bloggang.com mainmenu search


Intel NUC (อินเทล นุ๊ค) หรือชื่อเต็มๆว่า Next Unit of Computing ถือเป็นคอนเซปต์พีซี ที่อินเทลพยายามคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ต้องการเครื่องขนาดใหญ่ อย่างในสำนักงานขนาดเล็ก หรือตามที่พักอาศัย รวมไปถึงการแปลงตัว NUC ให้ไปติดตั้งตามสถานที่ภายนอกเพื่อเชื่อมต่อกับจอในการแสดงผลโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ได้เช่นเดียวกัน

       สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ NUC คือมีขนาดที่เล็ก ทำให้สามารถนำไปติดตั้ง หรือวางในสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่รกหูรกตา หรือจะเลือกนำไปวางแชวนกับผนังเพื่อประหยัดพื้นที่ก็ได้เช่นเดียวกัน โดยภายในของ NUC จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลให้เลือกตั้งแต่ Intel Celeron (อินเทล เซอเลรอน) ในกรณีที่ไม่ต้องใช้การประมวลผลที่สูงมาก ไปจนถึง อินเทล คอร์ไอ (Intel Core i Series) ให้เลือกใช้

       สำหรับที่ทีมงานไซเบอร์บิส ซึ่ง @doublep ได้มาทดสอบในคราวนี้จะเป็นรุ่นที่ใช้ซีพียู Intel Core i5 รหัส Haswell ซึ่งถือเป็นรุ่นที่สเปกสูงที่สุดในปัจจุบันนี้ของ NUC ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมค่อนข้างสูงและเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปแทบทั้งหมด

การออกแบบ



       ในแง่ของการออกแบบ ด้วยการที่คอนเซปต์ของพีซีในตระกูลนี้คือ พีซี ที่มีขนาดเล็กประหยัดพื้นที่ ทำให้อินเทลได้มีการออกแบบเมนบอร์ด รวมถึงปรับผังของบอร์ดให้มีขนาดเล็กลง โดยยังคงพัดลมระบายอากาศอยู่ภายใน พร้อมกับช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆแบบครบครัน ส่งผลให้ขนาดของ NUC จะอยู่ที่ 4 x 4 นิ้ว



       โดยด้านบนของเครื่องจะใช้สีดำ ที่มีผิวแบบมันสะท้อนแสง โดยมีการซ่อนปุ่มเปิดเครื่องไว้ด้วย ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานเครื่องปุ่มดังกล่าวก็จะมีไฟติดแสดงสถานะการใช้งานเครื่องให้เห็น



       ขณะที่พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือด้านหน้า ที่จะมีพอร์ต USB 3.0 2 พอร์ต และช่องเสียบหูฟัง และไมโครโฟน ที่มีตัวรับสัญญาณอินฟาเรดอยู่ข้างๆด้วย



       ส่วนด้านหลัง จะมีพอร์ต USB 3.0 อีก 2 พอร์ต ช่องเสียบสายแลน พอร์ต MicroHDMI และ Mini Display สำหรับเชื่อมต่อกับจอภาพ และช่องเสียบอะแดปเตอร์ไฟ ส่วนที่เห็นเป็นช่องๆด้านบนคือรูระบายอากาศ




ด้านขวา จะมีช่องล็อกเครื่อง kensington lock ด้านล่าง จะบุเหมือนแผ่นบางเพื่อช่วยให้ยึดติดกับพื้นผิวที่วางไว้ หรือจะเลือกเชื่อมต่อกับฐานที่แถมมาเพื่อใช้แขวนกับฝาหนังก็ได้เช่นเดียวกัน

สเปกภายใน และทดสอบประสิทธิภาพ



ที่นี้มาดูกันที่สเปกของ NUC จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel ​Core i5 4520 ภายใต้รหัส Haswell ULT ที่ใช้พลังงานค่อนข้างต่ำ โดยความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะอยู่ที่ 1.3 GHz แต่ในกรณีที่มีการใช้งานหนักๆ ระบบ Turbo boots จะเร่งความเร็วขึ้นไปถึง 2.3 GHz แต่ถ้าเปิดสแตนบายเครื่องความเร็วจะปรับลงมาอยู่ที่ราว 800 MHz

       ส่วนตัว L1 D Cache และ L1 I Cache จะอยู่ที่ 32 KB x 2 ส่วน L2 อยู่ที่ 256 x 2 KB และ L3 อยู่ที่ 3 MB RAM ที่ให้มาจะเป็น DDR 3 4GB



       ตัวการ์ดจอก็จะเป็น Intel HD 5000 ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Core i ในตระกูล Haswell ซึ่งสามารถประมวลผลภาพได้ดีอยู่แล้ว รองรับการทำงานมัลติมีเดียแทบทั้งหมด



