bloggang.com mainmenu search

Myth ความเชื่อที่ไม่เป็นจริง เกี่ยวกับแพทยสภา


แพทยสภาคือหน่วยงานอะไร ทำอะไร ที่ไหน ผลออกมาเป็นอย่างไร ความเชื่อที่ไม่จริงเกี่ยวกับแพทยสภามีอะไรบ้าง วันนี้มาเรียนรู้กันค่ะ

ความเชื่อที่ไม่จริง1 แพทยสภาเป็นหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดูแลและควบคุมการทำงานของสมาชิกและให้คำแนะนำแก่กระทรวงสาธารณสุข

ที่ถูกต้อง แพทยสภาเป็นสภาวิชาชีพไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานใด เพียงแต่มีสำนักงานตั้งอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ ดังนี้

๑. ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
๒. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๓. ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
๔. ช่วยเหลือแนะนำเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
๕. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข
๖. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย


ความเชื่อที่ไม่จริง2 สมาชิกของแพทยสภา คือแพทย์ทุกคน ทำได้โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกที่สำนักงานแพทยสภา

ที่ถูกต้อง สมาชิกของแพทยสภาเป็นแพทย์ แต่ไม่ใช่แพทย์ทุกคน แพทย์ที่เป็นสมาชิกเป็นได้โดยอัตโนมัติ หากมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

๑. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
๒. มีความรู้ในวิชาชีพเวชกรรม โดยได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร์ที่แพทยสภารับรอง
๓. ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๔. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๕. ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของแพทยสภา


ความเชื่อที่ไม่จริง3 คณะกรรมการแพทยสภาไม่ว่ามาจากเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน จึงได้รับสมญานามว่าแพทยสภาพาณิชย์

ที่ถูกต้อง กรรมการแพทยสภาแต่ละชุดประกอบไปด้วยกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมการแพทย์, อธิบดีกรมอนามัย, เจ้ากรมแพทย์ทหารบก, เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ, เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ, นายแพทย์ใหญ่กรมตำรวจ, คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย, ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์, และกรรมการแพทยสภาโดยการเลือกตั้งซึ่งมีจำนวนเท่ากับกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง

ในปีพ.ศ. 2556 คณะกรรมการแพทยสภามีทั้งหมด 52คน มาจากภาครัฐ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 88 มาจากภาคเอกชน6 คน คิดเป็นร้อยละ12 การกล่าวหาว่าเป็นแพทยสภาพาณิชย์โดยไม่มีมูลความจริงถือว่าไม่เป็นธรรมต่อแพทยสภา


ความเชื่อที่ไม่จริง4 แพทย์ปัจจุบันจริยธรรมเสื่อมทรามลง เมื่อมีเรื่องฟ้องร้องแพทย์โดยประชาชนมาถึงแพทยสภา เชื่อขนมกินได้เลยว่า แพทยสภาจะตัดสินให้แพทย์พ้นผิด แพทยสภาไม่เคยปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการกระทำของแพทย์

ที่ถูกต้อง จำนวนแพทย์ทั้งหมดที่มีชีวิตนับมาถึงวันที่ 18 เมษายน 2556 มีจำนวน 45,542คน มีจำนวนเรื่องร้องเรียนมาที่แพทยสภาในปี 2554จำนวน 193 เรื่อง ในปี2555จำนวน 137เรื่อง ในปี2556 นับมาถึงสิ้นเดือนเมษายน จำนวน44เรื่อง เรื่องร้องเรียนแพทย์จึงนับว่าเป็นส่วนน้อย เพียงร้อยละ0.3-0.4 ของแพทย์ทั้งหมด เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และทำนองให้ส่วนลด เมื่อมีเรื่องร้องเรียนมาถึงแพทยสภาจะมีอนุกรรมการถึงสามชุดดูแลและให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ได้แก่ คณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวน และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม การตัดสินกระทำแบบโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพื่อปกป้องคนดีและลงโทษผู้กระทำผิด



พญ. ชัญวลี ศรีสุโข(chanwalee@srisukho.com)
กรรมการแพทยสภา
โฆษกแพทยสภา
------------------------------


พฤษภาคม ๒๕๕๘



แพทยสภามีกรรมการ 56 ท่าน เป็นข้าราชการบำนาญ และข้าราชการภาครัฐ 48 ท่าน คณบดีคณะแพทย์ เอกชน 2 ท่าน และ ภาคเอกชน 6 ท่าน

กรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง โดยแพท
ย์ทั่วประเทศ 28 คน และ กรรมการโดยตำแหน่ง 28 คน

มีกรรมการที่มาจาก ภาคเอกชน 6 ท่าน จาก 56 ท่าน ... แต่มักถูกเข้าใจผิดหรือเลี่ยงประเด็น ว่าเป็นกรรมการแพทยสภา มี "ภาคเอกชน " เป็นเสียงส่วนใหญ่ ...ในขณะที่ ความจริง คือ แพทย์ใน โรงพยาบาลเอกชน เป็นเสียงส่วนน้อยของแพทยสภา ..

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูล อย่างชัดเจนถึงที่มาของกรรมการแพทยสภา แต่ก็ยังมี กลุ่มบุคคล บางกลุ่มที่ยังพูดให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า กรรมการแพทยสภา เป็นตัวแทนของแพทย์ในระบบธุรกิจเอกชน ?  เขา (เธอ) ไม่รู้ หรือ แกล้งไม่รู้ ?





Create Date :11 มิถุนายน 2556 Last Update :23 พฤษภาคม 2558 22:44:27 น. Counter : 2016 Pageviews. Comments :0