bloggang.com mainmenu search




อยู่เมืองหนาว 
ปลูกดอกบัวให้มีดอก ไม่ง่ายเลย



ดอกบัว ที่ปลูกเมืองไทยคงมีดอกให้ชมกันจนเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับเมืองหนาว
ปลูกดอกบัวมีดอก เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เพราะปลูกได้ไม่ง่ายเลย สมัยก่อนๆ
คนไทยที่มาอยู่เมืองหนาวอย่างนิวยอร์ก อยากมีดอกบัวไว้ชื่นชมกัน พยายาม
ซื้อบัวมาปลูกหน้าร้อนจะมีดอกให้ชื่นชมสองสามเดือน พอหน้าหนาวก็กลัวบัว
จะตาย พยายามหาอ่างใหญ่ๆเพื่อย้ายบัวมาปลูกในบ้านให้พ้นหิมะหน้าหนาว
พอหน้าร้อนก็เอาออกไปที่สนามนอกบ้านอีก บัวก็จะมีดอก แต่บางบ้านก็เลี้ยง
บัวในบ้าน ไม่รอดหน้าหนาว

เจ้าของบล็อกอยากปลูกบัวมาก แต่ก็ไม่อยากมีภาระขนบัวเข้าบ้านหน้าหนาว
เลยไม่ปลูก เผอิญเพื่อนบ้านปลูกบัวแล้วทิ้งนอกบ้านหน้าหนาว หิมะตกกลบ
อ่างบัว พอหน้าร้อนบัวก็งอกมาแล้วมีดอกด้วย เพื่อนบ้านแบ่งบัวมาให้ปลูก
ลองปลูกดู บัวก็น่ารักจังมีดอกให้ชื่นชมสองสามดอก หน้าหนาวก็ทิ้งไว้นอกบ้าน
ปีต่อมาก็งอกมาใหม่ ดีจัง

แต่ปีนี้ดอกและใบเล็กไปหน่อย เพราะไม่ได้ดูแลบัวเท่าที่ควร ปกติหน้าใบไม้ผลิ
ต้องเอาบัวขี้นมาแล้วแบ่งบัวออกบ้าง บัวจะขี้นแน่นไปหมด ต้องปลูกใหม่
บัวจะได้ไม่แน่นเกินและโตไม่ไหว ใบก็เล็กลงๆ ไหนๆปีนี้ไม่ได้ทำแล้ว
รอปีหน้าละกัน ดอกเลยเล็กไปหน่อย
ชมบัวกันนะคะ



รุ่นแรกก็มีดอก 4-5 ดอกเลย
ขอเก็บภาพไว้เป็นความทรงจำ
ตั้งแต่ดอกตูมจนบาน หลายภาพหน่อยค่ะ









































 ดอกบัวหลังฝน บัวรุ่นแรกบาน สวยงาม 
















วิธีปลูกบัวง่ายๆ ได้ผลดี
ดอกบัวบาน ดูแล้วชื่นใจ





บัว เป็นไม้น้ำที่ผมอยากปลูกมากชนิดหนึ่ง ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กเคยพยายามปลูก แต่ไม่สำเร็จ แรกๆ ซื้อมาใบเขียวสวย มีดอกติดมาสองสามดอก แต่พอมาปลูก ดูแลไม่เป็น ไม่นานดอกที่มีก็บาน และใบที่มีก็เล็กลงจนกระทั่งตายหมดแบบสมบูรณ์แบบ


ตอนนี้โตแล้ว เริ่มคิดเป็น เริ่มศึกษาวิธีการ เอ ก็ไม่ยากนัก พอดีมีเพื่อนเป็นชาวสวนคนหนึ่ง ให้ลองทำตามขั้นตอนที่แนะนำ ก็ไม่เลวครับ ปลูกได้นาน แถมยังเห็นดอกบานได้ทุกวัน
วัสดุอุปกรณ์ในการปลูกบัว





1. กระถางบัว ยิ่งใหญ่ ยิ่งดี
2. ดินเหนียว ขึ้นกับขนาดของกระถาง
3. ปุ๋ยเม็ด ต้องซื้อเผื่อติดไว้ที่บ้าน
4. สุดท้ายก็คือ ต้นบัว แล้วแต่ชอบว่า พันธุ์ไหน สีแบบไหน
5. น้ำ
6. ปลาหางนกยูง สำหรับกินลูกน้ำ


