bloggang.com mainmenu search
พระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง

ดอยตุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นของเชียงราย อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอแม่ สาย แต่เดิมเป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร จนกระทั่งสมเด็จย่าได้เสด็จมายังดอยตุงและทรงมีพระราชดำรัสว่า "ฉันจะปลูกป่าดอยตุง" หลังจากนั้นในปี 2530 รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นโดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์กลับ คืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนนดอยตุงแล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่งๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อ นั่งรถไปตามเส้นทางขึ้นดอยตุงจะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัดนั่นล้วนเป็นป่าปลูก ทั้งสิ้น หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้างพระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลายๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น

จากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของ เชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวดอยตุงเป็นจำนวนมาก แหล่งท่องเที่ยวบนดอยตุงที่นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมได้แก่ สวนแม่ฟ้าหลวง พระตำหนักดอยตุง พระธาตุดอยตุง สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงดอยช้างมูบ

ไร่แม่ฟ้าหลวง หรือสวนดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวบนพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ในแอ่งที่ราบด้านทิศเหนือของพระตำหนัก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี กลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว งานประติมากรรมนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า " ความต่อเนื่อง " นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่ม จุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่างๆ ที่มีดอกสวยงามมาก

วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

ประวัติพระธาตุดอยตุง

ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุlส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูก ไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

รูปแบบสถาปัตยกรรม

พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ
เมือง เชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้

ความหมายของตุง

ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3

หลุมตุงตามความเชื่อ

รื้อพระธาตุองค์ปัจจุบัน

ปัจจุบัน กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์ปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง เนื่องจากพระธาตุองค์ปัจจุบัน 2 องค์ที่ตั้งอยู่เวลานี้ เป็นของใหม่ ได้มีการบูรณะเมื่อสามสิบปีเศษที่แล้ว ออกแบบโดยนายช่างสถาปนิกกรุงเทพฯ และเข้าใจว่าพระสถูปเดิมสมัยครูบาได้บูรณะไว้เมื่อแปดสิบปีที่แล้ว อาจถูกทับคล่อมอยู่ภายในองค์ปัจจุบัน ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปเดิมที่ถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง อยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ ครูบาศรีวิชัย ให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม 2550 โดยมีงบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท รวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิเช่น ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจาย พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในรูปปางต่างๆ นำไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชน ซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี

ไหว้สาครูบาศรีวิชัยและสมเด็จย่า

Create Date :11 พฤศจิกายน 2554 Last Update :11 พฤศจิกายน 2554 19:59:50 น. Counter : Pageviews. Comments :0