bloggang.com mainmenu search






สวัสดีค่ะ Smiley





เอนทรี่ล่าสุด รีวิว Flann O'Brien สาขา Asiatique บรรยากาศดีค่ะ (คลิกเพื่ออ่าน)







หลังจากที่รีวิวทริปน่านไปแล้วดังนี้


ตอนที่ 1 การเดินทางด้วยนกแอร์

สักการะพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ








วันนี้ก็จะพาไปยังบ้านหาดผาขนที่เรียกได้ว่าเป็นสถานที่หลักของทริปนี้เลยหละค่ะ

ก่อนที่เราจะไปยังบ้านหาดผาขน เรามารู้จักคำว่าโฮมสเตย์กันก่อนดีกว่าเนาะ


ข้อมูลจากเว็บนี้

//www.toplinediamond.com/NewsDetail.aspx?NewsID=6233

บอกไว้ดังนี้นะคะ

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อธิบายคำ "โฮมสเตย์" (Home Stay) ว่า หมายถึงที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท คือบ้านพักที่อยู่ในชุมชนชนบทที่มีประชาชนเป็นเจ้าของบ้าน และประชาชน หรือสมาชิกในครัวเรือนอาศัยอยู่ประจำ และบ้านนั้นเป็นสมาชิกของกลุ่ม/ชมรม หรือสหกรณ์ที่ร่วมจัดกันเป็นโฮมสเตย์ในชุมชน โดยนักท่องเที่ยวเข้าพักร่วมกับเจ้าของบ้านได้และสมาชิกในบ้านมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งถ่ายทอดประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยว และพานักท่องเที่ยวเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวและทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นน้ำตก ขี่จักรยาน นั่งเรือ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ


โฮมสเตย์ถือเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวพักร่วมกับเจ้าของบ้าน ใช้บ้านเป็นศูนย์กลาง โดยเชื่อมโยงกับแหล่ง ท่องเที่ยว วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนเข้าด้วยกัน ทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีวัตถุประสงค์ ร่วมกันที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตด้วยความเต็มใจ พร้อมทั้งจัดที่พักและอาหาร นำเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง โดยได้รับค่าตอบแทนตามความเหมาะสม


หลักการของโฮมสเตย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกฝ่ายตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงชุมชนจะต้องเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อมิให้การส่งเสริมและพัฒนาเกี่ยวกับโฮมสเตย์หลงทางและก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ประการแรก ต้องไม่ถือเป็นนโยบายว่าจะต้องมีโฮมสเตย์เกิดขึ้นในทุกๆ หมู่บ้าน แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจของชุมชนเป็นสำคัญ และชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยเน้นจุดขายอยู่ที่วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ และให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มแรกว่าการท่องเที่ยวนี้จะเป็นเพียงรายได้เสริมมิใช่รายได้หลักของชุมชน


โดยสรุป ชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง มีความรู้เท่าทันสิ่งที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และเข้าใจวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ตนกำลังดำเนินการ เนื่องจากโฮมสเตย์มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บ้านพักในชุมชน ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับที่พักจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนหรือเจ้าของบ้านต้องมีหลักและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งอาจเรียกว่าบัญญัติ 10 ประการ

1.เตียงนอนสะอาด สะดวก ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ในราคาสมเหตุสมผล
2.ห้องอาบน้ำและส้วมสะอาด
3.อาหาร พื้นบ้านง่ายๆ แต่ปรุงมาอย่างดี
4.ทิวทัศน์และธรรมชาติ ของชนบทสวยงาม
5.ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
6.กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อาทิ เดินป่า ขี่ม้า ปีนเขา
7.ร้านค้าทั่วไปและร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก
8.ความบันเทิง การแสดงพื้นบ้าน อาทิ ดนตรี การเต้นรำ
9.ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
10.ความเป็นมิตรและรอยยิ้มของเจ้าบ้าน

มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย นอกจากหมายถึงบ้านที่อยู่ในชุมชนชนบทที่เจ้าของบ้านหรือสมาชิกในครอบครัวอาศัยอยู่ประจำ หรือใช้ชีวิตประจำวันอยู่ในบ้านดังที่กล่าวมาแล้ว บ้านนั้นต้องมีความพร้อมโดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น 6 ประการ ดังนี้

