bloggang.com mainmenu search





สวัสดีค่ะ




หลังจากที่ได้พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ แล้ว ที่นี่ (คลิกเพื่ออ่าน)








วันนี้จะพาไปชมต่อนะคะ (เนื่องด้วยมีวิทยากรบรรยาย ข้อมูลจะเยอะ แล้วก็รูปจะเยอะหน่อยน่ะค่ะเลยต้องแบ่งเป็นหลายตอน แหะๆ)





ความเดิมจากตอนที่แล้ว วิทยากรก็ได้พาพวกเราไปที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงจำลองค่ะ























ด้านหน้าห้องนี้ก็จะมีนิทรรศการที่แสดงให้เห็นว่าล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ทรงสนพระทัยเรื่องของการถ่ายรูปและภาพยนตร์ด้วยนะคะ




















มาค่ะ ไปห้องฉายภาพยนตร์กัน





















โอ้ มีอุปกรณ์ตัวนี้ด้วย (แต่ไม่ได้ไปลองส่องนะคะ แหะๆ )

นี่หรือเปล่าเป็นที่มาของสำนวน "ถ้ำมอง" เนี่ย





















ในห้องก็ไม่ได้กว้างมากนะคะ นั่งได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 20-25 คนได้อะค่ะ

อย่างที่บอกว่า พระองค์ท่านสร้างให้ประชาชนทั้งหมดสามสิ่ง และนี่ก็คืิอหนึ่งในนั้นนะคะ





















่จากนั้นวิทยากรก็บอกว่า เก้าอี้นั่งสมัยก่อนจะเป็นเก้าอี้ไม้แบบรูปข้างล่างนี่เลยหละค่ะ (เก๋เนาะ)

ค่าดูหนังสมัยนั้น 70 สตางค์ค่ะ แพงสุดอยู่ที่ 1.40 บาทค่ะ





















วันนั้นเขาฉายเรื่องแผ่นดินพระปกเกล้าให้ดูค่ะ




















หนังฉายไม่นานนะคะ ประมาณ 10 นาทีเองได้ค่ะ จากนั้นก็มาเก็บภาพด้านหน้าห้องอีกที

ทั้งตัวกล้องของพระองค์ท่าน แล้วก็ป้ายโฆษณาเรื่องแหวนวิเศษ

เอิ่ม...ในโลกนี้มีคนชื่อ "สมิงถุ่ย" ด้วยยยยยยย























รูปตอนพระองค์ท่านใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ค่ะ (น่าจะใ่ช่นะคะ)





















ส่วนนี่ก็กับกล้องถ่ายรูป ข้างๆ นี่น่าจะเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีนะคะ




















ส่วนเจ้าเครื่องนี้นี่ สารภาพว่าถ้าวิทยากรไม่บอกก็ไม่รู้เลยค่ะว่ามันคือ "เครื่องยิงลูกเทนนิส"





















ส่วนนี่ก็เป็นโต๊ะทรงงานของท่านค่ะ





















ลำดับต่อไปเป็นราชหัตถเลขาตอนพระองค์ท่านสละราชสมบัติค่ะ


วิทยากรเ่ล่าข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่จริงได้มีพระยาพหลฯ พระองค์เจ้าบวรเดชกระทำการต่อต้านขึ้น (ที่เรียกว่า กบฎบวรเดชน่ะค่ะ) แต่ไม่สำเร็จ เดินทางไปต่างประเทศ ตัวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ เองก็ไปสงขลาค่ะ และปรึกษาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี แล้วก็เลยตัดสินใจไปยังประเทศอังกฤษค่ะ แต่คณะราษฏร์ฯ ก็ทูลขอให้สละราชบัลลังก์ถึง 5 ครั้ง ท่านจึงตัดสินใจสละราชสมบัติค่ะ เมื่อพระองค์สละราชสมบัติแล้ว ก็เลยมีพระราชหัตถเลขามาค่ะ


เราถ่ายมาให้ดูบางส่วนนะคะ รวมทั้งตัวพระตำหนักของท่านที่อังกฤษด้วย





























อย่างที่หลายๆ ท่านทราบนะคะว่าล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ไม่มีลูก

แต่ท่านก็มีพระราชโอรสบุญธรรมที่ท่านโปรดมากค่ะ ตามรูปข้างล่างเลยนะคะ

วิทยากรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตามกฎหมายไทยแล้ว ผู้ขอบุตรบุญธรรมต้องมีอายุมากกว่า 25 ปีแล้วก็จะต้องอายุห่างกันอย่างน้อย 15 ปีด้วยค่ะ










ที่จริงในช่วงที่เศรษฐกิจแย่นั้น ตัวพระองค์ท่านเองก็ได้ลดรายรับที่เคยได้จากรัฐลง 1 ใน 3 ด้วยค่ะ เป็นสิ่งหนึ่งที่ท่านได้พยายามทำอะไรเพื่อประเทศชาติและประชาชนนะคะ แต่..ก็นั่นแหละค่ะ ท้ายที่สุดก็ัยังจบลงแบบนี้อยู่ดีนะคะ




















ท่านทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2484 เป็นพระองค์เดียวที่สวรรคตที่ต่างประเทศค่ะ



จากนั้นวิทยากรก็เล่าข้อมูลเพิ่มเติมอีกค่ะว่า ปี 2482 เป็นปีที่เปลี่ยนชื่อจากสยามมาเป็นไทย แล้วก็การเดินทางจากประเทศอังกฤษ ก็มาที่สิงคโปร์แล้วก็มาที่เกาะ..ง่า..อ่านลายมือตัวเองไม่ออก แล้วก็ค่อยมาขึ้นที่ท่าราชวรดิษฐ์ค่ะ

