bloggang.com mainmenu search
กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง Dream Destination “ป่าห่มศรัทธาแห่งวัดป่าภูก้อน” อุดรธานี ออกไปสัมผัส แล้วคุณจะหลงรัก .. ‘ประเทศไทย’

       ประโยคข้างต้นนั้นอาจเป็นหนึ่งประโยคที่ใครหลายคนมักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเมืองไทยเราถือเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งภูเขา น้ำตก แม่น้ำ ทะเล ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ก็ถือว่ามีความงดงามแปลกตาไม่แพ้ที่ไหนๆ.. จนทำให้ใครต่อใครนั้นต่างตกหลุมรักกันมานักต่อนัก

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง วัดป่าภูก้อน ยังคงความงดงาม        ซึ่งในปี 2557 นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดโครงการ Dream Tourism ภายใต้แคมเปญ “หลงรักประเทศไทย” โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ “Dream Destination” กาลครั้งหนึ่ง...ต้องไป โดยทาง ททท. ได้คัดสรรแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศมา 10 แห่ง ที่งดงามดึงดูดให้คนไทยต้องออกไปสัมผัสสักครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ “ตะลอนเที่ยว” ได้มาเยือนสถานที่ท่องเที่ยว Dream Destination 2 ใน 10 แห่ง ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เป็นสถานที่ปลายทางในฝันของทางภาคอีสาน นั่นก็คือ “ป่าห่มศรัทธาแห่งวัดป่าภูก้อน” ใน อ.นายูง จ.อุดรธานี และ “เกล็ดพญานาคริมโขงแห่งหาดทรายริมโขง” อ.สังคม จ.หนองคาย ส่วนจะงดงามขนาดไหนนั้นตามไปดูกันเลย

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง “พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี” พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนสีขาว ความยาว 20 เมตร        เรามุ่งหน้าไปกันที่ “วัดป่าภูก้อน” เป็นแห่งแรก วัดแห่งนี้ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ภายนอกรายล้อมไปด้วยป่าและทิวเขา เมื่อมองจากด้านบนลงมาด้านล่างจะเห็นภาพเป็นลักษณะแนวเขาสลับซับซ้อนทั่วทุกทิศ ทำให้รู้สึกสดชื่นและร่มเย็นทันทีที่ได้มาเยือน

“วัดป่าภูก้อน” ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม อ.นายูง จ.อุดรธานี อันเป็นรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย สร้างขึ้นเมื่อปี 2530 โดยคุณปิยวรรณและคุณโอฬาร วีรวรรณ ผู้มีความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า และได้ทำเรื่องขอใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เพื่อสร้างวัดในเนื้อที่ 15 ไร่ จากกรมป่าไม้

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง “วัดป่าภูก้อน” ยามค่ำคืน        และเมื่อมาถึงยังวัดป่าภูก้อน สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงคือการกราบนมัสการ “พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี” พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนสีขาว ความยาว 20 เมตร สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ที่นำมาเรียงซ้อนกันถึง 42 ก้อน และสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554 คณะพุทธบริษัทวัดป่าภูก้อนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ทางพุทธศิลป์แห่งรัชกาลที่ 9

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง “พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์” เจดีย์สีเหลืองทองชั้นบนยอดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ        นอกจากนี้แล้วภายในวัดยังมี “พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์” เจดีย์สีเหลืองทองที่ตั้งยอดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา ชวนให้ผู้มาเยือนนั้นขึ้นไปกราบสักการะ ซึ่งหากใครสนใจจะขึ้นไปด้านบนเจดีย์อาจจะต้องรวบรวมกำลังขาสักหน่อย เนื่องจากเจดีย์ตั้งอยู่บนยอดเขา จึงต้องเดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ เมื่อขึ้นมาถึงด้านหน้าขององค์เจดีย์จะมีพระร่วงรุ่งโรจน์ศรีบูรพาให้ได้ไหว้ขอพร และด้านในเจดีย์ที่ชั้นบนยอดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้ได้กราบบูชากัน

