bloggang.com mainmenu search









สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว Blog ทุกๆท่านค่ะ

เจ๊หลีไม่ได้อัพ Blog มานานมากๆๆๆๆๆ

เพราะติดงานประจำที่ทำอยู่ การทำ Blog สำหรับเจ๊หลี ๆ ทำแบบรายละเอียดมาก

สักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นลายน้ำบนรูป ขั้นตอนการทำขนม

รวมถึงสูตรที่ต้องใช้กราฟฟิคเพิ่มเติม นาน ๆ มาทำทีก็ต้องรื้้อฟื้้นความรู้เก่า ๆ

มาก่อนจะมาเขียน Blog แต่ละครั้ง

จนถึงกระแสละครเรื่อง "บุพเพสันนิวาส"

ที่โด่งดังเป็นพลุแตกกระตุ้นให้เจ๊หลีหาเวลาว่างจากการทำงาน

มาฝึกปรือหัดลองค้นหารายละเอียดจากหลาย ๆ ข้อมูลมาทำขนมไทย ๆ

ในวันนี้คือ ขนมตระกูลทองทั้งหมด " ฝอยทอง ,เม็ดขนุน ,ทองหยิบ ,ทองหยอด"

โดยเฉพาะ ทองหยิบ และ ทองหยอด เป็นขนมที่อยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

ในยุคสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ของเรา และเจ๊หลีขอทำขนมตะกูลทอง

สำหรับ ร่วมกับรายการ Food For Fun : Hot Wok Return # 23

ขนมทอง ๆ ทุกอย่างเน้นไข่แดงอย่าง ที่เราทราบ ๆ กันอยู่

ต้องขอบคุณ ท่านท้าวทองกีบม้า ที่เป็นผู้เริ่มทำให้ขนมตระกูลทองของเราเป็นอะไรที่พัฒนามาตามยุคสมัย

จนได้ในสิ่งที่สวยงามละเอียดละออ แบบที่เราเห็น ๆ กันในยุคปัจจุบันนี้ค่ะ


เริ่มจากทองหยอด




ทองหยิบ




ฝอยทอง และ เม็ดขนุน






ขนมไทย ๆ ของเราในปัจจุบันนับแต่จะไม่ค่อยมีคนต่อ ยอด

เจ๊หลีโดยส่วนตัวอยากอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไป

จึงขอมีส่วนร่วมเก็บข้อมูลไว้ใน Blog ของตัวเองในวันนี้

ถึงแม้ว่าความสวยงามที่ทำออกมาจะสวยไม่ได้เท่าครูหลาย ๆ คนที่ทำ

แต่จะพยายามทำและพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

ถ้ามีเวลาว่าง มีโอกาส อยากจะไปเรียนรู้เทคนิคจากครูบาอาจารย์ด้านขนมไทยเช่นกัน

ในวันนี้ขอทำ ลองฝีมือเพียงอย่างละเล็กละน้อย 4 อย่างใช้ไข่ราว 20 ใบค่ะ

ขนมไทย ๆ ของเราก็เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คนที่แพ้ กลูเต็น(โปรตีนในแป้งสาลี) นะคะ


การทำขนมตระกูลทอง (ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองหยิบ ทองหยอด)

นั้นมักนิยมใช้ไข่เป็ด ผสมกับไข่ไก่ เพราะคุณสมบัติของไข่แดงทั้งสองชนิดต่างกัน


ไข่แดงจากไข่่เป็ดทำให้ขนมที่ได้ สีสวยสด เนื้้อแน่น ไม่เละง่าย

ส่วนใข่แดงจากไข่ไก่ก็ได้ขนมที่นุ่มนวล ดูส่วนผสมเป็นคุมได้

ก็สามมารถใช้ไข่ไก่ล้วน ๆ ได้ หากเราหาไข่เป็ดไม่ได้

ข้อมูลนี้เจ๊หลีอ่านมาหลาย ๆ ความคิดเห็นจากคนที่มีประสบการณ์ ในการทำมา

สมัยนี้ง่ายในการที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ


สรุปสูตรขนมให้ตรงนี้นะคะ จากการได้ลองทำมา 2-3 ครั้ง





เรื่องราวของท้าวทองกีบม้า

ท้าวทองกีบม้า มีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimar[note 1]; พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) เป็นสุภาพสตรีช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เธอมีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่ง "ท้าวทองกีบม้า" ว่ากันว่านางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง จนได้สมญาว่าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" แต่ก็มีกระแสคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก เรื่องที่นางดัดแปลงขนมไทยจากตำรับโปรตุเกสเป็นคนแรกเห็นจะผิดไป