โดยพระอัฐิของท่านจะอยู่ที่วัดราชบพิธและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนะคะ



จากนั้นวิทยากรก็ไล่วัดประจำรัชกาลให้ฟังดังนี้นะคะ

รัชกาลที่ ๑ - วัดโพธิ์
รัชกาลที่ ๒ - วัดอรุณฯ
รัชกาลที่ ๓ - วัดราชโอรส
รัชกาลที่ ๔ - วัดราชประดิษฐ์
รัชกาลที่ ๕ - วัดราชบพิธ
รัชกาลที่ ๖ - วัดบวรฯ
รัชกาลที่ ๗ - วัดราชบพิธ (เอ๋? ซ้ำกับรัชกาลที่ ๕?)
รัชกาลที่ ๘ - วัดสุทัศน์ฯ
รัชกาลที่ ๙ - วิทยากรบอกว่า น่าจะเป็นวัดพระราม ๙ ค่ะ






















ต่อไปเป็นส่วนของการสืบสันตติวงศ์ค่ะ


ตรงช่วงๆ นี้วิทยากรก็เล่าข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ นะคะ แล้วก็เป็นน้องของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)

แต่เราจำการไล่สายไม่ได้แล้วค่ะถ้าจำไม่ผิด ที่เหลือของสายนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์แล้ว (อย่างมีอยู่ท่านหนึ่ง...อ่าจำไม่ได้ ที่แต่งงานกับรัสเซีย ก็ผิดกฎมณเฑียรบาลที่ห้ามแต่งงานกับชาวต่างชาติก็เลยไม่มีสิทธิ์ค่ะ) ก็เลยมาที่สายของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๘ แทนน่ะค่ะ





















สำหรับเอนทรี่นี้ ก็คงจะมีแต่เพียงเท่านี้นะคะ (บอกแล้วว่าที่นี่เรารีวิวได้มหากาพย์มากๆ ค่ะ เหอๆ)

เดี๋ยวตอนหน้าจะพาไปศึกษาชั้นล่างสุดซึ่งเป็นเรื่องของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีกันบ้างค่ะ


















ปฏิทินธรรม







วันจันทร์ (ทุกวันจันทร์)

เรียนอภิธรรมเบื้องต้น บรรยายโดยพระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม
ณ บ้านอารีย์ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น.

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net







สัปดาห์ปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
24 - 30 กันยายน 2554 ณ บ้านอารีย์
ตักบาตร ปฏิบัติธรรมและฟังธรรม


เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net







วันพุธที่ 28 กันยายน 2554

1. ฟังธรรมโดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
ณ หอประชุมพุทธคยา ตึกอมรินทร์พลาซ่า ชั้น 22

18.30 น. - สวดมนต์ ทำวัตรเย็น / 19.00-21.00 น. - นั่งสมาธิ และ ฟังธรรม (เน้นการปฏิบัติ ตามแนวมหาสติปัฏฐาน 4)






วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

1. ยุวพุทธิกสมาคมฯ ขอเชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฏก
ณ ยุวพุทธิกสมาคม ซ.เพชรเกษม 54 อาคารธรรมนิเวศ ชั้น 4
เวลา 07.00-16.00 น.


การสาธยายพระไตรปิฎก
การจัดสาธยายพระไตรปิฎกที่ยุวพุทธฯ จัดขึ้นในครั้งนี้ไดคัดสรรจากพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย แลวเรียบเรียงเป็นคำบาลีสลับกับคำแปลภาษาไทย เพื่อใหสาธุชนไดเขาใจความหมายในบทที่สาธยาย โดยทานพระมหาประนอม ธัมมาลังกาโร จากวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ ไดนำเนื้อความจากพระไตรปิฎกรวบรวมมาจัดพิมพไวในเลมเดียวกัน เพื่อใหใชประโยชนในการจัดสาธยายพระไตรปิฎกใหจบภายใน ๑ วัน


การสาธยายพระไตรปิฎกในครั้งนี้ ประกอบดวย

๑. วินัยปฎก
- ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๒. สุตตันตปฎก
- มหาสติปัฎฐานสูตร
- มหาสมยสูตร

๓. อภิธัมมปฎก
- มหาปัฎฐาน





อานิสงสของการสาธยายพระไตรปิฎก

๑. บุคคลใดไดนำเอาพระไตรปิฎกมาสาธยายจะเขาถึงความเป็นอริยบุคคล คือ ไดมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ในภายหนา

๒. บุคคลใดไดสาธยายพระไตรปิฎกจะชวยปิดประตูอบายภูมิ ๔ คือ เปรต อสุรกาย สัตวเดรัจฉาน และสัตวนรก

๓. บุคคลใดไดสาธยายพระไตรปิฎกแลว ไดนอมจิตตามพระธรรม อาจบรรลุธรรมชั้นหนึ่งชั้นใดในบรรดาโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต ไดตามอุปนิสัยที่สรางมา

๔. บุคคลใดที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ เมื่อไดสาธยายพระไตรปิฎกจะกลายเป็นสัมมาทิฎฐิ

๕. การสาธยายพระไตรปิฎกมีผลทำใหประเทศชาติไมเกิดภัยพิบัติ ทำใหประเทศชาติ มีแตความรมเย็นมีสันติสุข ผูสาธยายจะมีแตความสุข ความเจริญกาวหนาปราศจากโรคภัย

๖. บุคคลใดไดสาธยายพระไตรปิฎกและไดฟังธรรมมีอานิสงสหาประมาณมิได




เว็บไซต์ยุวพุทธิกสมาคม
//www.ybat.org/v4/index.asp





























ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1001621+63560=1,065,121/6755/625


Create Date :28 กันยายน 2554 Last Update :28 กันยายน 2554 7:05:00 น. Counter : Pageviews. Comments :41