bloggang.com mainmenu search

เจ้าของคอนโด หากไม่อยู่เอง ก็สามารถ มีคอนโดสำหรับปล่อยเช่าได้ ซึ่งเป็นธุรกิจให้เช่าคอนโดที่ให้กำไรแก่ผู้ให้เช่า มากกว่าปล่อยให้ว่างโดยเปล่าประโยชน์ แต่การที่ให้ผู้อื่นเช่าต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ให้เช่า และผู้เช่า ปัญหาที่พบบ่อยๆ เช่น

ปัญหาผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า หรือจ่ายช้ากว่ากำหนด ผู้เช่าส่งเสียงดัง มั่วสุม จนข้างห้องต้องร้องเรียน ต่อเติม หรือทำให้ห้อง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย ใครต้องรับผิดชอบส่วนไหน ครบกำหนดแล้วผู้เช่าไม่ย้ายออก

ปัญหาที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีปัญหาต่างๆ อีกมากมายดังนั้นการเลือกคนเช่า และการตกลงในสัญญาเช่านั้นสำคัญควรระบุให้ชัดเจนกรณีผู้เช่าทำผิดกฎ จะได้สามารถจัดการได้
เรื่องที่ผู้ให้เช่าควรรู้มีดังต่อไปนี้


1. ควรทำสัญญาเช่าคอนโด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ลงชื่อทั้งสองฝ่าย ควรขอสำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน หรือพาสปอร์ต (ในกรณีคนต่างชาติ) ไว้เป็นหลักฐานด้วย หากเกิดปัญหา จะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีเพื่อความปลอดภัยในอนาคตสำหรับผู้ให้เช่า ถ้าเช่าคนไทยกับต่างชาติ แนะนำควรให้เช่าร่วม ชาวต่างชาติด้วยเผื่อคนไทยไม่มีเงินจ่าย เราจะได้เรียกเงินค่าเช่ากับชาวต่างชาติได้ สำหรับสัญญาขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความให้ดีก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ถ้าปล่อยเช่าเกิน 3 ปี เราต้องจดทะเบียนการเช่ากับกรมที่ดิน ถ้าเกิน 3 ปีเราจะฟ้องร้องไม่ได้ 2. หาคนเช่าคอนโด มีวิธีใหนบ้าง ลงประกาศในในเว็บไซด์ ลงประกาศให้เช่าคอนโดฟรี มีที่ให้ประกาศฟรีมากมาย ข้อดีคือลูกค้าอยู่ที่ใดก็สามารถเปิดดูได้ไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย แนะนำเว็บลงประกาศฟรี ป้ายประกาศเช่าคอนโด ตรงระเบียงคอนโด หรือสถานที่ต่างๆ ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาก็จะสามารถบอกต่อเห็น ติดต่อคุณเพื่อขอดูห้องได้ทันทีจะเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่ในพื้นที่นั้น และเสียค่าใช้จ่าย ติดป้ายตาม ถนน เสาไฟฟ้า หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ อาจจะเหนื่อย เสียเวลาทำป้าย ป้ายอาจมีการดึงออกหรือชำรุดโดนน้ำ โดนฝน ลงประกาศในหนังสือ หรือนิตยสารเกี่ยวกับบ้าน มีทั้งฟรีและเสียเงินจะถึงกลุ่ม ผู้ซื้อกว้างที่สุด บอกเพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน และญาติพี่น้อง การบอกกล่าว โทรศัพท์ หรืออีเมล์ ฝากนายหน้าขาย อาจขายได้เร็วเพราะช่วยโปรโมท และอาจรู้จักผู้ที่ต้องการซื้อบ้านได้ และยังช่วยเจรจาก็ผู้ซื้อ พามาดูบ้านแต่ต้องเสียค่านายหน้าประมาณสามเปอร์เซนต์ ฝากนิติบุคคล ของคอนโดนั้นช่วยหาให้ 3. ทำรายการสิ่งของเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และถ่ายรูปสภาพของในห้องก่องให้เช่าไว้ ส่วนมากให้เช่าพร้อมเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โซฟา ตู้เย็น ไมโครเวฟ หรืออื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับคนเช่า เมื่อผู้เช่าย้ายออกเราจะสามารถตรวจเช็คของได้ว่าครบหรือไม่ กุญแจสำรอง บัตรจอดรถ เพื่อเตือนความจำ สำหรับเช็คของกรณีคนเช่าย้ายออก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของหาย หรือได้ของคืนไม่ครบ ให้ทำเป็นรายการขึ้นมาแล้วแนบท้ายเข้าไปกับตัวสัญญา รวมทั้งถ่ายรูปห้องคอนโดก่อนปล่อยเช่าไว้ให้มากที่สุดเพื่อจะได้มีไว้ตรวจ สอบในภายหลังว่า สภาพก่อนและหลังปล่อยเช่าแล้วแตกต่างกันแค่ไหน
4. ห้องคอนโดเกิดเสียหายใครเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้ให้เช่าต้องเป็นคนจัดการซ่อมแซมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ยกตัวอย่างเช่น ท่อน้ำอุดตันจนใช้ห้องน้ำไม่ได้ หรือแอร์เสียงดังตลอดเวลา ส่วนผู้เช่าก็ต้องรักษาทรัพย์สินที่เช่าเสมือนรักษาทรัพย์สินของตัวเอง และต้องบำรุงรักษา รวมไปถึงซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย เช่น ผู้เช่าทำมุ้งลวดขาดเอง หรือเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืนจนแอร์สกปรกและต้องล่างบ่อย เป็นต้น สามารถระบุไว้ในสัญญาได้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนใดบ้างเพื่อไม่ให้มีปัญหากินภายหลัง
5. เงินประกันการเช่าต้องเพียงพอต่อค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

