bloggang.com mainmenu search
สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน งานประเพณีปอยส่างลอง        ถ้าพูดถึง “แม่ฮ่องสอน” เมืองที่อยู่ท่ามกลางขุน สิ่งที่ทุกคนต้องนึกถึงก็คือภูเขาน้อยใหญ่ที่โอบล้อมเมืองเล็กๆ แห่งนี้เอาไว้ ไม่เพียงแต่ธรรมชาติที่โอบล้อมสถานที่แห่งนี้ไว้เท่านั้น วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นี่ ก็ดูอบอุ่น มีเอกลักษณ์ไม่แพ้สถานที่ใดเช่นกัน

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองแต่งแต้มสีสันบนใบหน้า        และในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีการจัดงานเทศกาล “ประเพณีปอยส่างลอง” ขึ้น ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ ในช่วงเทศกาลนี้เองพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนานเป็นอย่างมาก โดยในปีนี้เราได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ประเพณีปอยส่างลอง” ที่วัดจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ในช่วงวันที่ 1 - 4 เมษายน ที่ผ่านมา จากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ทำให้เราได้สัมผัสถึงประเพณีที่ดีงามของชาวไทใหญ่ รวมถึงความร่วมมือของคนในชุมชน ซึ่งเราได้เก็บบรรยากาศภายในงานมาให้มิตรรักนักอ่านได้ชื่นชมกันด้วย แต่จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญทัศนากันได้

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองขึ้นขี่คอตะแป        สำหรับประเพณี “ปอยส่างลอง” เป็นการบวชเณรของชาวไทใหญ่ คำว่าปอยส่างลองเป็นภาษาไทใหญ่ โดย “ปอย” หมายถึง งาน “ส่าง” เพี้ยนมาจาก สางหรือขุนสาง หมายถึง พระพรหม หรืออีกความหมายหนึ่งมาจากคำว่าเจ้าส่าง ซึ่งหมายถึงสามเณร ส่วนคำว่า “ลอง” มาจาก “อลอง” หมายถึง หน่อกษัตริย์ หรือราชบุตร

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ขั้นตอนการแต่งหน้าส่างลอง

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองแต่งองค์เต็มยศ        โดยรวมแล้วปอยส่างลองหมายถึงการบวชเณรโดยเลียนแบบพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช ดังนั้นการกระทำทุกอย่างในช่วงที่เป็นส่างลองก็จะเสมือนว่าเป็นการปฏิบัติต่อกษัตริย์ ตั้งแต่การแต่งกายที่แต่งตามแบบกษัตริย์พม่าโบราณ นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อมีชายเชิงงอนปักดิ้นไหม ประดับด้วยเพชรนิลจินดาทั้งสร้อย กำไล และแหวน ศีรษะสวมชฎายอดแหลมหรือโพกด้วยผ้าแพรและประดับด้วยดอกไม้ จะไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องเดินเอง เพราะจะมี “ตะแปส่างลอง” หรือ “ตะแป” เป็นพี่เลี้ยงส่วนตัวคอยดูแลให้ส่างลองขี่คอไม่ยอมให้เท้าแตะดิน มีคนคอยกางร่ม หรือ “ทีคำ” หรือร่มทองคำกางกันแดดให้ ทั้งนี้คงเป็นกุศโลบายเพื่อไม่ให้ส่างลองซึ่งยังเป็นเด็กน้อยซุกซนจนได้รับอันตรายก่อนที่จะได้บวช

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน สนุกสนานไปบนคอตะแป        โดยชาวไทใหญ่เชื่อกันว่าการบวชส่างลองนั้นมีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่กว่าการบวชพระ เพราะเด็กที่บวชนั้นมีจิตใจที่บริสุทธิ์ และการบวชส่างลองถือเป็นการสนับสนุนบุตรหลานได้บรรพชาในพุทธศาสนา พ่อแม่จึงยอมเสียสละสิ่งของเงินทองเพื่อสนับสนุนให้บุตรหลานพบกับอริยทรัพย์ในพุทธศาสนา

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ภายในขบวนแห่ครัวหลู่

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ตั้งขบวนแห่เตรียมพร้อมแห่ครัวหลู่        สำหรับงานประเพณีปอยส่างลองที่อำเภอแม่ฮ่องสอนในครั้งนี้ มีส่างลองมาร่วมบวช 43 องค์ ซึ่งเราได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน ทำให้สัมผัสได้ถึงความรักและความชื่นใจของพ่อแม่และญาติพี่น้องของส่างลอง ผ่านทางการบรรจงตกแต่งใบหน้า เขียนคิ้วเขียนตา แต่งแต้มสีสันบนแก้มและปาก และช่วยกันแต่งตัวให้ส่างลองด้วยเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ ด้วยความตั้งใจ จนเด็กชายกลายเป็นกษัตริย์ตัวน้อยเตรียมบวชให้พ่อแม่เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านออกลีลาหน้าขบวนแห่        แต่ก่อนที่ส่างลองจะได้บรรพชาเป็นสามเณรนั้น จะต้องมีพิธีต่างๆ เพื่อเตรียมตัวก่อนบวช 3 วันด้วยกัน โดยในวันแรกถือเป็น “วันรับส่างลอง” จะมีพิธีการอาบน้ำเงิน อาบน้ำทอง แต่งหน้าแต่งตัวกันตั้งแต่เช้ามืด ก่อนที่ส่างลองทั้งหมดจะขึ้นขี่คอตะแปแห่ไปยังวัดเพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบคารวะขอขมาลาโทษศาลเจ้าเมือง รวมถึงต้องไปนมัสการพระผู้ใหญ่ในเมือง อีกทั้งในวันนี้ ส่างลองยังจะได้ไปเยี่ยมเยือนบ้านญาติเพื่อขอขมาลาโทษ ส่วนบ้านใดที่ส่างลองมาเยี่ยมก็จะถือว่าเป็นโชคเป็นบุญ จึงมีการเลี้ยงต้อนรับด้วยอาหารเครื่องดื่ม รวมทั้งมีการผูกข้อมือสู่ขวัญส่างลอง