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง Dream Destination “เกล็ดพญานาคริมโขงแห่งหาดทรายริมโขง อ.สังคม” หนองคาย        หลังจากไหว้พระขอพรและดื่มด่ำกับธรรมชาติที่วัดป่าภูก้อนจนอิ่มบุญอิ่มใจแล้ว เราออกเดินทางกันต่อมุ่งหน้ามายังแหล่งท่องเที่ยว Dream Destination แห่งที่ 2 นั่นก็คือ "เกล็ดพญานาคริมโขง" เราเดินทางมาที่ “วัดผาตากเสื้อ” ที่ตั้งอยู่บนเขาในเขตอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ว่ากันว่าในช่วงที่น้ำลด หากไปยืนอยู่บนวัดผาตากเสื้อแล้วมองลงมายังแม่น้ำโขง จะเห็นสันทรายเป็นริ้วคล้ายเกล็ดพญานาคอย่างชัดเจน

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง ทัศนียภาพแม่น้ำโขงคล้ายแยกเป็นรูป Y ที่วัดผาตากเสื้อ        ระหว่างการเดินทางจากจังหวัดอุดรฯ มายังหนองคาย เราภาวนาขอให้น้ำลดกันไปตลอดทาง (เนื่องจากปัจจุบันทางประเทศจีนได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำทำให้ระดับน้ำขึ้นลงผิดปกติจากเมื่อก่อน) เพื่อที่เราจะได้เห็นริ้วสันทรายเกล็ดพญานาคกันอย่างชัดเจน เมื่อถึงทางเลี้ยวไปยังวัดผาตากเสื้อจะเป็นทางขึ้นเขาด้านข้างจะมองเห็นแม่น้ำโขงทำให้นั่งรถไปชมทัศนียภาพริมฝั่งโขงไป ได้บรรยากาศสุดๆ

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง สันทรายมีความยาวประมาณ 100 เมตร        หลังจากชมวิวข้างทางอยู่ได้พักใหญ่ก็เดินทางมาถึง “วัดผาตากเสื้อ” เราไม่รอช้ารีบลงรถจ้ำอ้าวไปยังจุดชมวิวของวัดทันที เมื่อมองลงไปยังด้านล่างก็ไม่ผิดหวัง เราเห็นสันทรายความยาวประมาณ 100 เมตร โผล่ขึ้นมาจากน้ำ ซึ่งในช่วงปลายของสันทรายเกิดเป็นริ้ว (คาดว่าเกิดจากกระแสน้ำและลมที่พัด) เมื่อมองแล้วก็ดูคล้ายคลึงกับเกล็ดพญานาค ช่างเป็นความหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นได้อย่างน่าพิศวงจริงๆ

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง โบสถ์ที่ตั้งอยู่ภายในวัดผาตากเสื้อ        จากจุดชมวิวฯ หากมองไปทางซ้ายมือจะมองเห็นวิวแม่น้ำโขงวาดยาวโค้งเป็นคุ้งน้ำ กลางแม่น้ำมีเกาะขนาดใหญ่ ทำให้แม่น้ำโขงช่วงนี้มีลักษณะคล้ายแยกเป็นรูป Y ที่มองเห็นประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างชัดเจน หลังจากชื่นชมธรรมชาติกันจนจุใจ มาถึงวัดทั้งทีก็ต้องมาไหว้พระ เราเดินตรงก้าวขึ้นบันไดไปยังโบสถ์ เพื่อไหว้พระขอพร เรียกได้ว่ามาวัดนี้วัดเดียว ได้ชมทั้งธรรมชาติ แถมได้ไหว้พระ อิ่มบุญกันถ้วนหน้า