วิธีปลูกบัว


1. ใส่ดินเหนียวที่ก้นกระถาง หนาสัก 3-5 นิ้วขึ้นไป
2. นำต้นบัว วางบนดินในกระถาง กดให้แน่นพอสมควร แต่อย่าแรงมาก เดี๋ยวรากมีปัญหา
3. ใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด ฝังในดินเหนียวสัก 2- 4 เม็ด
4. ใส่น้ำ ให้เต็ม


วิธีการดูแลบัว เพื่อให้ดอกงาม


1. บัวตัองการแสงแดด ปลูกในที่ร่ม ระวังไม่เห็นดอก
2. ทุกอาทิตย์ ให้ช้อนสาหร่ายที่อยู่ใต้น้ำออก เพราะเป็นตัวที่ทำให้บัวไม่เจริญเติบโต
3. ใส่ปุ๋ยสัก 1-2 อาทิตย์ครั้ง
4. เปลี่ยนน้ำทุกๆ อาิิทิตย์ ถ้าสะดวก หรืออย่างน้อยสักเดือนละ 1-2 ครั้ง
5. เติมดินบ้าง เพื่อให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น
6. รับประกัน เพียงเท่านี้ บัวของคุณจะออกดอกให้คุณได้ชื่นใจ ได้ทุกๆ วัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
//miracleoftree.blogspot.com/2013/08/blog-post_5504.html

อิฐมอญเผาไฟ กลยุทธ์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย
ผลงาน อสม.ดีเด่น ระดับชาติ


โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการควบคุมโรคจะได้ดำเนินการมาหลายสิบปี ก็ไม่สามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ เมื่อถึงช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนถึง สิงหาคมของทุกปี จึงพบการระบาดมากที่สุด

ด้วยเหตุดังกล่าว ได้มีการคิดค้น รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย จึงเป็นที่มาของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีหน้าที่เผยแพร่ความรู่แก่ประชาชน ให้รู้จักวิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นต้นเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก และเป็นผู้นำกระตุ้นประชาชนร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน ทั้งนี้ อสม. 1 คน รับผิดชอบ 10 ครอบครัว ที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ลดลง นับว่าประสพผลสำเร็จระดับหนึ่ง

โดยเฉพาะที่ ต.กุดปลาดุก อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ ได้มีการรณรงค์ หาวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีนายนเรศ สร้อยแก้ว เป็นแกนนำ ใช้เวลา 19 ปี จึงประสบความสำเร็จเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ ต.กุดปลาดุก ปลอดโรคไข้เลือดออก 100% อันนำไปสู่การได้รับรางวัลแหวนเพชร พร้อมใบประกาศนียบัตร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่น ระดับชาติ สาขาเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 สร้างชื่อเสียงให้แก่ จ.อำนาจเจริญ เป็นอย่างมาก

นายนเรศ สร้อยแก้ว อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ 12 ต.กุดปลาดุก อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ อสม.ดีเด่น ระดับชาติ บอกอย่างภาคภูมิใจว่า ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบล สังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการรณรงค์ และให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคติดต่อที่สำคัญๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคตาแดง โรคมือเท้า โรคท้องร่วง รวมเวลา 19 ปี โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี มีการระบาดมาก แรกๆ ก็ใช้ทรายอะเบทและฉีดพ่นยาฆ่ายุง ได้ผลดีตอนแรก พอนานวันหลายปี ยุงลายดื้อยา เริ่มจะใช้ไม่ได้ผล ก็เลยคิดหาวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เคยทดลองใช้อย่างได้ผลมาแล้ว โดยมีวิธีทำลายลูกน้ำและไล่ยุงลายหลากหลายวิธี อาทิ เช่น โดยการใช้อิฐมอญ วิธีการก็คือ ให้นำอิฐมอญ 1 ก่อน ล้างน้ำจนสะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำไปเผาไฟจนสุกอิฐมีสีแดง ต่อมาใช้คีมคีบอิฐมอญที่ร้อนๆ ใส่ลงไปในภาชนะที่กักเก็บน้ำใช้หรือน้ำดื่ม เช่น โอ่งมังกร อ่างน้ำในห้องส้วม รางน้ำสัตว์ เป็นต้น ก็จะหยุดการเจริญเติบโตของลูกน้ำได้นาน 1 เดือน ซึ่งสามารถนำอิฐก้อนเก่ามาเผาใช้ใหม่ได้ จนกว่าอิฐจะแตกใช้การไม่ได้ อัตราส่วนอิฐมอญ 1 ต่อ 1

