bloggang.com mainmenu search
 

  เมื่อบันได ห้องสมุด ที่เก็บของ และครัว
เป็นเฟอร์นิเจอร์ชุดเดียวกัน
 

เดิมทีบ้านนี้เป็นโรงนาเก่า ๆ ที่ Maxwan Architects + Urbanists จากเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ได้ปรับปรุงให้กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่สำหรับครอบครัวเล็ก ๆ มีห้องครัว และห้องนั่งเล่น ขนาดใหญ่ มีเฟอร์นิเจอร์
ไม่กี่ชิ้น หนึ่งในนั้น มีทั้งบันได ห้องสมุด ที่เก็บของ และครัว รวมอยู่ในชุดเดียวกัน









พูดถึงหนังสือทำให้นึกถึงเรื่องที่องค์การ UNESCO (องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ)
เคยออกผลวิจัยที่ทำให้คนไทยตกใจ ว่าเราอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละแค่ 8 บรรทัดเท่านั้น OMG หลายคนบอกว่าเหลือเชื่อ
เพราะสวนทางกับอัตรารู้หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้วว่าอยู่ที่ร้อยละ 97

แม้จะเป็นตัวเลขที่ค้านสายตาคนไทยส่วนใหญ่ แต่กลายเป็นสถิติที่คนไทยจำได้แม่นยำ เป็นเดือดเป็นร้อน
ให้หลายฝ่ายลุกขึ้นสร้างวัฒนธรรมการอ่าน แต่ทำได้แค่ชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น


 






แต่ผลวิจัยล่าสุดของทาง UNESCO กลับทำให้ช็อคมากกว่าเดิม เพราะล่าสุดผลวิจัยบอกว่า คนไทยอ่านหนังสือกัน
ปีละแค่ 4 บรรทัด เช่น อ่านเฉพาะพาดหัวข่าวแต่ไม่อ่านเนื้อข่าว และมีสาเหตุมากจากทุกวันนี้คนไทย อ่าน Facebook
อ่าน Twitter อ่านสารพัดโซเชียลมีเดีย เรียกว่าเป็นผู้บริโภคสื่อประเภทนี้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงบางคน
ต้องการ "ความเป็นส่วนตัวสูง " หรือ Hight Privacy ทำให้สื่อสารในโลกความเป็นจริงน้อยลง


 






แต่ปรากฏการณ์ในงาน "มหกรรมหนังสือแห่งชาติ" ทุกครั้ง จะเห็นผู้คนหลั่งไหลจากทั่วทุกสารทิศไปเนืองแน่นที่
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อไปเดินเบียดเสียดยัดเยียดจับจ่าย หอบหิ้วหนังสือกลับบ้านกันจนไหล่ทรุด
หรือภาพแฟนคลับนักเขียนเข้าแถวต่อคิวยาวเหยียด เพื่อขอลายเซ็นนักเขียนในดวงใจ


 






"กุลธร เลิศสุริยะกุล" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน. เผยข้อมูลจากสำนักงาน
สถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กไทยมีอัตราการอ่านหนังสือลดลง ในปัจจุบันเด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียง 2-5 เล่มต่อปี
ถือเป็นอัตราที่ลดลงเรื่อย ๆ จากแต่ละปี สถิติลดลงน่าใจหาย ยิ่งห่อเหี่ยวใจเข้าไปอีก เมื่อนำตัวเลขของไทย
มาวางเทียบกับสมาชิกอาเซียนพบว่า









"การอ่านของคนไทยอยู่ในระดับวิกฤต ขณะที่เด็กไทยอ่านหนังสือปีละ 2-5 เล่ม แต่สิงคโปร์เฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี
แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือเวียดนามมีอัตราการอ่าน 60 เล่มต่อปี ขณะที่ฝั่งไทยยังไม่แตะถึงเลขสองหลักด้วยซ้ำไป"









แม้คลื่นกระแสเทคโนโลยีเข้าถาโถมซัด "สื่อกระดาษ" ให้เป็นไม้ใกล้ฝั่งรอวันหมดอายุขัย แต่ในสายตาอาจารย์
กุลธร ยังมองว่า "การอ่านจากกระดาษยังเป็นสิ่งคลาสสิคที่สุดแล้วในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร"

ถ้าการอ่านถือเป็นรากแก้วสำคัญในการพัฒนา "ทรัพยากรมนุษย์" ของแต่ละประเทศ หากแต่คนไทย
ยังไม่มีนิสัยรักการอ่าน ก็เหมือนทฤษฎีโดมิโน พาลให้เรื่องอื่นล้มระเนระนาดตามไปด้วย


 




 

ที่น่าห่วงก็คือบรรดาเด็กที่กำลังเติบโตในช่วงห้าปีหลังมานี้ เพราะหมกมุ่นกับเทคโนโลยีมากไปตั้งแต่อายุยังน้อย
เริ่มสร้างโลกของตัวเอง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และเมื่ออายุมากขึ้นจะเข้ากับคนอื่น ๆ ไม่ได้ และมีปัญหาตามมา
มากมาย คงต้องเริ่มกันตั้งแต่วันนี้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ ดีกว่าให้ผลวิจัยบอกว่าคนไทย
ไม่อ่านหนังสือเลย !!!


 




 

เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียหน้าในฐานะ "เมืองหลวงหนังสือโลก" โปรดจงตระหนักว่า การอ่านคือโอกาส
สำคัญกว่าโอกาส คือการนำความรู้จากการอ่านมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์

ไม่ต้องแข่งขันกับเวียดนาม หรือประเทศอื่น ๆ ว่าอ่านได้มากน้อยเท่าไหร่ ให้แข่งขันกับตัวเอง ถามตัวเองว่า
"วันนี้ เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มากขึ้นบ้าง ... และเราจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง"

 

 


 

อยากฝากไว้ให้คิด ... คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ

ไม่ต้องอ่านหนังสือเยอะมาก ๆ ในหนึ่งปี แต่ขอให้อ่านบทความดี ๆ ให้ได้วันละ 1 เรื่อง เพื่อจุดประกายความคิด
ดี ๆ ให้ได้ทุก ๆ วัน เพื่อให้เราได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ทุก ๆ วัน ในหนึ่งปี มี 365 วัน เราจะได้เรียนรู้มากถึง 365 เรื่อง

อย่างน้อยเมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ ก็ถือว่าคุณได้อ่านหนังสือเกิน 8 บรรทัดแล้ว เย้ ...

 

 


      

อ้างอิง:
House G by Maxwan Architects + Urbanists by
https://goo.gl/cn5Ru5
https://www.topservicetraining.com/articles_detail.php?id=61
https://goo.gl/VOauy9
https://www.bangkokreadforlife.com/



Plastic Plastic - Tie A Yellow Ribbon Round The Old Oak Tree


ชั้นหนังสือประหยัดพื้นที่ คลิกที่นี่

Create Date :19 สิงหาคม 2556 Last Update :4 กุมภาพันธ์ 2564 15:29:32 น. Counter : 4729 Pageviews. Comments :62