้ๆ กับตลาดบ้านใหม่เลยนะคะ คนละฝั่งถนนกันค่ะ 


ซึ่งวัดนี้ก็เป็นวัดที่สร้างเป็นวัดต่อมาจากวัดเล่งเน้ยยี่ซึ่งถือเป็นวัดหัวมังกรที่เยาวราชนะคะ ส่วนหางมังกรก็จะเป็นวัดที่จันทบุรีค่ะ 









ด้านหน้าวัดก็มีเครื่องไหว้จำหน่ายนะคะ แต่เราจะไปซื้อที่ด้านในแหละ







วิหารหลักที่เป็นที่ประดิษฐานเทพต่างๆ ค่ะ เข้าไปกันดีกว่าเนาะ







เข้าประตูไปปุ๊บ ก็แน่นอนว่าจะเจอท้าวจตุโลกบาล ตามหลักการสร้างวัดของพุทธมหายานหละนะคะ







ถัดไปจะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรย์โพธิสัตว์ (มีเหล็กฮุด) หรือน่าจะองค์เดียวกับพระสังกัจจายน์หละนะคะ







ทางฝั่งซ้ายจะมีตู้บริจาคและตะเกียงสำหรับใครที่จะเติมน้ำมันตะเกียงนะคะ







ตรงกลางก็จะมีพระประธานของวัดนี้อยู่นะคะ ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดไหว้แรกของการไหว้ในวัดนี้ค่ะ







ส่วนทางขวา ใกล้ๆ กับจุดไหว้ที่หนึ่ง เทพเจ้าองค์นี้หลายๆ คนน่าจะรู้จักนะคะ กับเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย เทพแห่งโชคลาภนั่นเองค่ะ ซึ่งเป็นจุดไหว้ที่หก และมีเครื่องไหว้ต่างหากด้วยนะคะ ถ้าใครต้องการไหว้ท่านค่ะ




ซึ่งก็เลยไปหาข้อมูลไฉ่ซิงเอี๊ยจากวิกิพีเดียมาก็ได้ความว่าดังนี้นะคะ


ไฉซิ้งเอี้ย หรือ จ่ายสินเอี้ย (จีน: 财神; พินอิน: Cái-shén; อังกฤษ: Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ซึ่งสำหรับชาวจีนแล้วถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ (ปีใหม่จีน) เนื่องจากเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้เป็นองค์แรกทีเดียว

การบูชาไฉซิ้งเอี้ย สามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเก๊า, ฮ่องกง เป็นต้น

ไฉซิ้งเอี้ยที่มีความเก่าแก่ที่สุดพบที่บนหน้าผาในทิเบต เรียกว่าปางชัมภล

เชื่อว่าไฉซิ้งเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้น ชาวจีนตั้งแต่โบราณเมื่อเข้าสู่วันตรุษจีน (นับตั้งแต่ 0.00 น.) จะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉซิ้งเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉซิ้งเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยเวลาที่จะทำการบูชา คือ 23.00-01.00 น. ของวันตรุษจีน ซึ่งของที่ทำการบูชาใช้ของหวาน เช่น ผลไม้, อาหารเจ, บัวลอย, สาคู หรือของรับประทานต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส แต่ไม่ใ้ช้ของคาวหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกับนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร, เช็ค หรือกระเป๋าเงิน มา่ตั้งวางไว้ด้วย เป็นต้น





จากนั้นถัดไปทางขวา ก็จะมีส่วนของการรับบริจาคไหว้ฮ่อเฮียตี๋ ผีไม่มีญาติและเจ้ากรรมนายเวรที่จัดวันที่ 8 กันยายนค่ะ







ทางขวาแต่เบี่ยงไปทางซ้ายจะเป็นจุดจำหน่ายธูปเทียน เครื่องไหว้ และน้ำมันนะคะ

ซึ่งถ้าเป็นธูป เทียน น้ำมันก็ชุดละ 40 บาทค่ะ แต่ก็มีเทียนโชคลาภสองสี เหลืองและแดงจำหน่ายอันละ 40 บาท ส่วนเครื่องไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยก็ 150 บาทค่ะ ซึ่งเราเลือกชุดหลังแล้วก็ซื้อน้ำมันเพิ่มด้วยค่ะ







นอกจากนั้นก็มีตู้สำหรับทำบุญทองคำเปลวติดองค์พระธาตุ และทองคำก้อนสำหรับการสร้างพระประธานประจำอุโบสถด้วยค่ะ







ชุดเครื่องไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยนะคะ ซึ่งจะมีชุดธูปใหญ่สามดอก และธูปเล็กสำหรับไหว้แต่ละจุดมาให้ด้วยค่ะ







จากนั้นก็เริ่มไล่ไหว้ไปแต่ละจุดด้วยธูปเล็กก่อนค่ะ ส่วนการไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยและน้ำมันจะวางไว้ที่โต๊ะก่อนนะคะ เริ่มไหว้จุดที่ 1 แล้วก็เดินตามจุดไปค่ะ ถ้าหาไม่เจอก็ถามจากเจ้าหน้าที่ได้นะคะ







ซึ่งระหว่างจุดไหว้ๆ ต่างๆ ตรงบริเวณหนึ่งจะมีตู้สำหรับบรรจุพระธาตุอยู่ด้วยค่ะ มีหลายองค์เลยค่ะ







