bloggang.com mainmenu search













ปัญหานักเรียนตีกัน ระหว่าง โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายกับช่างกลปทุมวัน มีมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณปู่

เมื่อมีการทะเลาะต่อยตีกันครั้งแรกเกิดขึ้น..ก็จะมีการล้างแค้นกันในครั้งต่อมา

เพื่อนกับเพื่อน..บอกต่อบอกเล่ากัน จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

และด้วยความที่ถูกปลูกฝังให้รักสถาบันของตัวเองอย่างสูง

ต่างฝ่ายก็ต่างถือว่าเป็นสถาบันที่สอนอาชีวะด้านก่อสร้างและงานเครื่องกลเป็นแห่งแรกของประเทศ

แย่งครองความเป็นหนึ่งด้วยการ"ตบ"หัวเข็มขัด เพื่อเป็นการแสดงพาวเวอร์



จึงเป็นเหตุให้...มีเรื่องราวของการไล่ตีกันไปกันมา เป็นเวลา 70 ปีมาแล้ว


และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านก็เกิดเหตุการณ์ยกพวกตะลุมบอลกันอีก รักหว่างสองสถาบันนี้


ปี 2552 ....ก็ได้มีการหามาตรการเพื่อที่จะยุติศึกของสองสถาบันนี้อีกครั้ง








ข้อสรุป6 มาตรการ โยนสื่อผิดต้นเหตุทำตีกัน

จากนั้น รศ.สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นตัวแทนแถลงภายหลังประชุมร่วม 2 สถาบัน ว่า สำหรับข่าวที่เผยแพร่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทั้งสองสถาบันไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไจ และผลการประชุมก็ได้ข้อสรุปออกมา 6 ข้อ คือ

1.ตั้งคณะกรรมการร่วมกันทั้งสองสถาบัน ประกอบไปด้วย อาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า ตัวแทน สกอ. และตำรวจ เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมการพัฒนาของนักศึกษา

2.ให้คณะกรรมการจัดประชุมทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการ จาก สกอ. มาเป็นคนกลาง

3.เสนอให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทั้งสองสถาบันเรียนสายสามัญร่วมกัน ก่อนแยกย้ายไปเรียนวิชาเฉพาะต่อไป

4.ให้ สกอ.เป็นคนกลางจัดประชุมประจำปีร่วมกัน เพื่อรับทราบนโยบายการดำเนินงานด้านกิจกรรมร่วมกันรวมถึงอุปสรรคปัญหา

5.ให้จัดกิจกรรมระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่1 เรียนร่วมกันในระยะยาว โดยทาง สกอ.จะเป็นเจ้าภาพในการรับน้องร่วมกัน และ

6.ขอให้ศิษย์เก่าและอาจารย์ของสถาบันทั้งสองแห่งร่วมกันรณรงค์พัฒนาด้านความคิด รวมทั้งจัดกิจกรรมของนักศึกษาให้เป็นที่ยอมของสังคม

รศ.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ นั้นสร้างความเสื่อมเสียให้กับทั้งสองสถาบัน ต่อจากนี้ก็ขอวิงวอนให้คำนึงถึงชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาทั้งสองแห่ง เพราะการนำเสนอข่าวออกไปสถาบันทั้งสองแห่งก็ตกเป็นจำเลยสังคม และยังเน้นย้ำว่าทั้งสองสถาบันเป็นคู่อริกัน ซึ่งตรงนี้จะส่งผลให้นักศึกษาเกิดการกระทบกระทั่งกัน อยากให้เสนอข่าวก็ต่อเมื่อเหตุการณ์มีความชัดเจน มิเช่นนั้นการนำเสนอข่าวก็ยิ่งจะทำให้สถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งเสื่อมเสีย และยังเป็นการตอกย้ำให้นักศึกษาทั้งสองสถาบันชิงชังกันเป็นระยะ




เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุการณ์วิวาทกันของนักศึกษาทั้งสองสถาบันเกิดขึ้นเพราะอะไร รศ.สมเกียรติ ตอบว่า สื่อก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะสื่อนำเสนอข่าวมาโดยตลอด โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้าย และยังไม่ชัดเจนว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นฝีมือของนักศึกษาของทั้งสองสถาบันหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้ แล้วข่าวส่วนใหญ่ก็จะถูกโยงว่าเป็นฝีมือสถาบันคู่อริ ซึ่งเป็นชื่อของสองสถาบัน จึงทำให้นักศึกษาของทั้งสองสถาบันซึมซับเอาข้อมูลที่สื่อนำเสนอ ทำให้เกิดแค้นกันไปมาโดยไม่ทราบสาเหตุ

ดังนั้นต้นเหตุก็คือสื่อ เพราะสื่อทำให้เกิดความรู้สึก ทั้งที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร จึงเกิดการตอกย้ำอย่างต่อเนื่อง อยากให้สื่อเสนอแต่ความจริงเท่านั้น


----------------------------------------------------------














มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 225 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10310 สีประจำสถาบัน สีน้ำเงิน คติพจน์ "ถ้าเรารักสมัครจิต ก็ต้องคิดสมัครมือ ถิ่นสีน้ำเงินคือ ที่รวมรักสมัครคง"





ประวัติการก่อตั้ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย





โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า จำเป็นต้องมีการก่อสร้างอาคาร บ้านเมือง ให้ยิ่งใหญ่ต่อไปในภายภาคหน้า ต้องมีโรงเรียนที่จะเพาะช่างฝีมือก่อสร้างขึ้น จึงเป็นจุดกำเนิดของโรงเรียนช่างก่อส้รางอุเทนถวายจากนั้นเป็นต้นมา





โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
เป็นโรงเรียนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงที่ โปรดเกล้าให้จัดตั้งขึ้น เป็นแม่แบบของโรงเรียนช่างไม้ ทั่วราชอาณาจักร มุ่งหมายที่จะเจริญรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ปี พ.ศ. 2474 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง "โรงเรียนเพาะช่าง" ขึ้น และ เปิดแผนกช่างก่อสร้างในโรงเรียนเพาะช่าง





ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำริให้เปิด "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" ขึ้นในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณ 2 ไร่ ในระยะแรก เปิดรับนักเรียน 3 แผนก คือ ประถมวิสามัญ, มัธยมวิสามัญ และ ช่างฝีมืองานไม้ และจากนั้นได้ขยายพื้นที่ออกมาอีก 8 ร่องสวน





ในปี พ.ศ. 2478 มีการเปลี่ยนหลักสูตร ประถมวิสามัญ และ มัธยมวิสามัญ มาเป็น มัธยมวิสามัญช่างก่อสร้าง





ในปี พ.ศ. 2507 มีการเปลี่ยนมาสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพแผนกช่างก่อสร้าง แต่เพียงแผนกเดียว





ในปี พ.ศ. 2515 มีการเปลี่ยนหลักสูตร เป็นแผนกช่างก่อสร้าง และ แผนกช่างเขียนแบบ

ในปี พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกระดับและเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยอุเทนถวาย กองวิทยาลัย กรงอาชีวศึกษาเปิดการสอนในหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช,ปวส) ในคณะวิชาช่างโยธา และคณะวิชาช่างออกแบบสถาปัตยกรรม





ในปี พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะให้อีกโดยเปลี่ยนชื่อและสังกัดเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาวิทยาเขตอุเทนถวาย สังกัดกองสถานศึกษากรมเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ





ในปี พ.ศ. 2531 อันเป็นมหามิ่งมงคลสมัย รัชมังคลาภิเษก ได้รับพระราชธานมหามงคลนามเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย จัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง







ในปี พ.ศ. 2542 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย เปิดการสอนในระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากระดับปวส. ในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสาขาทางด่านการจัดการงานก่อสร้าง สาขาวิศวกรรมโยธาในปีต่อมา





ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ได้มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ในสายสถาปัตยกรรม และสายวิศวกรรม ในสาขาต่างๆ เพื่อเป็นบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต







----------------------------------------------------------------














สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน


ข้อมูลทั่วไป
อักษรย่อ สปท. / PTWIT

ชื่อภาษาอังกฤษ Pathumwan Institute of Technology

วันสถาปนา 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475

ประเภท รัฐ

อธิการบดี รศ.สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร

สีประจำสถาบัน เหลืองเลือดหมู





ที่อยู่
ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ยกฐานะขึ้นมาจาก "วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน" เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษาเข้ามาศึกษาต่อเฉพาะทางในระดับปริญญา





ประวัติ
โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2475 ในนาม "โรงเรียนอาชีพช่างกล" ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยคณะนายทหารเรือ นำโดย น.อ. พระประกอบกลกิจ ร.น. ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้กับเยาวชนไทย






อีกสองปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนอาชีพช่างกลจึงย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ย้ายไปจากบริเวณท่าเรือ โรงเรียนราชินีล่าง จนปีต่อมาได้โอนโรงเรียนอาชีพช่างกลมาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พร้อมชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล






และในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการดำเนินการเช่าที่ดินตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เดิม มีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ ได้จัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง โรงฝึกงานอีก 8 หลัง แล้วย้ายโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่นี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "อาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างกล" และเป็น "ช่างกลปทุมวัน" มาจนทุกวันนี้






ในระหว่างเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นประมาณร้อยนาย ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2485 เวลา 19.00 น. ปีการศึกษา 2484 ทางโรงเรียนจึงได้อพยพนักเรียนไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จนจบปีการศึกษา 2484






ต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน 2485 ได้ย้ายไปทำการสอนที่เชิงสะพานเฉลิมโลก ประตูน้ำปทุมวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนการช่างอินทราชัยในขณะนั้น และในระหว่างเกิดสงครามนั้น โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ส่งนักเรียนแผนกช่างยนต์ปีสุดท้ายจำนวน 32 คนและคุณครูอีกสองท่านไปช่วยงานด้านการซ่อมพาหนะที่แนวหน้ากองทัพสนามภาคพายัพของกระทรวงกลาโหม เมื่อสงครามสงบ กองทัพทหารสหประชาชาติ ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวันคืนจากญี่ปุ่นได้ นักเรียนจึงได้กลับมาเรียนที่ช่างกลปทุมวันดังเดิม





พ.ศ. 2511 โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้อยู่ในการพัฒนาอาชีวศึกษา ตามแผนโครงการเงินกู้เพื่อปรับปรุงโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และส่งครูอาจารย์ฝึกงานและดูงานต่างประเทศ





พ.ศ. 2518 โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)





พ.ศ. 2524 วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)




พ.ศ. 2533 วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)




พ.ศ. 2541 วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี






-------------------------------------------------------





วิธีที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ศึกสองสถาบันนี้บรรเทาลง..

คงจะไม่ใช่ขู่ปิด..สถาบันการศึกษา

หรือไล่นักศึกษาที่กระทำการทำร้ายร่างกายออก..



แต่น่าจะเป็น...รุ่นพี่ของทั้งสองสถาบัน

หยุดให้การยั่วยุ หรือ ปลูกฝังในเรื่องความขัดแย้งต่อกัน

น่าจะดีที่สุด


แต่ว่าจะทำได้หรือเปล่า...เท่านั้นเองครับ










ที่มา

วิกิพีเดีย
















Create Date :12 กุมภาพันธ์ 2552 Last Update :12 กุมภาพันธ์ 2552 0:11:22 น. Counter : Pageviews. Comments :160