1.เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวต้องถือว่าการทำโฮมสเตย์เป็นเพียง รายได้เสริมนอกเหนือรายได้จากอาชีพหลักของครอบครัวเท่านั้น

2.มีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือและไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวเข้าพักได้

3.นักท่องเที่ยวต้องเข้าพักค้างแรมในชายคาเดียวกับที่เจ้าของบ้านอาศัยอยู่ โดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตระหว่างกัน

4.สมาชิกในครอบครัวต้องมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาพักค้างแรมในชายคาเดียวกับเจ้าของบ้าน พร้อมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นนั้นแก่ นักท่องเที่ยว

5.เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการโฮมสเตย์เป็นอย่างดี และ

6.บ้านนั้นต้องเป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม หรือสหกรณ์ที่ร่วมกันจัดการ โฮมสเตย์ของชุมชนนั้น






เอาหละค่ะ พอจะมีข้อมูลกันคร่าวๆ แล้ว ไปดูกันดีกว่าว่าบ้านหาดผาขนแห่งนี้จะถือว่าเป็นโฮมสเตย์ตามมาตรฐานของกรมการท่องเที่ยวหรือไม่นะคะ

หลังจากออกเดินทางจากพระธาตุแช่แห้ง เราก็นั่งรถตู้ไปกันค่ะ ที่จริงเค้าบอกว่าที่นี่ห่างจากตัวเมืองแค่ยี่สิบนาทีนะคะ แต่เราวนไปวนมากันนิดหนึ่ง เลยปาไปซะห้าสิบนาทีหละค่ะ ฮา


โดยระหว่างทาง คนขับรถตู้ของเราก็ได้บอกว่า ขณะนี้ผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย ได้มาปลูกบ้าน (พร้อมย้ายสัมมโนครัว) มาที่ตรงนี้แล้วนะคะ ด้วยซินแสที่ท่านนับถือบอกว่าเป็นตำแหน่งที่ฮวงจุ้ยดีที่สุดค่ะ เราเลยถ่ายรูปมา แต่อยู่บนรถ แล้วก็แสงน้อยค่ะ ก็เลยค่อนข้างสั่นหน่อยนะคะ













ไปถึงปุ๊บ เจ้าบ้านก็รอรับด้วยพวงมาลัยดอกไม้สดกันค่ะ















จากนั้นด้วยความที่ไปกับกรมการท่องเที่ยว ทางผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้หลักผู้ใหญ่ก็มากล่าวต้อนรับพร้อมกับบอกเล่าเรื่องของบ้านหาดผาขนคร่าวๆ ให้ฟังกันนะคะ













ส่วนทางเราก็มีการกล่าวขอบคุณทางบ้านหาดผาขนสำหรับการต้อนรับเช่นเดียวกันค่ะ













หลังจากเสร็จพิธีการต้อนรับแบบเรียบง่ายแล้ว เราก็ลอดซุ้มกลับมายังทางถนนกลางหมู่บ้านเพื่อเดินไปยังบ้านพักของเราค่ะ (ประกาศกันให้ทราบก่อนหน้านั้นแล้วว่า บ้านไหนใครไปอยู่ ใครเป็นเจ้าบ้านนะคะ)















และแล้วก็ถึงบ้านที่เราจะพักอาศัยเป็นเวลาหนึ่งคืนค่ะ กับบ้านหลังนี้นี่เอง เป็นบ้านของพ่อเสวียน พันธวงศ์นะคะ ลักษณะบ้านก็เป็นบ้านสองชั้นตามภาพเลย โดยห้องพักของเราจะอยู่ที่ชั้นสองค่ะ บ้านหลังนี้มีห้องอาบน้ำสองห้อง ข้างบนหนึ่งห้อง ข้างล่างหนึ่งห้อง ห้องข้างล่างจะมีเครื่องทำน้ำร้อนนะคะ (ซึ่งแน่นอนว่าอากาศเย็นเยี่ยงนั้น ข้าพเจ้าอาบห้องข้างล่างอย่างเดียวเลยฮ่ะ)

แล้วก็ที่หน้าห้องจะมีชุดโต๊ะเก้าอี้ ซึ่งพ่อเสวียนและครอบครัวก็จะเตรียมน้ำดื่มไว้ให้ตามภาพเลยค่ะ (ตอนกลับมาก่อนนอน มีเปลี่ยนให้ใหม่เป็นขวดเย็นๆ ด้วยนะคะ น่ารักมากๆ ค่ะบ้านนี้)

