bloggang.com mainmenu search
 “ตรวจเต้า ก่อนสาย” ชวนผู้หญิงสนใจเต้าตัวเอง เพียงครึ่งเดียวที่ผู้ชายสนใจ โดย พญ.อัจจิมา สวรรณจินดา American Board in laser Surgery

หมอเชื่อว่า คุณผู้หญิงยุคใหม่มักมุ่งความกังวลใจเรื่องเต้าหรือหน้าอกของเราไปที่ Size หน้าอก มากกว่าสุขภาพหน้าอก แต่หากคุณผู้หญิงอยากมีอกคู่สวยอยู่คู่คุณไปนานๆ คุณอาจต้องใส่ใจและพึงระวังในหน้าอกหน้าใจของคุณให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านมแล้วละค่ะ

เทคโนโลยีที่ก้าวไกลอาจไม่ได้ทำให้ความกังวลใจต่อหน้าอกของหญิงไทยลดน้อยลง แม้ปัจจุบันแพทย์เข้าใจในควาบซับซ้อนของมะเร็งมากกว่าในอดีต นำมาสู่การตรวจวินิจฉัย ยา และวิธีการรักษาที่เพิ่มประสิทธิภาพกว่าเดิม แต่ปัจจุบันหญิงไทยโดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่กลับเข้าใกล้โรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น อัตราการเกิดโรคยังสูงติดอันดับหนึ่งในสาม ประกอบกับงานวิจัยต่างๆ ที่ค้นพบว่า ยีนกลายพันธุ์ของมะเร็งเต้านมมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจ ขณะเดียวกันผู้ชายก็ใช่ว่าจะลอยตัวจากโรคร้ายนี้ หมอเชื่อว่าไม่มีผู้ชายคนไหนหรอกที่คิดจะตรวจมะเร็งเต้านมเมื่อคุณตรวจร่างกายประจำปี

จากรายงานการสำรวจโดยสมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็นเพศชายในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นกว่า 26% ภายในระยะเวลา 25 ปี แม้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายยังมีน้อยหากเทียบกับในผู้หญิงมากนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ชายก็ไม่ควรละเลยใจกับเต้านมของตนเอง โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้ชายที่คิดมาก จมอยู่กับความเครียดและมีโหงวเฮ้งลงพุงด้วยแล้วละก็ ...มะเร็งร้ายก็อาจมาเยือนเต้าคุณได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

 “ตรวจเต้า ก่อนสาย” ชวนผู้หญิงสนใจเต้าตัวเอง เพียงครึ่งเดียวที่ผู้ชายสนใจ ถ้าหากคุณไม่อยากสยิวฉิวเฉียดเข้าใกล้มะเร็งเต้านม คุณควรหาวิธีระมัดระวัง ประเภทเตือนกันให้รู้ตัวตั้งแต่เริ่มมีความเสี่ยง เพื่อที่คุณจะได้เตรียมมาตรการปกป้องเต้าได้ทัน

การดูแลหน้าอกหน้าใจ นอกจากการระวังและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของหน้าอกด้วยตัวคุณเองแล้ว การตรวจวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์ฉายรังสีแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นอีกวิธีที่ผู้หญิงหลายคนคุ้นเคยกันดี วิธีดังกล่าวสามารถค้นพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อตัวเลยทีเดียว แต่การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวก็ทำได้ดีที่สุดเพียงแค่การช่วยให้คุณทราบว่าเป็นมะเร็งแล้วตั้งแต่ระยะแรกๆ ซึ่งช่วยให้โอกาสการรักษาให้หายมีสูงขึ้นโดยการตัดเอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออก หรือตัดเต้านมออกกรณีที่เป็นมากและมีการลุกลาม ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เหลือป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ แต่หากถ้าคุณไม่อยากสยิวฉิวเฉียดเข้าใกล้มะเร็งเต้านม คุณควรหาวิธีระมัดระวังประเภทเตือนกันให้รู้ตัวตั้งแต่เริ่มมีความเสี่ยง เพื่อคุณจะได้เตรียมมาตรการปกป้องเต้าได้ทัน

สหรัฐอเมริกา ประเทศซึ่งได้ชื่อว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด โดยพบผู้ป่วยมากถึง 1 ใน 8 ของจำนวนประชากรสตรีทั้งประเทศ รัฐบาลต้องเสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อการรักษาและบำบัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จึงมีความพยายามอย่างหนักในการหาวิธีการป้องกันและค้นคว้าเทคโนโลยีเพื่อการตรวจมะเร็งเต้านมให้ทราบตั้งแต่ในระยะเสี่ยง สาวๆประเทศไทยเองก็ไม่ได้น้อยหน้าสหรัฐอเมริกาเลย เพราะมะเร็งเต้านมกลายเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทยไปซะแล้ว

ได้มีการศึกษาในมหาวิทยาลัยร็อกกีเฟลเลอร์(Rockefeller) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ เช่น เปลี่ยนเป็น 2-hydroxyestrone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนรูปแบบหนึ่งที่มีแนวโน้มช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ขณะเดียวกันก็อาจเปลี่ยนเป็น 16-a-hydroxyestrone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกรูปแบบหนึ่งที่เร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง “หากพระเอก คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เปลี่ยนเป็นเบอร์ 2 (2-hydroxyestrone) มีจำนวนน้อยกว่าที่เปลี่ยนเป็นเบอร์ 16 (16-a-hydroxyestrone) ซึ่งรับบทเป็นผู้ร้าย ก็จะสามารถใช้บ่งบอกได้ว่าขณะนี้คุณมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจวัดอัตราส่วนของสารที่เปลี่ยนแปลงมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนทั้งสองนี้ทางปัสสาวะ