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง “ศาลพ่อปู่อินทร์นาคราช – แม่ย่าเกตุนาคราช” ตั้งอยู่ปากทางเข้าถ้ำดินเพียง        ได้ชมแหล่งท่องเที่ยว Dream Destination ทั้งสองแห่งแบบเต็มๆ ตากันไปแล้ว แต่ในอำเภอสังคมยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกมากมาย โดยเราออกเดินทางไปสัมผัสธรรมชาติกันต่อที่ “วัดถ้ำดินเพียง” หรือ “วัดถ้ำศรีมงคล” ซึ่งภายในวัดเป็นที่ตั้งของถ้ำดินเพียง เชื่อกันว่าเป็น “ถ้ำพญานาค” ที่เป็นประตูมิติเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และเมืองบาดาล เป็นเส้นทางที่พญานาคใช้เดินทางกลับสู่ใต้บาดาล และยังเป็นเส้นทางที่พระธุดงด์ทรงศีลแก่กล้าจากลาวใช้ข้ามฝั่งลอดใต้แม่น้ำโขงเข้ามายังเมืองไทย

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง ภายในถ้ำดินเพียงน้ำกัดเซาะหินเป็นช่องมากมาย        ได้ยินดังนั้นเราก็อดใจไม่ไหวต้องเดินลงถ้ำเพื่อไปสำรวจสักหน่อย จากปากทางเข้าถ้ำจะมี “ศาลพ่อปู่อินทร์นาคราช - แม่ย่าเกตุนาคราช” ให้ได้สักการะกันก่อน เมื่อสักการะเรียบร้อยแล้วจะมีคนนำทางเพื่อพาเข้าไปยังภายในถ้ำ จากปากทางเข้าถ้ำจะเป็นช่องเล็กๆ ที่ต้องก้มลอดตัวเข้าไป เมื่อเข้าไปด้านในบางช่วงจะเป็นน้ำสลับพื้นดิน ในช่วงแรกจะผ่านจุดที่ต้องใช้ความพยายามสักหน่อย เนื่องจากทางเข้าเป็นทางที่แคบและเล็ก แต่ละคนก็ต่างทำตัวให้เล็กที่สุดเพื่อที่จะผ่านเข้าไปด้านในได้

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง ทางแยกที่ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถทะลุไปแม่น้ำโขงได้        เมื่อเข้ามาถึงด้านในจะมีลักษณะเป็นโพรง ซอก ซอย เป็นพันๆ ช่อง ที่เกิดจากน้ำกัดเซาะเป็นเวลานาน ซึ่งในการเดินภายในถ้ำจำเป็นจะต้องมีคนนำทางและจะต้องเดินตามไฟที่เปิดไว้ เพราะด้านในจะเป็นโพรงที่ทะลุถึงกันหมด หากเดินเองโดยไม่มีคนนำทางอาจหลงเข้าไปได้ หลังจากเดินก้มๆ เงยๆ อยู่ไม่นาน คนนำทางก็ชี้ให้เราดูยังห้องต่างๆ ภายในถ้ำ ทั้งห้องโถง ห้องหีบศพปู่อินทร์นาคราช ช้างสามเศียร บรรลังก์พญานาค ธิดาพญานาค 3 องค์ ฯลฯ

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง ภายในถ้ำต้องมุด หมอบ คลาน กันอย่างตื่นเต้น        หลังจากผ่านห้องต่างๆ ไปแล้วจะมีทางแยกไปทางซ้ายมือ ซึ่งคนนำทางบอกว่าเป็นทางลงไปยังแม่น้ำโขง ด้วยความสงสัย “ตะลอนเที่ยว” ก็เลยถามคนนำทางกลับไปว่า.. เคยมีคนเดินไปทางนั้นมั๊ย? จึงได้คำตอบมาว่าเคยมีคนเข้าไปและอยู่ในนั้นถึง 12 ชั่วโมง แต่ชาวบ้านได้ลองพิสูจน์โดยการหย่อนลูกมะพร้าวที่ทำสัญลักษณ์ไว้ลงไปในเส้นทางนั้น จากนั้นอีก 2 วันต่อมามะพร้าวลูกนั้นก็ไปโผล่ที่แม่น้ำโขง จึงทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ออกไปทะลุแม่น้ำโขงได้