แล้วก็มีจุดหนึ่งที่มีปลาสีเขียวด้วยค่ะ แต่ไหว้อยู่เลยได้แต่ถ่ายรูปมาค่ะ ว่าจะมาถามเพิ่ม แต่ไปๆ มาๆ ก็ลืม...แก่แล้วก็งี้อะนะป้าเอ๊ย







หลังจากไหว้ครบทุกจุดแล้ว ก็จะเป็นการมาไหว้ทีจุดที่ 5 เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยอีกครั้งค่ะ โดยจะใช้ธูปใหญ่ในชุดไหว้และเครื่องไหว้นะคะ







จากนั้นก็จะเป็นส่วนเสริมแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการนำกระเป๋าเงินของเราไปรับเงินจากถุงเงินของเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย







หรือการนำเงินไปทำพิธีกับเทพเตี๋ยวกวงเม้งไฉ่ชิ้ง โดยจะใช้เงินสองใบ อีกใบให้เก็บกลับมาค่ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะอธิบายว่าต้องทำยังไงนะคะ แล้วเงินที่เก็บกลับมานี่เค้าบอกว่าใช้ได้ค่ะ (ถ้าเป็นที่ฮ่องกงคือห้ามใช้) แต่เราก็ไม่ได้ใช้หรอกค่ะ ทำแล้วก็ใส่เป็นขวัญกระเป๋าให้แม่ เพราะซื้อกระเป๋าให้แม่ในวันแม่อยู่แล้ว แฮร่...







นอกจากนั้นก็มีเรื่องลูบมังกรอีกนะคะ แต่ไม่มีรูปประกอบแล้วหละ 555 เอาเป็นว่า ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นเราว่านอนสอนง่าย (เย้ยยย) แบบว่าบอกให้ทำอะไรก็ทำ (อย่างข้าพเจ้าเป็นต้น กร๊ากกกก) เค้าก็จะคอยพาไปทำโน่นทำนี่ค่ะ 



สำหรับเอนทรี่นี้ก็เพียงเท่านี้นะคะ เอนทรี่หน้าจะพาไปตลาดบ้านใหม่กันค่าาาา





ปฏิทินธรรม




วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560

1. ทำบุญตักบาตร ณ วัดพุทธบูชา (กิจกรรมจัดทุกวันเสาร์แรกของเดือน)



วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2560 (ปกติกิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน แต่เดือนมกราคม จะจัดวันปีใหม่)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น. 

ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
//www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447



2. งานไถ่ชีวิตโคกระบือ ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนณ. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพฯhttps://web.facebook.com/bogboon/photos/a.614964165213890.1073741836.335629013147408/540852169291757/



วันอาทิตย์ที่ 13 และ 27 สิงหาคม 2560 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts



วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2560 (จัดทุกอาทิตย์ที่สามของเดือน)
1. 19 มีนาคม- ตักบาตร พระกัมมัฏฐาน และ ฟังพระธรรมเทศนา เวลา 7.00 น.
ณ ชมรมกลุ่มพุทธธรรมลานทอง หมู่บ้านลานทอง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์นี้




วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 (กิจกรรมทุกเสาร์ที่ 4 ของเดือน)

1. ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารโดยพระเถระวัดป่ากรรมฐาน

เมตตารับบาตรโดย
เวลา ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. ณ ศาลาปันมี มูลนิธิบ้านอารีย์



วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 26-27 สิงหาคม 2560 (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน)

1. งานบุญประจำเดือน (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน) ทำบุญบำรุงรักษาสวนแสงธรรม และถวายปัจจัยร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบ้านตาด

ณ สวนแสงธรรม พุทธมณฑล สาย 3 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร













ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1,469,696+4798012=6267708/12875/1518







ปฏิทินธรรม




วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560

1. ทำบุญตักบาตร ณ วัดพุทธบูชา (กิจกรรมจัดทุกวันเสาร์แรกของเดือน)



วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2560 (ปกติกิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน แต่เดือนมกราคม จะจัดวันปีใหม่)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น. 

ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
//www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447



2. งานไถ่ชีวิตโคกระบือ ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนณ. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพฯhttps://web.facebook.com/bogboon/photos/a.614964165213890.1073741836.335629013147408/540852169291757/



วันอาทิตย์ที่ 13 และ 27 สิงหาคม 2560 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts



วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2560 (จัดทุกอาทิตย์ที่สามของเดือน)
1. 19 มีนาคม- ตักบาตร พระกัมมัฏฐาน และ ฟังพระธรรมเทศนา เวลา 7.00 น.
ณ ชมรมกลุ่มพุทธธรรมลานทอง หมู่บ้านลานทอง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์นี้




วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 (กิจกรรมทุกเสาร์ที่ 4 ของเดือน)

1. ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารโดยพระเถระวัดป่ากรรมฐาน

เมตตารับบาตรโดย
เวลา ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. ณ ศาลาปันมี มูลนิธิบ้านอารีย์



วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 26-27 สิงหาคม 2560 (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน)

1. งานบุญประจำเดือน (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน) ทำบุญบำรุงรักษาสวนแสงธรรม และถวายปัจจัยร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบ้านตาด

ณ สวนแสงธรรม พุทธมณฑล สาย 3 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร













ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1,469,696+4798012=6267708/12875/1518







Review Travel Blog


Create Date :01 กันยายน 2560 Last Update :1 กันยายน 2560 9:36:59 น. Counter : 3518 Pageviews. Comments :29