bloggang.com mainmenu search

เช้าวันสุดท้ายแล้วจ้า กับค่ายอยู่กับธรรมชาติ ณ บ้านสวนสายลมจอย  อยู่กันอย่างชุ่มปอด ไม่อยากจะกลับเลย แอบไปเล็งที่นาผืนน้อยเอาไว้ เผื่อไม่มีไรทำ ย้ายมาทำนาปลูกข้าว ให้มิวเลี้ยงเป็ดให้สะใจ.....ถ้าบุญวาสนามี ก็คงได้ Smiley

เคยได้ยินไหม ที่บางคนเขาว่าฝรั่งมีบุญ(กว่า) โดยรวมแล้วบ้านเมืองเจริญก้าวหน้า ประเทศร่ำรวย มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประเทศสงบสุขร่มเย็น ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ทำบุญ ทอดกฐิน ใส่บาตร ทอดผ้าป่าอะไรเลย แต่มีชีวิตร่มเย็นสงบสุข คุณภาพชีวิตที่ดี (อันที่จริงกรรมเป็นผลจากการกระทำชิมิ...เขาว่าไว้ (น่าจะเคยอ่านจากหลวงพ่อจรัญนี่แหละ ไม่ได้พูดเอง อย่ามาดราม่าเคร๊?) 
ถ้าคิดด้วยลอจิกนี้แล้ว อิชั้นคิดว่า คนต่างจังหวัดมีบุญกว่าคนกรุงเทพฮ่ะ  เวลาที่นี่ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เหมือนเวลาเดินช้ากว่า มีเวลาทำโน่นทำนี่เยอะแยะไปหมด ณ บางกอก ดินแดนแห่งแสงสี ความเจริญ บางคนตื่นตี 4-5 ออกจากบ้านไปทำงาน ไม่เห็นแสงเดือนแสงตะวัน ออกจากออฟฟิสผจญรถติด สารพัดสิ่งยั่วยุรอบตัวที่เหมือนจะเป็นบททดสอบให้ชาวเมืองหลวงต้องฟันฝ่า บางทีก็งงๆ ว่าทำไปเพื่ออะไร ชีวิตได้มานี่เกินกว่าปัจจัย 4 ไปเยอะละนะ  ลัทธิวัตถุนิยมแผ่กระจายกว้างออกไปเรื่อยๆ แต่ส่วนตัวคิดว่าสังคมต่างจังหวัด ใกล้วัด ใกล้ธรรมะ คนยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยิ้มแย้มกว่า  แต่นั่นแหละ...อยู่ที่ไหนก็เหมือนกันถ้าทำใจให้เป็นสุข  (แต่อดแอบคิดไม่ได้ว่า ถึงยังไงถ้าได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สิ่งเร้าไม่ต้องเยอะ อากาศดีๆ มันจะสุขขี สุขโขขนาดไหนหนอ......)

วันนี้ เด็กๆ ได้เลือกทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ บ้างก็ตามหลวงปู่ไปบิณฑบาต(ส่วนน้อยนะ เพราะเด็กๆ เข็ดกลัวเจ็บเท้า)  ส่วนเจ้ามิวมิว แน่นอน ตามติดขบวนการต้อนเป็ดไปทุ่ง

อากาศดีสุดๆ หน้ากระท่อมไม้ไผ่ ยามเช้า

รวมพลขบวนการต้อนเป็ดดดดด  พี่เข้มโปรมาก ณ จุดนี้


เป็ดเจ้ากรรมตกนาอีกละ...ร้องแคว่กๆๆๆๆ แต่หาตัวไม่เจอ เด็กๆพยายามจะลงไปช่วย แต่ไม่สำเร็จ พี่เข้มลงทุนลุยลงไป แต่เข้าไปได้ไม่ลึกมาก เพราะต้นข้าวอยู่กันอย่างหนาแน่น แล้วตรงนี้นาใครก็ไม่รู้ -_-''  เด็กๆ ได้แต่เดากันไปว่า เจ้าเป็ดจะรอดกลับไปหาเพื่อนๆ ได้ไม๊

สองสาวคุยกันกระหนุงกระหนิง ตามไปส่งคุณเป็ด

ในเครื่องฟักไข่ วันนี้มีลูกเป็ดลืมตาดูโลกใหม่ 2-3 ตัว สดๆร้อนๆ ขนยังเปียก กระดิกกระเดี้ยไปไหนไม่ได้ ส่งเสียงร้องจิ๊บๆๆๆ 

กิจกรรมวันสุดท้าย แบบชีลๆ กิจกรรมกลุ่ม เขียนบันทึก เด็กๆแลกที่อยู่ และเบอร์โทร เขียนไปรษณียบัตรให้กัน นั่งเล่น นอนเล่น สรุปกิจกรรมร่วมกันว่า การมาค่ายของเด็กๆ ครั้งนี้ ได้อะไรบ้าง ชอบไม่ชอบ ประทับใจตรงไหน