นอกจากนี้ ยังสามารถนำปูนแดง (ปูนเคี้ยวหมาก) นำมาใช้กำจัดลูกน้ำได้ โดยการนำปูนแดงปั้นกลมๆ เท่าลูกกระสุนหนังสะติ๊ก จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วเอาไปใส่ในอ่างน้ำ หรือโอ่งน้ำ ที่มีลูกน้ำ ก็จะสามารถหยุดการเจริญเติบโตของลูกน้ำได้ ประมาณ 3 เดือน อัตราส่วน 1 ต่อ 1

สำหรับธนาคารปลาหางนกยูง ก็เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่ง ที่สามารถกำจัดลูกน้ำอย่างได้ผล วิธีการก็คือ ใช้ปลาหางนกยูงไปปล่อยในภาชนะกักเก็บน้ำ เช่น อ่างน้ำใช้ รางน้ำสัตว์ อ่างน้ำในห้องน้ำ แต่ที่ทำ ใช้ท่อซีเมนต์รองน้ำแล้วปล่อยปลาหางนกยูงลงไป ตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 3 ตัว รวม 4 ตัว ปลาจะกินลูกน้ำยุงลาย ประมาณ 1 เดือน ปลาหางนกยูงก็จะขยายพันธุ์ เป็นหลายร้อยตัว ก็จะตักออกหรือไม่ก็แจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่สนใจแบบฟรีๆ

ส่วนถุงหอมไล่ยุง เป็นอีกวิธีการไล่ยุงที่ได้ผลดีมาก โดยมีวัสดุที่นำมาใช้ก็คือ ตะไคร้หอม ใบมะกรูดหรือผลมะกรูด พิมเสน ใบเตย ผ้าขาวบางหรือผ้าบาง เชือก วิธีทำให้นำตะไคร้หอม ใบมะกรูดหรือผลมะกรูด ใบเตย มาหั่นบางๆ แล้วนำไปผึ่งแดด 1 วัน จากนั้น นำมาผสมกับพิมเสนแล้วห่อรวมกันก็สามารถใช้งานได้ โดยให้นำไปวางในที่อับ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ บริเวณบ้าน เมื่อยุงได้กลิ่นก็จะไม่เข้าใกล้

น้ำหอมป้องกันยุง วัสดุที่นำมาใช้ เช่น ตะไคร้หอม น้ำสะอาด ขวดพลาสติก วิธีทำให้นำตะใคร้หอม มาหั่นบางๆ แล้วใส่เครื่องปั่นผสมกับน้ำ 1/5 ส่วน ตะใคร้ 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วน แล้วกรอกใส่ขวด วิธีใช้ นำไปวางไว้บริเวณที่อับ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ บริเวณบ้าน กลิ่นของตะไคร้หอมจะไล่ยุงไม่ให้มารบกวน สรรพคุณน้ำตะไคร้ไล่ยุง ทำง่ายราคาถูก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์

ส่วนวิธีใช้ตาข่ายไนลอนในการป้องกันลูกน้ำ โดยใช้ตาข่ายไนลอนหรือผ้าขาวบาง มาตัดให้ได้ขนาดพอดีกับปากโอ่ง ต่อมา นำเชือกมารัดตาข่ายไนลอนปิดปากโอ่งไว้ให้แน่น ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้ยุงลายตัวแก่มาวางไข่ในโอ่งได้ และสามารถนำไปดัดแปลงใช้กับโอ่งขนาดเล็กได้ ซึ่งจำหน่ายอันละ 10 บาท

