bloggang.com mainmenu search
ดินแดนใต้ปลายด้ามขวาน ... หลากสีสันหลายวัฒนธรรม


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลอันงดงาม อีกทั้งยังมีอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวใต้ยังโดดเด่นมีเอกลักษณ์และเปี่ยมเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในแต่ละปีภาคใต้จัดเป็นอีกภาคที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติมาเที่ยวชมมากมาย

เอาล่ะค่ะ...วันนี้กระปุกดอทคอมก็จะนำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าสนใจของภาคใต้มาให้เพื่อน ๆ ทราบกันค่ะ

สำหรับจังหวัดในภาคใต้ จากการแบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้

1. กระบี่
2. ชุมพร
3. ตรัง
4. นครศรีธรรมราช
5. นราธิวาส
6. ปัตตานี
7. พังงา
8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สตูล
14. สุราษฎร์ธานี

เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้


          ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ

จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน

          นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป





เพลงพื้นเมืองภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ

ดินแดนใต้ปลายด้ามขวาน ... หลากสีสันหลายวัฒนธรรม


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลอันงดงาม อีกทั้งยังมีอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวใต้ยังโดดเด่นมีเอกลักษณ์และเปี่ยมเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในแต่ละปีภาคใต้จัดเป็นอีกภาคที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติมาเที่ยวชมมากมาย

เอาล่ะค่ะ...วันนี้กระปุกดอทคอมก็จะนำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าสนใจของภาคใต้มาให้เพื่อน ๆ ทราบกันค่ะ

สำหรับจังหวัดในภาคใต้ จากการแบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้

1. กระบี่
2. ชุมพร
3. ตรัง
4. นครศรีธรรมราช
5. นราธิวาส
6. ปัตตานี
7. พังงา
8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สตูล
14. สุราษฎร์ธานี

เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้


          ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ

จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน

          นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป





เพลงพื้นเมืองภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
blog.eduzones, truepanya.muslimthaipost.com, www.culture.go.th, www.trueplookpanya.com, thaidance.wordpress.com, www.thaigoodview.com, lms.thaicyberu.go.th, www.sara108.com, www.itikkecil.com

Create Date :30 กันยายน 2555 Last Update :30 กันยายน 2555 21:11:07 น. Counter : 2581 Pageviews. Comments :1