อาหารกลางวัน น้ำพริกถั่ว(คล้ายๆที่กินที่บ้านน้องลี สูตรแม่ครัวอาข่าอาม่า แต่คนละฟีลกันนะ อันนี้ เหมือนเป็นถั่วป่น กระเทียมสับละเอียดเจียว เค็มๆ บ้านน้องลีจะแซ่บนัวกว่านะ) ยำไข่ดาวเค็ม ไข่เป็ดฟองโต๊โต ทอดออกมาแล้วสะใจมาก

ออกกำลังก่อนแพคกระเป๋ากลับบ้าน

ออกจากบ้านสวนสายลมจอย บ่ายสามกว่าๆ นั่งเขย่าไปบนสองแถว ได้ที่ สลบ หมดแรงกันเป็นแถบๆ ของที่ระลึกมิวมิว พิเศษนิดนึง คุณย่าให้เก๋าเจี๊ยบกะบูลล่าต้มแล้วใส่ถุงมัดหนังยางเรียบร้อย พากลับมา กกต่อที่กรุงเทพด้วย


ขบวน JR ที่นั่งนั่งสบาย แต่ล็อคนึงนั่ง 4 คน สำหรับเตียง บน 2 ล่าง 2 ถ้าเดินทาง 4 คนพร้อมกันจะฟินมาก แต่ถ้าไม่แล้ว จะแปลกๆ ที่นั่งมองหน้ากันไปมา 4 คนที่ไม่รู้จักกัน....ล็อคนี้ มีพี่โมกข์ พี่ดัง พี่กัส มิวมิว แม่ๆ อีก 2 คน รวมเป็น 6 ชีวิตละนะ...ค่ำๆ พี่พีพล ย้ายมานอนกับพี่โมกข์เตียงบนอีก ยัดกันเข้ามา 7 ชีวิต อบอุ่นโคดดด 5555 (ตู้แบบนี้ ไม่เหมาะที่แม่และลูกจะนอนเตียงล่างด้วยกัน เพราะที่นอนแคบกว่ารถไฟตู้นอนทั่วไปค่อนข้างเยอะ เล่นเอากระดิกไม่ได้ เมื่อยขบไปทั้งตัว)

ข้าวผัดห่อใบตองมื้อสุดท้าย บนรถไฟ จากบ้านสวน อร่อยมว๊ากกก  

อนิจจาเก๋าเจี๊ยบ(อยู่ในมือมิวมิว)  รูปข้างบน อิหนูเล่นปีนขึ้นปีลง ลิงค่างกันมาก เก๋าเจี๊ยบและบูลล่า หล่นแผละ ดับอนาถ  พอถามมิวมิวว่า...ไหนล่ะ เก๋าเจี๊ยบ เอามาเก็บก่อนที่มันจะเละ  มิวมิวบอกว่า ไม่มีเก๋าเจี๊ยบแล้ว อันนี้ไม่มีชื่อแล้ว เค้าแตกไปแล้ว -_-''

กลับมาถึงบ้าน กทม. โดยสวัสดิภาพ พร้อมความประทับใจมากมาย  มิวมิวจำพี่ๆ เพื่อนๆ และกิจกรรมที่ทำตลอดเวลาอยู่ค่ายได้แม่นมาก เวลาแม่เปิดบล็อค มิวมิจะมาขอดู ชี้รูปโน่นนี่ บรรยายยตลอดเวลา...ไว้ปิดเทอมหน้า ถ้ามีอีก คงได้ไปอีกแง๋ ^_^  ขอบคุณแม่พิณ กะครูโกะ พ่อเอก คุณย่า และทุกๆ คนที่จัดกิจกรรมหนุกๆแบบนี้นะค๊า...

ของที่ระทึกจากค่าย

Smiley

ถึงโตขึ้นเด็กๆ จะลืมว่าเคยทำอะไร เล่นอะไร สนุกยังไงบ้าง แต่โตขึ้น เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ จะทิ้งร่องรอยไว้ในลิ้นชักความทรงจำ หล่อหลอมนิสัย ความเป็นตัวตนของคนคนหนึ่ง ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้  ไม่มาก ก็น้อย......

เด็กที่มีธรรมชาติเป็นครูสอน ย่อมจะเข้าใจธรรมะ ที่อยู่รอบตัว...จริงไม๊


ปิดท้ายด้วยคลิปชุลมุน ที่ต้องใช้ความอดทนดู 5555555
Create Date :22 เมษายน 2555 Last Update :24 เมษายน 2555 9:57:19 น. Counter : Pageviews. Comments :5