สำหรับห้องนอนของเราจะปูฟูกและมีมุ้งให้ตามภาพเลยนะคะ ซึ่งที่จริงนอนได้สามคนเลยแหละ แต่เราก็นอนกันแค่สองคนค่ะ ห้องน้ำข้างบนก็กว้างขวางสะอาดสะอ้านดีค่ะ แต่ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่นนะคะ เพื่อนร่วมบ้าน (ห้อง) ของเราซึ่งไม่ชอบอาบน้ำอุ่นก็เลยอาบที่ห้องน้ำชั้นบนนี่ตลอดเช่นกันค่ะ















ฝั่งตรงข้ามบ้านเรา จะเป็นร้านค้าประจำหมู่บ้านค่ะ ถูกใจเรามากๆ สบายเลย หาเสบียงได้สะดวกมากๆ













ระหว่างทางเดินไปที่ศาลาเพื่อเตรียมรับประทานอาหารเย็นและร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็เก็บภาพวิถีชีวิตของคนที่นี่ไปด้วยค่ะ ชวนคุยชวนถามไป (คือ ถ้ามาพักโฮมสเตย์แล้วไม่ได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน มันก็ขาดๆ อะไรไปอะนะฮับ) ท่านนี้ก็กำลังสอยเจ้าฟัก (หรือแฟง? หรือบวบ? ...ครือ ข้าพเจ้าตกวิชาเกษตร แหะๆ) เตรียมเอาไปทำกับข้าวค่ะ ปลอดสารแน่นอน เห็นแล้วนึกถึงสมัยเด็กๆ เลยหละค่ะ













แล้วเราก็สังเกตเห็นว่าป้ายประจำบ้าน (เรียกถูกมั้ยเนี่ย) ที่จะมีชื่อเจ้าบ้านพร้อมบ้านเลขที่ มีตราสัญลักษณ์ตำรวจด้วยค่ะ ก็เลยถามๆ พี่ๆ เค้าก็บอกว่า เหมือนตำรวจจะมาทำให้มั้ง (อ้าว ทำไมมั้งอะคะพี่ ฮา ) ก็เลยถ่ายรูปมาให้ดูค่ะ













ส่วนนี่เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านค่ะ สภาพก็อย่างที่เห็นอะนะคะ อืมม์...ไม่รู้สิ พอมาที่นี่ เรานึกถึงตัวเองสมัยเรียนปริญญาตรี แล้วก็รู้สึกว่า ที่นี่เป็นอีกที่ที่สามารถจะมาออกค่ายอาสาฯ ได้น่ะค่ะ เพราะมีอีกหลายอย่างที่ชาวบ้านเค้าต้องการ (อันเดี๋ยวจะกล่าวต่อไปนะคะ) แล้วก็มีหลายสิ่งที่นักศึกษาที่จะมาออกค่ายที่นี่จะได้เรียนรู้จากชาวบ้านด้วยน่ะค่ะ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครที่ยังเรียนอยู่หรือมีเพื่อน มีน้อง ฯลฯ ที่หาที่ทำค่ายอยู่ เราแนะนำที่นี่นะคะ แฮ่...













เนื่องด้วยเรากับเพื่อนร่วมบ้านไปถึงเร็ว มีเวลาเหลือ ก็เลยชวนกันไปถ่ายรูปด้านล่างค่ะ (ก่อนปล่อยเข้าบ้าน ทางคนจัดงานก็บอกแล้วค่ะว่า ใครอยากลงเล่นน้ำน่านวันนี้ก็เล่นได้นะ (แต่พรุ่งนี้ก็มีล่องแพอีก เรากะจะลงพรุ่งนี้ค่ะ) เพราะเค้าว่ากันว่า ลงเล่นน้ำในแม่น้ำน่านแล้วจะได้กลับมาน่านอีกค่ะ ฮี่ๆ) ซึ่งในช่วงเวลาที่เราไปนี่ ก็จะมีการตั้งร้านค้าขายอาหารอยู่ที่หาดริมแม่น้ำตามภาพนะคะ แต่พอน้ำเริ่มหลากมา ก็จะถูกรื้อถอนไปหมดค่ะ
