เงินประกันควรเรียกให้เพียงพอ ดูที่ราคาห้องเช่นห้องมูลค่า 2-3 ล้าน ให้เช่า 30,000ควรเรียก เงินประกัน 2-3 เดือน และให้จ่ายล่วงหน้า 1 เดือน เพื่อประกันความเสียหายเนื่องจากห้องเราราคาหลายล้านควรเรียกให้พอ หากผู้เช่าออกไปโดยไม่แจ้งให้ทราบ ไม่จ่ายค่าเช่า เราสามารถใช้เงินประกันในการซ่อมแซมห้องให้กลับสภาพเดิมได้โดยไม่เข้าเนื้อคนปล่อยเช่า

หากผู้เช่าไม่ทำผิดสัญญาจะได้คือเต็มจำนวนโดยไม่มีดอกเบี้ยให้คนเช่า แต่หากผู้เช่าทำผิดสัญญาข้อไหนข้อหนึ่งผู้ให้เช่าสามารถหัก หรือยึดเงินมัดจำผู้เช่าได้ทันที ฉะนั้น ที่ผู้ให้เช่าควรกำหนดไว้ในสัญญาว่าสามารถหัก หรือยึดเงินประกันสัญญา หรือเงินมัดจำได้ เมื่อคนเช่าทำผิดสัญญาดังนี้ ผู้เช่าคอนโดไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า หรือทำผิดสัญญา ผู้เช่าคอนโดไม่จ่ายเช่าตามระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ยอมจ่ายเบี้ยปรับ ผู้เช่าคอนโดอยู่ไม่ครบตามสัญญาเช่า ผู้เช่าคอนโดเช่าไม่จ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าส่วนกลาง ผู้เช่าคอนโดทำห้องเราเสียหาย หรือสร้างความเดือดร้อนให้บุคคลอื่น เช่น ส่งเสียงดัง ทำความเดือนร้อนแต่ห้องข่างเคียง เป็นต้น
6. หากจ่ายค่าเช่าไม่ตรงต้องจ่ายเบี้ยปรับ

เมื่อถึงกำหนดผู้เช่าไม่จ่ายตามกำหนดต้องเสียค่าปรับเป็นวัน เช่นวันละ 500 บาทเป็นต้น ควรเขียนในสัญญาให้ชัดเจนว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าปรับได้ ถ้าคนเช่าบางคนไม่ยอมจ่ายไปเป็นเวลานาน เช่น 1-3 เดือน ควรเขียนลงไปในสัญญาว่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้


อ่านต่อที่ 11-เรื่องน่ารู้ก่อนให้เช่า-คอนโด-เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

Create Date :13 พฤษภาคม 2556 Last Update :13 พฤษภาคม 2556 19:26:52 น. Counter : 3580 Pageviews. Comments :0