bloggang.com mainmenu search
น้ำท่วม

ดร.เสรี ชี้ สถานการณ์น้ำท่วมปีนี้ ไม่รุนแรง แต่ต้องระวัง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก foto76 / Shutterstock.com

นักวิชาการ ชี้ น้ำท่วมขังรอบกรุง แก้ได้ยาก เพราะต้องเปลี่ยนท่อระบายน้ำใหม่หมด ซึ่งใช้งบประมาณและเวลาสูง จี้ หลายฝ่ายอย่าชะล่าใจน้ำไม่ท่วมกรุง เพราะพายุอาจจะกระหน่ำช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน

           วันนี้ (24 กันยายน) นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่า มีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ

1. ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าอัตราระบายน้ำทันที กล่าวคือ โดยปกติการระบายน้ำได้ทันทีจะอยู่ที่ 60 มิลลิเมตร ถ้าหากฝนตกมากกว่า 60 มิลลิเมตร การระบายน้ำก็จะทำได้ช้าลง

2. ภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ กล่าวคือ ในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ อาทิ พื้นที่จรัญสนิทวงศ์ รามคำแหง ดินแดง เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหรือแอ่งกระทะ ทำให้น้ำไหลจากพื้นที่อื่นจากที่สูงกว่ามารวมกันที่นี่ ทำให้การระบายน้ำจะทำให้ช้าลงกว่าเดิม

ส่วนวิธีการแก้ปัญหาน้ำท่วมบนพื้นที่แอ่งกระทะ นายสัญญา ระบุว่า ต้องใช้เครื่องสูบน้ำช่วย แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือการเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำใหม่ ให้มากกว่า 60 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นไปได้ยาก เพราะต้องวางระบบท่อใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้ในช่วงก่อสร้างอาจจะทำให้การจราจรติดขัดยิ่งกว่าเดิม อีกทั้งต้องใช้งบประมาณหลายหมื่นล้านบาทด้วย อย่างไรก็ตาม ถนนเส้นใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ทาง กทม. ได้ปรับขนาดท่อระบายน้ำให้ระบายน้ำได้ 80 - 100 มิลลิเมตรแล้ว

           ทั้งนี้ เมื่อได้ตรวจพื้นที่รอบกรุงเทพฯ พบว่ามี 35 จุดด้วยกันที่เป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังนาน ได้แก่

เขตดุสิต

1. ลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านฝั่งอัมพร

2. ถนนราชวิถี ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

3. ถนนสามเสน ช่วงหน้าโรงเรียนโยธินบูรณะ

4. ถนนนครไชยศรี ช่วงหน้ากรมสรรพสามิต


เขตราชเทวี

5. ถนนนิคมมักกะสัน ช่วงทางรถไฟ ถึง ถนนวิทยุ

6. ถนนเพชรบุรี ช่วงถนนชิดลมถึงถนนวิทยุ

7. ถนนพญาไท ช่วงหน้ากรมปศุสัตว์

8. ถนนพระรามที่ 6 ช่วงหน้าตลาดประแจจีน

9. ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จากแยกมิตรสัมพันธ์ถึงแยกอโศก

10. ถนนศรีอยุธยา ช่วงหน้า สน.พญาไท


เขตพญาไท

11. ถนนประดิพัทธ์ ช่วงจากแยกสะพานควาย ถึง คลองประปา


เขตจตุจักร

12. ถนนรัชดาภิเษก ช่วงหน้าธนาคารกรุงเทพ

13. ถนนพหลโยธินแยกเกษตร ช่วงหน้าตลาดอมรพันธ์

14. ถนนงามวงศ์วานแยกเกษตร ช่วงหน้าตลาดอมรพันธ์



เขตบางซื่อ

15. ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ช่วงแยกเตาปูน (ผลกระทบจากงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง)