จากภาพที่สอง จะเห็นสะพานแขวนเก่าๆ อยู่ อันนั้นเป็นสะพานเก่าแก่ที่ชาวบ้านที่นี่ต้องการความช่วยเหลือในการซ่อมแซมนะคะ (ที่เราบอกว่า ถ้าใครมีค่ายอาสาฯ น่าสนใจค่ะ ยิ่งถ้าเป็นของพวกคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราว่ายิ่งตรงทางเลย) เพราะตอนนี้สะพานนี้ใช้งานไม่ได้เลยหละค่ะ ทางหมู่บ้านแจ้งว่า ของบไปทางองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นหลายรอบแล้ว ก็ไม่ได้งบ เนื่องจากเค้าเห็นว่ามีสะพานปูน (ที่เห็นถัดไปจากในรูปน่ะค่ะ) อยู่แล้ว แต่ชาวบ้านที่นี่มองว่ามันเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง และจะทำให้เป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจะได้เดินเล่น ได้ใช้ประโยชน์จากมันด้วยน่ะค่ะ

ก็เลยมาให้ข้อมูลตรงนี้ เผื่อมีสถาบันการศึกษาไหน หรือหน่วยงานไหนสนใจจะเข้าไปทำ CSR นะคะ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านเค้าต้องการจริงๆ ค่ะ ดีกว่าไปทำสิ่งที่เราอยากทำ แต่ชาวบ้านเค้าไม่ได้ต้องการนะคะ แหะๆ














เอาหละค่ะ ไปดูร้านค้าของที่นี่กันดีกว่า ก็มีอยู่ราวๆ ไม่เกินสิบร้านนะคะ ที่นั่งก็มีทั้งด้านในเพิง และมีบางคนที่ชิลล์ขนาดเอาโต๊ะกับเก้าอี้ลงน้ำตามภาพเลยค่ะ ชิลล์มากๆ อ้ะ












นี่ก็เป็นภาพบรรดาหนุ่มๆ ที่ลงเล่นน้ำกันตั้งแต่เย็นนั้นค่ะ อยากกลับมาน่านอีกล่ะซี้..












นอกจากที่นั่งตามร้านดังกล่าวแล้ว ที่ได้รับความนิยมมากกว่า (แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนะฮับ อันจะกล่าวต่อไปในเอนทรี่หน้า) ก็คือการล่องแพลักษณะนี้ไปตามลำน้ำน่านพร้อมกับรับประทานอาหารหละค่ะ












ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ลองลิ้มชิมอาหารซะหน่อยแล้วกัน (จะได้เอามารีวิวน่ะค่ะ ไม่ได้หิวเลย จริงจริ๊ง (เสียงสูงไปป่าว))

สั่งแหนมกับไก่ย่างมาลองกินกันดูค่ะ สองคนสั่งกันมาเบาๆ แค่นี้ก่อน แต่ถูกมากๆ ค่ะ รวมเครื่องดื่มแล้วยังแค่สามสิบเจ็ดบาทเองนะคะ ถูกจนมองหน้ากันสองคนแบบไม่อยากเชื่อน่ะ (อยู่กรุงเทพฯ จนชิน เหอๆ) ขอให้รักษาราคานี้ไว้นะคะ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวอยากมา เพราะไม่รู้สึกว่าถูกโก่งราคาเกินเหตุน่ะแหละค่ะ












สมควรแก่เวลาก็เดินขึ้นไปที่ศาลากัน แล้วก็เห็นเจ้าต้นนี้ค่ะ น่าจะเป็นต้นงิ้วนะคะ (ท่านใดมีข้อมูลอื่น ก็แจ้งได้นะคะ แหะๆ)












จากนั้นก็ช่วยกันจัดเตรียมอาหารค่ะ นำผลไม้มาตั้งรอไว้ก่อนเลย ที่น่าสนใจคือเจ้าผลกลมๆ เปลือกเขียวๆ เนี่ยหละค่ะ พี่ๆ เค้าบอกว่า เรียกว่าน้ำนมหรือแอปเปิ้ลเหนือค่ะ รสชาติเราว่ารสคล้ายๆ พลับ แต่ฉ่ำนิ่มเละกว่าค่ะ แต่บางคนบอกว่าคล้ายๆ น้อยหน่านะคะ

ส่วนกล้วยน้ำว้าของที่นี่เราว่าหวานอร่อยดีค่ะ มะละกอ (ที่เราชอบกินและเราว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพดินได้อย่างหนึ่งเลยหละค่ะ) หวาน แต่ยังไม่สุดเท่าที่กินที่เชียงรายค่ะ มะขามก็หวานโอค่ะ












