bloggang.com mainmenu search
   

กราบหลวงพ่อจรัญ แวะบ้านเพื่อนที่สิงห์บุรี


วันนี้เพื่อนๆศิริราชรุ่น 7 - รามารุ่นที่ 1 นัดไปทานข้าวกันที่สิงห์บุรี บ้านเพื่อน อุ๋ย (รำไพพรรณ และคุณหมอสิงห์พันธ์  ทองสวัสดิ์)  คณะเราออกจากจุดนัดพบสามจุด 7.00 น.เช้า ไปพบกันที่วัดอัมพวัน ไปกราบหลวงพ่อจรัญ (ดีใจจัง จขบ.ยังไม่เคยไปวัดนี้ และมีโอกาสได้กราบหลวงพ่อด้วย)

เพื่อนๆที่ต่างประเทศจะกลับกันหมดแล้ว กว่าจะไปปเที่ยวกันอีกก็ปลายปี ส่วนมากเพื่อนๆจะหนีหนาวและมาเที่ยวเมืองไทยกัน  นัดเพื่อนๆไปไหนๆกันอีก  วันนี้ไปเที่ยวกันสนุกสนาน อิ่มบุญ อิ่มอาหารกัน
ทุกคน มีของฝากกลับบ้านกันมากมาย วันนี้ถ่ายรูปมาเยอะหน่อย เก็บไว้เป็นความทรงจำของเพื่อนๆ
ดูรูปบรรยายภาพนะคะ




พบกันที่วัดอัมพวัน เตรียมตัวไปกราบหลวงพ่อจรัญ
















บริจาคปัจจัยกัน รวมได้ 4390 บาท




พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค3 ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่าน

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค3 ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เมื่อปีพ.ศ. 2547 โดยมีราชทินนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ ว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[1




คณะเรา ถวายเงินบริจาค 4390 บาท




หลังจากถวายเงินแล้ว ก็ออกมารอข้างนอกกัน








บริเวณข้างล่าง มีพุทธศาสนิกชน มารอกราบหลวงพ่อจรัญ กันแน่นหนา




รอบริจาคปัจจัยกัน








กราบหลวงพ่อโต ในบริเวณวัดอัมพวัน





กราบพระประธานในโบสถ์วัดอัมพวัน








คุณสรภัณท์ (ตุ๊ก) แวะมากราบหลวงพ่อจรัล และพบคณะเพื่อนๆกันด้วย ถ่ายรูปหมู่กัน


ไปกราบองค์พระนอนจักรสีห์กัน







องค์พระนอนจักรสีห์ (พระจำลอง)








จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพพระนอนจักรสีห์

พระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ ปางโปรดอสุรินทราหู ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร หรือ วัดพระนอนจักรสีห์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พื้นที่ของวัด มีขนาดกว้างประมาณ 7 เส้น (280 เมตร) ยาวประมาณ 10 เส้น (400 เมตร) วิหาร ยาว 1 เส้น 7 วา กว้าง 11 วา เสาข้างในเป็นแปดเหลี่ยม

พ.ศ. 2297 ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1111 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สร้างวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร และเมื่อ พ.ศ. 2299 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จไปสมโภชวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร






























บางระจันทร์




พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา

พระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ วัดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี[1] ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน[2] สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่[3] แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออก
จากค่าย


สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน





1





อิฐทุกก้อนที่หลวงพ่อธรรมโชติสร้าง จะมีตราทุกก้อน
















อ่างน้ำศักดิสิทธิ ประชาชนจะมาเติมน้ำในบ่อ ถามว่าทำไมนำน้ำมาเติม บางคนบอกว่ามาบนขออะไร แล้วถ้าสำเร็จจะมาตักน้ำกี่ถัง ก็มาแก้บนค่ะ































บรรยากาศร้านอาหารลุงเจิดปลาเผาค่ะ












อิ่มอร่อยกับอาหารนาๆชนิดค่ะ




บ้านอุ๋ย - รำไพพรรณ ต้อนรับด้วยดอกไม้สีชมพูงาม สดใส













แวะมาที่บ้านของอุ๋ย มีพี่สาวสามคนต้อนรับคณะเราอย่างอบอุ่นค่ะ








ขนมถั่วแปป อร่อยมาก




คล้ายข้าวต้มผัด แต่ใส้หมู อร่อยจริงๆ




มะม่วงน้ำปลาหวาน ของโปรดหลายๆคนค่ะ




มะปรางหวาน ของฝากกลับบ้านกันอีกด้วย




มะม่วงกวนเล็กๆ ปราณีตมาก ฝีมือพี่สาวของอุ่ยค่ะ




มุมกาแฟเย็น โอวัลติน ชาเขียว โกโก้เย็น มากมาย






น้ำพริกนรก




ปลาช่อนแดดเดียวทอด กุนเชียงทอด ปลาส้ม
ฝากให้อุ๋ยซื้อรอไว้เอากลับบ้านกันค่ะ




น่าทาน ชิมแล้วรสเลิศจริงๆ
















 ขอขอบคุณ คุณหมอสิงห์พันธ์ และคุณรำไพพรรณ(อุ๋ย)ทองสวัสดิ์ อีกครั้งนะคะ สำหรับอาหารอร่อยๆ และขอขอบคุณพี่ณี พีไร และพี่อี้ดมาณ.ที่นี้ด้วยนะคะ
คณะเราอิ่มอร่อยและประทับใจกับอาหารของว่าง และน้ำใจที่แสนงาม
ของพี่ๆมากค่ะ ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ขอพรจากพระให้ประทานพรให้ทุกท่านมีแต่ความสุขปราศจากทุกข์
อายุยืนนานนะคะ

ปีนี้ขอลาเพื่อนๆด้วย  "คำสัญญา" ค่ะ



ขอขอบคุณ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย เพลงจากอินเตอร์เนต


Kern - คำสัญญา - อินโดจีน

 


newyorknurse 
Create Date :24 มีนาคม 2558 Last Update :24 มีนาคม 2558 9:28:53 น. Counter : 4509 Pageviews. Comments :18