ทางการแพทย์ใช้การตรวจชนิดของเอสโตรเจนในปัสสาวะ (Estrogen Cancer Risk) เพื่อใช้ในการบอกความเสี่ยงแต่เริ่มแรก และยังนิยมใช้เป็นการตรวจประเมินความเหมาะสมก่อนการได้รับฮอร์โมนทดแทน (HRT) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน และใช้ตรวจเพื่อการติดตามผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมหลังการได้รับฮอร์โมนทดแทน

 “ตรวจเต้า ก่อนสาย” ชวนผู้หญิงสนใจเต้าตัวเอง เพียงครึ่งเดียวที่ผู้ชายสนใจ นอกจากนี้ปัจจุบันการแพทย์ยังก้าวหน้าไปถึงขั้นการตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมไปถึงระดับยีนกันเลยทีเดียว เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่อาจรู้กันในวงแคบๆ ที่สำคัญเมื่อพูดถึงการตรวจระดับยีน ฟังแล้วดูยาก ราคาน่าจะแพง และบ้านเราคงส่งตรวจไม่ได้ ความจริงแล้วไม่ใช่เลย การตรวจยีนค่อนข้างได้รับความนิยมสูง ปัจจุบันราคาก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิด การติดต่อสื่อสารและเดินทางที่สะดวกสบายก็เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการส่งตรวจแล็บไปยังต่างประเทศ

การศึกษาส่วนหนึ่งยังพบว่าอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมที่สูงขึ้นอีกส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภค รายงานการวิจัยหนึ่งระบุว่า จากข้อมูลในอดีตการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้หญิงเอเชียมีอัตราต่ำกว่าผู้หญิงในตะวันตก ทว่าปัจจุบันการเป็นมะเร็งเต้านมของผู้หญิงเอเชียกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อันมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินไปเป็นแบบตะวันตก โดยผลการศึกษาของสมาคมต่อต้านโรคมะเร็งแห่งประเทศจีน จากอาสาสมัครจำนวน 1,500 คน พบว่าผู้หญิงที่ชอบดื่มนม รับประทานเนื้อสัตว์ และของหวาน มีแนวโน้มสูงที่จะพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งทรวงอกมากกว่าผู้ที่เน้นการกินผักถึง 2 เท่า ฉะนั้นสาวๆ สะดวกซื้อทั้งหลายพึงระวังไว้ การรับปริมาณอาหารจำพวกฟาสต์ฟูด อาหารแปรรูปไส้กรอก กุนเชียง อาจนำพาคุณไปสู่การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่

 “ตรวจเต้า ก่อนสาย” ชวนผู้หญิงสนใจเต้าตัวเอง เพียงครึ่งเดียวที่ผู้ชายสนใจ การวิจัยถึงอาหารยังได้ข้อสรุปของอาหารดูแลเต้าว่า ควรรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมกลุ่มที่มีสาร I3C (Indole-3-Carbinol) หรือ DIM (Diindolylmethane) ที่พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำซึ่งช่วยเพิ่มระดับ 2-Hydroxyestrone ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้ายที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในระยะยาว สาร Sulforaphane Glucosinolate ซึ่งพบได้ในบร็อกโคลีและต้นอ่อนของบร็อกโคลี กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 และวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) ซึ่งเป็นรูปแบบคล้ายวิตามินดีจากธรรมชาติที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองเมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าวิตามินดี 2 แบบสังเคราะห์ถึง 3 เท่า รวมถึงถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้สร้างเอนไซม์ต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษ สารก่อมะเร็งและสารอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้

 “ตรวจเต้า ก่อนสาย” ชวนผู้หญิงสนใจเต้าตัวเอง เพียงครึ่งเดียวที่ผู้ชายสนใจ สิ่งสำคัญในคือ คุณควรจะป้องกันการเกิดโรคเสียแต่เนิ่นๆ ด้วยการตรวจหาความเสี่ยง การรับประทานอาหารและอาหารเสริมที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการสัมผัสเอสโตรเจนจากภาวะแวดล้อม ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์โฟมและพลาสติกที่ถูกความร้อน แชมพู สบู่ เครื่องสำอาง ผงซักฟอก น้ำหอมระงับกลิ่น น้ำมันหล่อลื่น สารฆ่าอสุจิ ยาฆ่าแมลง DDT และ Atrazine จากยาฆ่าวัชพืช อย่าปล่อยหรือรีรอให้วัวหายแล้วล้อมคอก ปล่อยให้โรคเกิด แล้วค่อยมาแก้ไขรักษาทีหลัง เพราะอาจไม่ทันการและสายเกินแก้ ไหนจะต้องเสียใจ เสียน้ำตาแล้วยังต้องเสียเต้าสุดหวงและยิ่งกว่านั้นคุณอาจเสียชีวิตโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว ดูเหมือนว่าการดำเนินชีวิตแบบไม่ประมาทน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตที่มีค่าของคุณ

//manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9570000012187
Create Date :01 กุมภาพันธ์ 2557 Last Update :1 กุมภาพันธ์ 2557 19:57:54 น. Counter : 1610 Pageviews. Comments :0