ต่อไปค่ะ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นของบ้านหาดผาขนกันเลยทีเดียว นั่นก็คือสาหร่ายนั่นเองหละค่ะ เป็นสาหร่ายน้ำจืดที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ อันได้แก่การ เก็บมาล้าง ตาก ย่างให้สุก ยี แล้วผัดกับพริกไทยและรสดีเรียบร้อยแล้วก็จะมีหน้าตาตามภาพ ใช้กินกับน้ำพริกตาแดงนะคะ

สาหร่ายตัวนี้ชาวบ้านเรียกว่า ไกค่ะ จะเป็นสาหร่ายตามน้ำ แต่ถ้าเป็นสาหร่ายที่เป็นก้อนจะเรียกว่า เตา เราดูจากหน้าตาและชิมแล้ว เราว่าเหมือนที่เห็นที่หลวงพระบางค่ะ แต่ที่นั่นเรียกว่า "ไค" (ชื่อก็คล้ายกัน สังเกตมั้ยคะ?) แต่ที่หลวงพระบางใช้ทอดเป็นแผ่นๆ เอาค่ะ กินกับน้ำพริกตาแดงเหมือนกันอีกแหละ

เจ้าไก (ณ น่าน) นี้จะออกเฉพาะหน้าหนาวนะคะ เพราะถ้าโดนแดดหรืออากาศร้อนมากๆ มันก็จะตายค่ะ (เดี๋ยวพรุ่งนี้ตอนล่องแพจะได้เห็นกันนะฮับ) แล้วก็จะขึ้นในน้ำสะอาดเท่านั้นค่ะ เป็นตัววัดคุณภาพน้ำตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเลยหละค่ะ

ส่วนตัวรสชาติก็คล้ายๆ เถ้าแก่น้อยเอามาป่นน่ะค่ะ ฮา เราว่าถ้าน้ำพริกตาแดงรสจัดๆ กว่านี้น่าจะทำให้ช่วยชูรสได้นะคะ อันนี้น้ำพริกตาแดงมันไม่ค่อยเผ็ดเท่าไหร่ง่ะ ก็เลยทำให้รสมันไม่ค่อยถูกปากเรามากนักค่ะ

ส่วนแกงขี้เหล็กนี่อร่อยมากกกกกกกก ไม่ได้กินแกงขี้เหล็กอร่อยๆ มานานแล้วค่ะ รสชาติพอดิบพอดีมาก เป็นเมนูเด่นที่สุดของคืนนั้นเลยค่ะ (สำหรับเรานะ แหะๆ)












ต่อไปเป็นต้มยำไก่กับผัดคะน้าค่ะ ต้มยำไก่บ้าน ตัวไก่อร่อยค่ะ ไม่ใช่ไก่ฟาร์ม เนื้อก็เลยไม่ฟ่ามนะคะ นุ่มนวลกว่า

ส่วนผัดผัก มีบางอันขมๆ หน่อยๆ น่ะค่ะ












หลังจากอิ่มหนำสำราญแล้วก็ปรับเปลี่ยนสถานที่เพื่อทำพิธีบ่ายศรีสู่ขวัญค่ะ ก็มีการสวดคาถาต่างๆ ประพรมน้ำมนต์ให้ทุกๆ คน มีการนำข้าวเหนียว เหล้าฯ ถวาย จากนั้นก็จะเป็นการผูกข้อมือให้กับทุกๆ คนที่ไปร่วมงานค่ะ


















เสร็จจากพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็จะเป็นโชว์ฟ้อนแง้นค่ะ (คล้ายๆ ที่เราได้ดูจากขบวนงานแห่งพระธาตุฯ นะคะ) เป็นเด็กๆ ในหมู่บ้านหละค่ะ แต่รอบนี้มีชาวบ้านคนหนึ่งเอาเงินไปวางให้เด็กๆ คาบขึ้นมาด้วย จากนั้นชาวเราก็เลยทำตามบ้างค่ะ ก็...ถือว่าเป็นการนำเงินไปสมทบทุนการศึกษาเด็กๆ หละนะคะ

จะเห็นน้องตัวเล็กคนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับน้องสี่คนที่เค้ารำอยู่เล้ย แต่ไปป้วนเปี้ยนๆ แถวๆ ที่พี่ๆ เค้ารำกันตลอดเลยค่ะ เรียกว่าอนาคตมีแววจะได้เป็นนางรำแน่ๆ เลยหละค่ะ แต่ลุงป้าน้าอาทั้งหลายก็ให้ทิปกันไปเยอะเหมือนกันนะคะ เพราะน้องเพลงน่ารักเกิีนจริงๆ ค่ะ












