bloggang.com mainmenu search

“กูเกิลมีเป้าหมายจะเป็นผู้จัดการระบบข้อมูลออนไลน์ทุกอย่างในโลกนี้” คือปนิธานที่ แลรี่ เพจ (Larry E. Page) หนึ่งในผู้ก่อตั้งเซิทเอนจิ้นอันดับหนึ่งของโลก อย่างกูเกิ้ลประกาศไว้ต่อสาธารณชน ณ ตอนนี้ คุณปฎิเสธได้ไหม ว่าไม่ได้พิมพ์คีย์เวิร์ดใดๆ ลงช่องเซิทเอนจิ้นดังกล่าวเลยในแต่ละวัน!!

อีกไม่นานนัก โลกจะได้ทำความรู้จักกับโปรดักส์ในเครือกูเกิ้ลตัวใหม่ นาม Google Chrome OS โปรเจ็กส์ยักษ์แนวคิดใหม่ที่แสนจะสุดโต่ง โน้ตบุ๊คเว็บ???? ที่ตอนนี้ท้องแก่ใกล้คลอดเต็มที เราอาจได้เห็นแถลงเปิดตัวโปรดักส์ที่ว่าครั้งแรก หลังจากเพจกลับมานั่งแท่นซีอีโอกูเกิ้ลอีกครั้ง เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาด้วยวัยสามสิบเศษๆ




สำหรับ Chrome OS นั้น เป็นระบบปฎิบัติการณ์โอเพ่นซอร์สในโน๊ตบุ๊ครวมถึงเน็ตบุ๊ค ที่สร้างขึ้น กับแนวคิดที่ว่า “90% ของผู้ที่ซื้อโน๊ตบุ๊ค นำมาท่องอินเตอร์เนต ฉะนั้นอย่างอื่นจึงไม่จำเป็น” !!!! ระบบปฎิบัติการที่ว่านี้ พัฒนาจาก Linux เช่นเดียวกับแอนดรอย์โอเอสในมือถือ ประมวลผลบน “Cloud Computing” (เทคโนโลยีประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) และมีที่มาต่อยอดจาก chrome browser กับคอนเซ็ปต์เดียวกัน รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องลงอะไรเพิ่มมากมาย

ซึ่งจะทำงานในรูปแบบออนไลน์ ลักษณะเดียวกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล๊ต ผ่านเครือข่าย WiFi และ 3G อาศัยการทำงานเสริมด้านอื่นร่วมกับ Web App มีฮาดร์แวร์จำเพาะในการทำงาน ตามข้อตกลงร่วมระหว่างผู้ผลิตกับทางกูเกิ้ล ซึ่งตอนนี้ได้แก่ค่ายเอเซอร์และซัมซุง



ในด้านฐานข้อมูลผู้ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเก็บ เชื่อมต่อไว้บน เซิฟเวอร์ขนาดมหึมา (cloud sever ) ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง หลังจากพัฒนากันมากว่า 2 ปี (ประกาศเปิดตัวโปรเจ็กส์ 19 พฤศจิกายน 2552) neowin รายงานว่า Mr. Sundar Pichai หัวหน้าทีมพัฒนา (Vice President of Product Management) กล่าวถึงการปรับปรุงล่าสุดว่ากำลังแก้ไขบักส์กับระบบบางส่วน



อีกทั้งกำลังอยู่ระหว่างทดสอบแพรตฟอร์ม กับเหล่าพันธมิตรผู้ร่วมผลิตทั้งเอเซอร์และซัมซุง หลังจากหยุดแจก โน๊ทบุ๊คระบบปฎิบัติการโครมโอเอส (Cr-48) ให้กับนักพัฒนาได้ทดสอบ เมื่อประมาณกลางมีนาที่ผ่านมา และจะพร้อมจำหน่ายในเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ กำหนดที่ว่านี้ดีเลย์ออกไปจากแผนเดิมที่ว่าจะเริ่มจำหน่ายในช่วง ซัมเมอร์ปี 2011 โดยเจาะตลาดผู้ใช้จีเมลล์ (Gmail) ในลำดับแรก




