bloggang.com mainmenu search
สะพานไม้บวบ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนสะพานมอญที่ชำรุด (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)        หลังจาก “สะพานมอญ” หรือ “สะพานอุตตมานุสรณ์” อันเป็นสัญลักษณ์ของ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถูกน้ำป่าและน้ำฝนพัดพาเอาตอไม้ สวะ และแพ มาปะทะกับตอม่อ จนทำให้ช่วงกลางของสะพานพังลงมาเป็นระยะทางกว่า 50 เมตร เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา

       ซึ่งสำหรับการซ่อมแซมสะพานมอญนี้ นายชาธิป รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า การซ่อมแซมสะพานนั้นจะต้องรอใช้หมดช่วงฤดูฝนก่อน อาจจะอยู่ในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างปลอดภัย และง่ายต่อการซ่อมแซม

ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสะพานชั่วคราว (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)        ขณะนี้ บริเวณสะพานมอญได้มีการสร้างสะพานไม้บวบ ซึ่งเป็นสะพานชั่วคราวเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้สัญจรแทนสะพานมอญที่ชำรุด โดยทหารจากกองกำลังสุรสีห์ และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่อาศัยอยู่ทางฝั่งมอญของ อ.สังขละบุรี ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานไม้บวบยาวกว่า 300 เมตร มีความกว้าง 6 เมตร ด้วยระยะเวลาในการสร้างเพียง 6 วัน จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์

       สำหรับจุดกลางสะพานมอญที่ยังขาดอยู่ และใช้เป็นเส้นทางสัญจรของเรือ ชาวบ้านใช้วิธียกสะพานขึ้นสูงเหนือน้ำประมาณ 2 เมตร โดยไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างนั้น ได้มาจากการบริจาคของประชาชน ซึ่งพระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ได้ริเริ่มโครงการหนึ่งคนหนึ่งลำไม้ไผ่ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันบริจาคไม้ไผ่จนเพียงพอต่อการใช้งาน

สะพานไม้บวบภายหลังจากมีฝนถล่มหนักอีกรอบ (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)        ทั้งนี้ สะพานไม้บวบที่สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้เดินทางสัญจรแทนสะพานมอญที่ชำรุดไป ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับได้มาก แต่ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงของสะพานไม้บวบจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงจะอนุญาตให้มีการใช้สะพานสัญจรได้

       ล่าสุด (23 ส.ค. 56) ผู้ใช้เฟสบุคนาม Wa Sukkharin ได้โพสต์ภาพสะพานไม้บวบที่สร้างขึ้นใหม่ และบรรยายว่า “จากฝนที่ถล่มหนักติดต่อกันสองสามวัน เมื่อคืนนี้แม่น้ำซองกาเลียจากผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรก็ถล่มมาอีกรอบ ถึงไม่หนักเท่าครั้งแรก ก็สร้างปัญหาให้กับสะพานใหม่เป็นอย่างมาก เพราะตอนสร้างเราคิดตามวิธีคิดแบบโบราณคือ ไม่น่าจะมีฝนหนักอีก แต่แล้วผิดคาด อาจต้องแก้ไขสะพานไม้ไผ่ใหม่ ไห้สามารถถอดออกลากหนีน้ำป่าได้ในกรณีฉุกเฉินแบบนี้ ไม่ไผ่ประโยชน์มหาศาล แต่ก็โทษมหาการ เมื่อมันไหลมารวมกันมากๆ เข้า ก็เป็นเขื่อนกั้นได้เป็นอย่างดี”

//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000105232
Create Date :24 สิงหาคม 2556 Last Update :24 สิงหาคม 2556 22:23:26 น. Counter : 1397 Pageviews. Comments :1