ปิดท้ายค่ำคืนนั้นกันด้วยการรำวงค่ะ หนุกหนานกันไป












ปิดท้ายเอนทรี่นี้ด้วยภาพท้องฟ้ายามค่ำนะคะ แม้จะมีแสงไฟบ้าง แต่ก็เห็นทั้งดาวและพระจันทร์ชัดกว่าในเมืองค่ะ (นี่ถ่ายระหว่างเดินกลับบ้าน ไม่มีขาตั้งกล้องใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ เลยได้มาแค่นี้ แหะๆ)












สำหรับเอนทรี่นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้นะคะ เอนทรี่หน้า จะพาไปชมพระอาทิตย์ขึ้นอันแสนงาม ณ บ้านหาดผาขน ชมสายหมอกระเรี่ยผิวหน้าลำน้ำน่าน ล่องแพกินอาหาร เก็บสาหร่ายใต้น้ำต่างๆ นานามากมายค่ะ อิอิ


อ้ะ..ยั่วน้ำลายกันด้วยรูปพระอาทิตย์ขึ้นสักรูปแล้วกันนะคะ แฮ่...












ปฏิทินธรรม






1 - 7 เมษายน 2558

1. งานบูชาครู บูรพาจารย์ บิดามารดา
ณ วัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี
https://www.facebook.com/628268230534409/photos/a.628270327200866.1073741828.628268230534409/1039910902703471/?type=1&theater




วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558

1. หล่อองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ณ. วัดพุทธบูชา โดย พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เป็นองค์ประธานสร้าง
https://www.facebook.com/bogboon/photos/a.335848433125466.75888.335629013147408/876917952351842/?type=1&theater



วันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558

1. ตักบาตรพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น วัดพุทธบูชา (ทุกวันเสาร์แรกของเดือน)




วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น.


ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
//www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447



2. ถวายภัตตาหาร หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี
ณ. จิตรโภชนา พาร์ค ดอนเมือง
https://www.facebook.com/Watpanakhamnoi?fref=ts




6 - 7 เมษายน 2558

1. ถวายภัตตาหาร หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี
ณ. สวนแสงธรรม พุทธมณฑล สาย 3 แขวงบางไผ่
https://www.facebook.com/Watpanakhamnoi?fref=ts




วันเสาร์ที่ 11 - อาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2558

1. งานบุญประเพณี “ผ้าป่า 12 เมษา” สืบหน่อต่อแขนงคลังหลวง บูชาพระคุณองค์หลวงตา” และร่วมพิธีมอบ”ทองคำ”เข้าคลังหลวงในโอกาสครบรอบ 17 ปี

https://www.facebook.com/bogboon/photos/pb.335629013147408.-2207520000.1427514982./879679492075688/?type=3&theater




วันอาทิตย์ที่ 12 และ 26 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts




14-17 เมษายน 2558

1. งานบวชเนกขัมฯ ครบรอบ 93 ปีชาตกาล หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
วัดระหาน (วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน) อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

https://www.facebook.com/luangpujanram/photos/a.841191655936380.1073741826.160417767347109/841191632603049/?type=1&theater






วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์ที่สามของเดือน)

1. ตักบาตรพระกรรมฐาน (นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น) ที่วัดบรมนิวาส (ไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นค่ะ)

ที่จอดรถค่อนข้างหายาก ไม่ควรนำรถส่วนตัวไปค่ะ




วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558(จัดทุกวันเสาร์ที่สี่ของเดือน)

1. เชิญทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร สดับธรรม พระเถระวัดป่ากรรมฐาน เมตตารับบาตร โดย
โดย พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)
วัดพุทธบูชา กรุงเทพฯ
พระพุทธิสารเถร (หลวงพ่อบุญกู้ อนุวฑฺฒโน)
วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ
พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย)
วัดถ้ำผาจม จ. เชียงราย

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net

















ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1,469,696+2326039=3795735/11546/949
Create Date :29 เมษายน 2558 Last Update :29 เมษายน 2558 8:39:47 น. Counter : 5471 Pageviews. Comments :25