       ขณะนี้หน่วยเก็บข้อมูลภายในตัวเครื่องที่ให้มาจะอยู่ที่ 32 GB ซึ่งแน่นอนว่าเป็น SSD เผื่อไว้ลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ส่วนถ้าต้องการลงโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถเชื่อมต่อกับ External HD เพื่อให้ใช้งานได้คล่องตัวขึ้น เพราะมีพอร์ต USB 3.0 รองรับการส่งถ่ายข้อมูลที่ให้ความเร็วสูงอยู่แล้ว




       เริ่มกันที่การทดสอบประสิทธิภาพจากตัววินโดวส์ ให้คะแนน NUC อยู่ที่ 4.9 คะแนน โดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ใช้จะเป็น 7 Ulimate 64 bit



       PCMark Vantage จะได้คะแนนรวมอยู่ที่ 12,163 คะแนน



       3DMark05 อยู่ที่ 7,222 คะแนน



       3DMark06 อยู่ที่ 4,466 คะแนน



       3DMark Vantage ได้ P3579



       CINEBENCH 11.5 ได้ Open GL อยู่ที่ 11.87 fps และ CPU อยู่ที่ 2.50 pts



       ลองนำมาถอดรหัสไฟล์นามสกุล x264 ได้ผลตามภาพด้านบน



       โดยรวมแล้วสำหรับการใช้งานทั่วไป ต้องยอมรับ NUC สามารถใช้งานแทนพีซีตั้งโต๊ะเครื่องใหญ่ๆได้ทันทีอยู่แล้ว เพียงแต่ก็จะขาดความสะดวกในแง่ของพื้นที่เก็บข้อมูล ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อกับ External HD หรือกรณีที่ไม่ได้วางอยู่ในเราเตอร์ ก็ต้องเสียบพอร์ตยูเอสบี อีก 1 ช่อง ไปใช้กับการเสียบตัวรับสัญญาณไวเลส

       ดังนั้นในการใช้งานพอร์ต USB ทั้ง 4 ช่อง ก็แทบจะใช้ทั้งหมด เพราะถ้าต้องต่อกับคีย์บอร์ด และเมาส์ ด้วย ก็จะใช้พอร์ตยูเอสบีอีก 2 ช่อง ดังนั้นก็ครบทั้ง 4 ช่องพอดี แต่โดยทั่วไปก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งาน ไม่เช่นนั้นก็หา USB Hub มาต่อเพิ่มเอา

จุดขาย

       - เครื่องคอมพ์ขนาดจิ๋ว ประสิทธิภาพสูง
       - รองรับการแสดงผล Full HD สบายๆ
       - ใช้เชื่อมต่อกับจอภาพทั้งในและนอกสถานที่ได้

ข้อสังเกต/ตอบจุดขายหรือไม่

       - ขาดการเชื่อมต่อไวเลส
       - ยังไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ต้องติดต่อโดยตรงกับทางอินเทล

ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป

       ในมุมของผู้บริโภคทั่วไป ถ้าต้องการอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนกับพวก Apple TV หรือ แอนดรอยด์ บ็อกซ์ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า Intel NUC น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจหามาใช้งาน เพราะจากประสิทธิภาพและความสามารถ เมื่อนำมาเชือมต่อกับจอแอลซีดีขนาดใหญ่เพื่อใช้งาน ก็จะมีความคล่องตัวกว่า ทั้งในแง่ของระบบมัลติมีเดีย การท่องเว็บไซต์ รวมไปถึงการใช้งานพีซีทั่วไปได้ทันที เหมาะสำหรับเอาไว้ในห้องนั่งเล่น เชื่อมต่อกับเมาส์ และคีย์บอร์ดไร้สาย เพื่อให้กลายเป็นห้องนั่งเล่นยุคใหม่ได้ง่ายๆ

       ส่วนในมุมของผู้ประกอบการ SMEs NUC ก็น่าจะเข้ามาตอบโจทย์ ในกรณีที่สำนักงานมีขนาดเล็ก และจำเป็นต้องประหยัดพื้นที่ในการวางคอมพ์เพื่อใช้งาน แต่ทั้งนี้ด้วยคอนเซปต์ของอินเทลที่คิดค้น NUC ขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าองค์กรเอาไปต่อยอดใช้งานในอุตสาหกรรม ดังนั้นท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิดที่จะนำคอมพ์จิ๋วเครื่องนี้ไปใช้งานซะมากกว่า

Company Related Links :
Intel

//manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000155340
Create Date :23 ธันวาคม 2556 Last Update :23 ธันวาคม 2556 20:50:37 น. Counter : 3332 Pageviews. Comments :0