นายนเรศ สร้อยแก้ว ผู้คิดค้นนวัตกรรมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างได้ผลเกินคาด กล่าวว่า ลองผิดลองถูกอยู่นาน อันไปสู่ กลยุทธ์ 8 ป.ทั่วทิศ พิชิต ไข้เลือดออก ดังนี้ 1.ป ประชาคม หมายความว่า คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับ อสม.ได้ทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน จนได้ข้อสรุป ให้จัดตั้งทีมอาสาสมัครในนาม 8 ป.ป้องกันโรค และได้ทำเป็นพันธะสัญญาใจขึ้น โดยให้ถือเป็นมติหมู่บ้าน 2.ป ประกาศ ให้ผู้นำชุมชนประกาศทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เรื่องโรคไข้เลือกออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่สำคัญมาก โดยให้ความรู้ ข้อมูลแก่ประชาชนในการป้องกัน 3.ป ปรับปรุง ร่วมกันทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ทั้งในหมู่บ้านและบ้านตนเอง เดือนละ 2 ครั้ง มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์ 4.ป เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนทัศนคติประชาชน ที่คิดว่าการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นหน้าที่ อสม.และ จนท. ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพชุมชน ต.กุดปลาดุก ควรเป็นทุกคนร่วมมือกัน ให้มีตัวแทนทุกครัวเรือนละ 3 คน เข้าร่วม 5.ป ป้องกัน โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจัดตั้งกองทุนเย็บผ้าปิดฝาโอ่ง และขยายเครือข่ายทำให้ชาวบ้านใช้ผ้าปิดฝาโอ่งทั้งตำบล มีการใช้ปลาในท้องถิ่น สู่การจัดตั้งธนาคารปลากินลูกน้ำ ได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ปี ขยายสู่ชุมชนหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง การใช้อิฐมอฐและปูนแดง เป็นต้น 6.ป ปราบปราม ตัวแทนครัวเรือน ร่วมกับ อสม. ตรวจลูกน้ำ หากพบแหล่งเพาะพันธุ์ให้กำจัด สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน 7.ป ปรับ โดยจัดตั้งทีมโปลิศจับลูกน้ำป้องกันโรคไข้เลือดออก สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน ซึ่งบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำ พบครั้งแรกให้ตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ 10 บาท นำเงินเข้าพัฒนาหมู่บ้าน 8.ป ประเมินผล มีการสำรวจลูกน้ำ ส่งรายงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดปลาดุก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประเมินผลการดำเนินการและร่วมวางแผนการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง ที่ผ่านมานับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากและมีผู้สนใจเดินทางไปศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

ดร.นพ.ไพศาล วรสถิต์ สาธารณสุข จ.อำนาจเจริญ กล่าวถึงกรณีที่มี อสม.นำปูนแดงและอิฐมอญ ใส่ลงไปในภาชนะเก็บน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำนั้นว่า ก็สามารถทำได้ เพราะปูนแดงและอิฐมอญมีสภาพเป็นด่าง ซึ่งสามารถตัดวงจรการเจริญเติบโตของลูกน้ำได้ แต่ควรใช้สารทรายอะเบทจากหน่วยงานสาธารณสุขที่แจกจ่ายให้จะดีกว่า เพราะไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ดร.นพ.ไพศาล วรสถิตย์ สสจ.อำนาจเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าปีนี้ลดลงมากเป็นเพราะว่า ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม จะมีการระบาดมาก ก็ได้มีการเตรียมการป้องกันไว้อย่างดี และการระบาดลดลงจนเป็นที่น่าพอใจ สสจ.อำนาจเจริญ กล่าว

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หรือจะเดินทางไปศึกษาดูงาน ให้ติดต่อไปที่ นายนเรศ สร้อยแก้ว โทร.08-7881-0808 ได้ทุกวัน

สนธยา ทิพย์อุตร/อำนาจเจริญ

สาขา Klaibann Blog


ขอขอบคุณ ภาพ ข้อมูลและยูทูปจากอินเตอร์เนต



GIOVANNI MARRADI - Memories(Relaxing music)
Andreea Petcu



newyorknurse



Create Date :05 กรกฎาคม 2560 Last Update :19 กรกฎาคม 2560 3:17:56 น. Counter : 6050 Pageviews. Comments :36