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง วิถีชีวิตชาวบ้านบริเวณหนองปลาบึก        จากนั้นมาปิดท้ายด้วยการชมพระอาทิตย์ตกดินกันที่จุดชมวิว “หนองปลาบึก” ตั้งอยู่ที่บ้านหนอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย เป็นจุดชมวิวและพระอาทิตย์ตกดินที่สวยจุดหนี่งในอำเภอสังคม เนื่องจากในช่วงที่น้ำลด จะทำให้เห็นโขดหินขึ้นเป็นแก่งน้อย-ใหญ่มากมายจนทำให้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขนานนามว่า “3 หมื่นแก่ง” เมื่อมาถึงยังจุดหมายเราต่างลงเรือหางยาวลำละ 3 คน มุ่งหน้าไปยังจุดชมวิว ระหว่างทางจะเห็นชาวบ้านนั่งเรือมาตกปลา บ้างก็เหวี่ยงแหจับปลาเป็นภาพวิถีชีวิตที่ธรรมชาติจริงๆ

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง แก่งโผล่ขึ้นเหนือน้ำในช่วงน้ำลด ชาวบ้านเรียกว่า “30000 แก่ง”        จากนั้นเรือจะตรงผ่านเกาะแก่งต่างๆ สามารถมองเห็นเป็นจุดๆ ทั่วลำน้ำโขงบริเวณฯ นั้น พอโพล้เพล้ใกล้เวลาอาทิตย์ตกดิน คนขับเรือก็พาเราไปยังจุดชมวิว เพื่อรอเก็บภาพพระอาทิตย์ตกดิน พอได้เวลาดวงอาทิตย์กลมโตสีส้มอมแดงค่อยๆ สาดส่องแสงมากระทบยังพื้นน้ำตามแก่งต่างๆ สะท้อนให้เห็นเป็นเงาน้ำ จากนั้นอาทิตย์ค่อยๆ ลับไปด้านหลังภูเขา ช่างเป็นจุดชมวิวอาทิตย์ตกดินที่สวยงามชวนประทับใจ

กาลครั้งหนึ่ง...ในถิ่นอีสาน จากอุดรฯ ถึงหนองคาย สัมผัสป่าห่มศรัทธา-ชมเกล็ดพญานาคริมโขง ชมพระอาทิตย์ตกดินที่จุดชมวิวหนองปลาบึก        และนี่ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวชวนฝัน “Dream Destination” กาลครั้งหนึ่ง...ต้องไป ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำขึ้นมา ซึ่งหากใครได้มีโอกาสมาเที่ยวชม 2 สถานที่ที่ชวนหลงไหล “ป่าห่มศรัทธาแห่งวัดป่าภูก้อน” และ “เกล็ดพญานาคริมโขงแห่งหาดทรายริมโขง อ.สังคม” แล้ว อำเภอสังคมอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดหนองคายที่นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายแล้ว อำเภอนี้ยังมีมุมน่ารักๆ อีกมากมาย ที่จะชวนให้คุณนั้น “หลงรัก” ได้ไม่ยาก

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดป่าภูก้อน : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
วัดผาตากเสื้อ : ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย เขตบ้านปากโสม ม.2 ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย
วัดถ้ำดินเพียง : ตั้งอยู่ที่ บ้านดงต้อง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย
หนองปลาบึก : ตั้งอยู่ที่บ้านหนอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย

*สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ) โทร.0-4232-5406-7

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

//manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010748
Create Date :28 มกราคม 2557 Last Update :28 มกราคม 2557 21:14:16 น. Counter : 3648 Pageviews. Comments :1