เขตหลักสี่

16. ถนนแจ้งวัฒนะ จากคลองประปา ถึงซอยแจ้งวัฒนะ 14

17. ถนนงามวงศ์วาน ช่วงหน้าตลาดพงษ์เพชร


เขตสายไหม

18. ถนนพหลโยธิน ช่วงจากปากซอยพหลโยธิน 58 ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร


เขตพระนคร

19. ถนนสนามไชยจากซอยเศรษฐการ ถึง ถนนท้ายวัง (อยู่ในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน)


เขตสัมพันธวงศ์

20. ถนนเจริญกรุง (แยกหมอมี) จากถนนแปลงนาม ถึง แยกหมอมี

21. ถนนสุรวงศ์จากใต้ทางด่วน ถึงแยกสุรวงศ์


เขตสาทร


22. ถนนจันทน์จากซอยบำเพ็ญกุศล ถึง ไปรษณีย์ยานนาวา

23. ถนนสวนพลูจากสาทรใต้ ถึง ถนนนางลิ้นจี่


เขตยานนาวา

24. ถนนสาธุประดิษฐ์จากถนนจันทน์ ถึง ถนนรัชดาภิเษก


เขตคลองเตย

25. ถนนพระรามที่ 3 จากห้าแยก ณ ระนอง ถึงถนนเชื้อเพลิง

26. ถนนพระรามที่  4 จากถนนกล้วยน้ำไท ถึงถนนสุขุมวิท


เขตวัฒนา

27. ถนนสุขุมวิท 71 จากถนนสุขุมวิท ถึงคลองบางมะเขือ

28. ถนนสุขุมวิท 26 จากถนนสุขุมวิท ถึง ถนนพระรามที่ 4


เขตบางบอน

30. ถนนบางบอน 1 จากถนนเอกชัย ถึง คลองบางโคลัด

31. ถนนเอกชัย จากหน้าห้างบิ๊กซีถึงถนนกาญจนาภิเษก


เขตบางบอน, เขตบางขุนเทียน

32. ถนนบางขุนเทียน จากถนนเอกชัย ถึงพระราม 2


เขตทุ่งครุ

33. ถนนประชาอุทิศ จากคลองรางจาก ถึงหน้าสำนักงานทุ่งครุ


เขตบางแค


34. ถนนเพชรเกษม จากแยกพุทธมณฑลสาย 2 ถึง ปากซอยเพชรเกษม 63


เขตตลิ่งชัน

35. ถนนฉิมพลี จากถนนบรมราชชนนี ถึง ถนนราชชนนี



          ขณะที่ ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิชาการจากหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า อยากให้หลายฝ่ายอย่าเพิ่งมั่นใจว่าปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ แม้ว่าสถานการณ์น้ำเหนือไม่น่าเป็นห่วงก็ตาม เพราะตอนนี้สิ่งที่อันตรายกว่าน้ำเหนือคือ มีร่องมรสุมจากจีนที่พาดภาคกลางของประเทศไทยยาวนานผิดปกติ ดังนั้นมีโอกาสสูงที่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ ฝนจะตกหนัก และอาจจะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ เหมือน พ.ศ. 2538 และ 2549 ก็เป็นได้

  ศ.ธนวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังน้ำท่วม ควรจับตาดูสถานการณ์น้ำ 3 อย่างด้วยกัน คือ น้ำเหนือ น้ำฝน และน้ำทะเลหนุน เอาไว้ให้ดี สำหรับวิธีป้องกันน้ำท่วม ควรจะพร่องน้ำในคูคลองไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือกับน้ำฝน อย่าไปลอกคลองหรือเปลี่ยนระบบท่อระบายน้ำ เพราะใช้เวลานาน และวันที่ 29 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม จะเป็นบทพิสูจน์ว่า กทม. ควรใช้วิธีใดในการรับมือน้ำท่วมปีนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนจะตกหนักอีกครั้ง



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
Create Date :24 กันยายน 2555 Last Update :24 กันยายน 2555 21:25:24 น. Counter : 1679 Pageviews. Comments :0