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน เครื่องดนตรีบรรเลงเพลงคึกครื้น

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองจะมีการแต่งหน้าอย่างสวยงาม        ในวันที่สอง คือ “วันข่ามแขก” หรือวันรับแขก ซึ่งในวันนี้จะมีพิธีสำคัญคือพิธีการแห่ครัวหลู่ หรือการแห่เครื่องไทยธรรมและอัฐบริขารต่างๆ โดยญาติพี่น้องและผู้ที่มีศรัทธาจะมาร่วมกันถือร่วมกันหามเครื่องไทยธรรมเดินนำหน้าขบวนส่างลอง จากนั้นก็จะเป็นขบวนของส่างลอง เมื่อเข้าขบวนได้บรรดาตะแปต่างก็เดินโยกย้ายไปตามจังหวะดนตรีของกลองและฆ้องที่บรรเลงอย่างคึกคัก ส่างลองบางคนสนุกสนานยิ้มร่าเต้นตามจังหวะอยู่บนคอตะแป แต่บางคนก็หน้านิ่วคิ้วขมวดด้วยความจุกเมื่อตะแปเขย่าตัวแรงเกินไป นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่สนุกสนานสุดๆ

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน หนึ่งในพิธีก่อนการเลี้ยงอาหารส่างลอง        หลังจากขบวนแห่เสร็จ ในตอนเย็นจะมีการทำพิธี และเลี้ยงอาหารส่างลองด้วยกับข้าว 12 อย่าง โดยพ่อแม่จะต้องป้อนข้าวและกับทั้ง 12 อย่างให้ครบ โดยเริ่มจากผู้เป็นแม่ก่อน จากนั้นจึงจะเป็นพ่อ เมื่อทั้งพ่อและแม่ป้อนเสร็จแล้ว จากนั้นจึงให้ส่างลองกินข้าวเองจนอิ่ม

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองเข้าร่วมพิธีในวัด        ส่วนพิธีในวันสุดท้ายซึ่งเป็นพิธีอันสำคัญก็คือการ "บรรพชาเป็นสามเณร" บรรดาส่างลองจะเปล่งวาจาขอบรรพชากับพระอุปัชฌาย์ ก่อนจะเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มจากชุดกษัตริย์มาเป็นจีวร สร้างความปลื้มปิติให้แก่พ่อแม่ และผู้ที่เข้ามาร่วมงานได้อิ่มบุญกันอย่างถ้วนหน้า

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ผูกข้อมือสู่ขวัญส่างลอง

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน ส่างลองต่างสนุกสนาน        ถึงแม้ว่าการบวชส่างลองจะเป็นพิธีที่ให้อานิสงค์มาก แต่ค่าใช้จ่ายในการบวชปอยส่างลองนั้นก็ไม่ใช่น้อยๆ ทำให้ครอบครัวคนยากจนที่มีลูกชาย แม้อยากบวชก็ไม่สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกัน ครอบครัวฐานะดีแต่ไม่มีลูกชายให้บวชก็มีเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จึงเกิดมี “พ่อข่าม” “แม่ข่าม” หรือผู้ที่รับเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์ในการบวชให้แก่เด็กชายที่ไม่มีทุนทรัพย์แต่ต้องการบวชส่างลอง เรียกง่ายๆ ว่า ฝ่ายหนึ่งได้บวช ฝ่ายหนึ่งได้บุญ แฮปปี้กันทั้งสองฝ่าย

สืบสานงานประเพณี “ปอยส่างลอง” บวชเณรชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน พระอุปัชฌาย์ช่วยเณรน้อยห่มจีวร        เรียกได้ว่าประเพณี “ปอยส่างลอง” เป็นอีกหนึ่งงานประเพณีที่ไม่ได้หาชมกันได้ง่ายๆ เพราะใน 1 ปี จะมีการบวชเพียงแค่หนึ่งครั้ง แล้วการมาร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากจะได้สนุกสนานไปกับงานแล้ว ยังได้บุญแบบเต็มกระเป๋ากลับบ้านไปอีกด้วย

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
Create Date :07 เมษายน 2558 Last Update :7 เมษายน 2558 22:59:57 น. Counter : 1866 Pageviews. Comments :1