ที่น่าสนใจคือหากโครมโอเอสสามารถจุดกระแสการใช้งาน โน๊ตบุ๊คเว็บ ได้ มันจะเป็นตัวเปลี่ยนทิศทางระบบปฎิบัติการต่างๆ กระทั่งการใช้งานทุกอย่างในโลกไอทีอย่างสิ้นเชิง เราอาจไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เพื่อเน้นฮาร์ดแวร์หนักๆ

เราอาจไม่ต้องเซฟดาวน์โหลดทุกสิ่ง ทุกอย่างมาไว้ในฮาร์ดดิส หรือทัมไดร์ฟ กระทั่งซีดีหรือดีวีดี อาจจะหมดความหมาย เราเพียงอัพโหลดทุกสิ่งทุกอย่างไว้บนเซิฟร์เวอร์แล้วล็อกอิน เพื่อใช้งาน เราจะไกลห่างจากบรรดาสารพัดไวรัส ที่มักจะรันตัวเองพร้อมติดตั้งอัตโนมัติกับซอร์แวร์




แม้จะเกิดคำถามหลักในเรื่อง cloud sever ล่องหน เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลของแฮกเกอร์ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้อย่างสุดประมาณ ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงและตัดอนาคตโครมโอเอสอย่างไร้เยื่อใย

เรา รู้สึกกันเองว่าโปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆ นั้นจะช่วยเซฟคุ้มครองข้อมูลได้ดีกว่าระบบรักษาความปลอดภัยบน cloud sever ซึ่งหากเทียบระดับความเชี่ยวชาญด้านรักษาความปลอดภัย อย่างองค์กรรักษาความปลอดภัยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ กับ ยูสเซอร์ฝึกหัดอย่างไหนน่าจะปกป้องข้อมูลหนึ่งๆ จากแฮกเกอร์ได้ดีกว่ากัน???




อย่างไรก็ดี หากมองกันตามจริงแล้ว ปัจจุบันเราต่างก็เต็มใจอัพโหลดข้อมูลส่วนตัว มากมายไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิสเตอร์ ไดร์ฟจำลองในอีเมลล์ เพลงในเว็บฝากไฟล์ วีดีโอส่วนตัวในยูทูป การเช็คอินของระบบโลเคชั่นเบลส

แม้แต่ในระบบไอโอเอสของแอปเปิ้ล นักวิจัยเพิ่งออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงการเก็บข้อมูลลับพิกัดที่อยู่ของผู้ใช้ไว้ ทั้งหมดนี่ก็คือการเก็บข้อมูลไว้บน cloud sever ที่ผู้ใช้หลายคนมองข้าม และยินยอมเปิดเผย อย่างลืมพิจารณา




สุดท้ายแนวคิดของโครมโอเอสก็ยังเป็นที่ วิจารณ์ของหลายฝ่าย อีกทั้งในแง่ของการตลาด อาจจะทับไลน์ระบบปฎิบัติการแอนดรอย์เสียเอง หรือโครมโอเอสอาจเป็นเพียงดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้เล็กๆ ที่พัดเอาสายฝนหยดแหมะๆ

ก่อนจะเคลื่อนตัวเงียบหาย ทิ้งพื้นดินชุ่มฝนเพียงไม่กี่ชั่วโมงไว้เบื้องหลัง แล้วแห้งกรังด้วยแรงแดด เช่นเดียวกับหลายๆ โปรดักส์ลมก่อนหน้านี้ หากฝากความหวังไว้กับระบบพีอาร์เดิมๆ ที่กูเกิ้ลใช้ ฉะนั้น ตื่นเต้น ตกใจ แบบครึ่งๆ กลางๆ กันดีกว่า^^

Create Date :25 เมษายน 2554 Last Update :25 เมษายน 2554 11:54:16 น. Counter : Pageviews. Comments :0