ปกนิยายเรื่อง "ท้าวทองกีบม้า" โดยคึกเดช กันตามระ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น
เมื่อครั้งที่ท้าวทองกีบม้า เข้ารับราชการในห้องเครื่องต้น กำกับเครื่องชาวพนักงานหวานในพระราชวัง ก็ได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกสให้เป็นขนมหวานของไทย โดยผสมผสานความรู้ด้านการทำอาหารที่มีมาแต่เดิมมารวมเข้ากับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ทั้งยังสอนความรู้ดังกล่าวแก่เหล่าสตรีในบัญชา จนตำรับเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไปและตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง ถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมโปรตุเกสที่แพร่เข้าสู่สังคมไทย ด้วยเหตุนี้ท้าวทองกีบม้าจึงได้การยกย่องให้เป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังต่อไปนี้

ทองม้วน ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ทองโปร่ง ฝอยทอง กะหรี่ปั๊บ
ขนมหม้อแกง สังขยา ขนมผิง สัมปันนี ขนมขิง ขนมไข่เต่า ลูกชุบ

สัญลักษณ์ของขนมหวานไทย

จากการที่ท้าวทองกีบม้า เป็นชาวไทยที่เกิดจากชุมชนลูกครึ่งในกรุงศรีอยุธยาที่มีเชื้อสายทั้งญี่ปุ่นและโปรตุเกส ทั้งยังมีชื่อเสียงด้านขนมหวานของไทยจนเป็นสัญลักษณ์ของขนมหวานไทย เรื่องราวของนางได้ถูกหยิบยกมาเป็นหนึ่งของการจัดนิทรรศการระหว่างประเทศ อาทิ

ในปี พ.ศ. 2550 มีการจัดเทศกาลไทย ครั้งที่ 8 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดซุ้มสาธิตหัตถกรรมการทำขนมไทย ได้นำเรื่องราวของท้าวทองกีบม้าซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นที่มาเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการประดิษฐ์ขนมหวานของไทย และในปี พ.ศ. 2555 มิวเซียมสยามได้จัดนิทรรศการพิเศษชุด "Olá Sião 500 ปี ไทย-โปรตุเกส" อันเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการเข้ามาของชาวโปรตุเกสตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้มีการจัดห้องของท้าวทองกีบม้าโดยเฉพาะ ซึ่งมีนักแสดงรับบทเป็นท้าวทองกีบม้า คอยบอกเล่าเรื่องราวของขนมหวานที่เกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมไทยและโปรตุเกส ที่ดัดแปลงและใช้วัตถุดิบภายในประเทศคือ แป้ง, น้ำตาล และไข่


เจ๊หลีขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/






กรองไข่ผ่านผ้าขาวบางแบบนี้ค่ะ




จากนั้นตีไข่ให้ขึ้นฟู เพื้่อรอทำทองหยอด















ใน Blog ครั้งต่อ ๆ ไปเจ๊หลีจะเขียนเรื่อง ขั้นตอนการทำต่อไปนะคะ

ไม่ว่าจะเป็น ฝอยทอง ทองหยิบ และเม็ดขนุน








นี่ค่ะ หน้าตาน้ำเชื่อมใส และน้ำเชื่อนข้น







หมายเหตุ

ถ้ามีเวลามากกว่านี้ จะกลับมาแก้ไขรูปสูตรใหม่นะคะ ตัวหนังสือซ้อน ๆ กันอยู่

ขอปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (ลูกชาย) ก่อนค่ะ


จนกว่าจะพบกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ















Create Date :23 พฤษภาคม 2561 Last Update :24 พฤษภาคม 2561 8:53:46 น. Counter : 55927 Pageviews. Comments :72