bloggang.com mainmenu search
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัม เกล วังชุก





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck

สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมว่า สมเด็จ พระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์แห่งภูฏาน พระชนมายุ 31 พรรษา ทรงประกาศหมั้นหญิงสามัญชน และจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคมนี้

รายงานระบุว่า ข่าวดีดังกล่าวถูกเปิดเผยขึ้นโดย ดาโซ คินลีย์ ดอร์จี เลขานุการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งภูฏาน โดยเธอได้เล่าว่า เจ้าชายจิกมี่ ทรงเปิดเผยข่าวดีนี้ ในช่วงเปิดการประชุมสภาว่า พระองค์ทรงหมั้นและกำลังจะมีพิธีอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคมนี้ โดยหญิงสาวผู้โชคดีที่กำลังจะเป็นพระมเหสีของเจ้าชายจิกมี่ เป็นหญิงสาวสามัญชน นามว่า เจตซัน เปมา ชาวภูฎาน วัย 21 ปี ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ด

ซึ่งพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ดังกล่าวมีดังนี้ "ข้าพเจ้า คิดมานานแล้ว และตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องแต่งงาน เหล่าพสกนิกรของข้าพเจ้าคาดหวังไว้ว่าผู้ที่จะมาเป็นราชินีในอนาคตของพวกเขา จะต้องสวยสง่า เพรียบพร้อมสมบูรณ์แบบ มีการศึกษาที่ดี ซึ่ง เจตซัน เปมา คนรักของข้าพเจ้านั้น เป็นผู้หญิงที่มีหัวใจที่งดงาม จิตใจดี และพร้อมที่จะสนับสนุนข้าพเจ้าในทุก ๆ เรื่อง และเป็นคนที่ข้าพเจ้าไว้วางใจมาก ข้าพเจ้าไม่อาจทราบได้ว่าเหล่าพสกนิกรจะพูดถึงเธอว่าอย่างไรกันบ้าง แต่ข้าพเจ้าบอกได้เพียงว่า เจตซัน เปมา มีคุณสมบัติที่เพรียบพร้อมเท่าที่สตรีคนหนึ่งพึงมี"

สำหรับ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรง เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยในขณะนั้น พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น พระองค์ก็ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระ จริยวัตรที่งดงาม และทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ


Create Date :20 พฤษภาคม 2554 Last Update :20 พฤษภาคม 2554 18:37:56 น. Counter : Pageviews. Comments :1