bloggang.com mainmenu search





นำมาเล่าสู่กันฟัง  ^_^  

โครงการสัมมนา CME สัญจร ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ วันศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ห้องสโลป CC 2802 ชั้น ๘ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา ๒

๑. ผู้เข้าร่วมสัมมนา ค่อนข้างน้อย (ประมาณ ๕๐ คน ?) แต่ คณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่องมาถึง ๑๑ ท่าน ( อ.สมศรี บอกว่า เยอะกว่าทุกเวทีที่จัดมา) ทางฝ่ายจัดการสัมมนาอาจต้องร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อแก้ไขในครั้งต่อไป  (อาจเป็นจาก ประชาสัมพันธ์น้อย หรือ ชื่อโครงการ เนื้อหากำหนดการไม่น่าสนใจ หรือ แพทย์เราไม่สนใจเอง ?)  
ทาง ท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มน. บอกว่า จะมีการบันทึกวิดิทัศน์เพื่อเผยแผ่ต่อไป ท่านใดที่สนใจก็รอติดตามชมกันได้  

๒. เวลาในการสัมมนาน้อยไป (เริ่ม ๙.๓๐ น.) น่าจะเริ่มเช้าอีกหน่อย ตัดเนื้อหาบางช่วงออก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีเวลาพูดคุยซักถามแสดงความคิดเห็น มากขึ้น ( ครั้งนี้อาจารย์พูดก็หมดเวลา เปิดให้แสดงความเห็นแค่ ๑ – ๒ คนเท่านั้นเอง)

๓. เนื้อหาของการสัมมนา เน้นเรื่องระเบียบกฎหมาย ตัวอย่างคดีความ คดีฟ้องร้อง มากกว่าเรื่องของ CME (บางที ถ้าตั้งหัวข้อเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การฟ้องร้อง คดีตัวอย่าง ข้อระมัดระวังฯลฯ อาจทำให้แพทย์สนใจเข้าร่วมสัมมนาเยอะขึ้น ?)

๔. มีประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับคดีความ การฟ้องร้องหลายเรื่อง ทั้งหมอสูติ ศัลย์ ออร์โธ หมอเด็ก รวมถึงคดีทั่วไป เช่น แพทย์จบใหม่ ไปทำงานที่คลินิกเสริมความงาน แล้วไปลงชื่อเป็นผู้ดำเนินการคลินิก เจ้าหน้าที่ในคลินิกจ่ายยาเสพติดให้โทษกับผู้ป่วยเก่า (ให้ยาเดิม โดยที่แพทย์ไม่อยู่) แพทย์จบใหม่ก็ต้องโดนฟ้องคดีด้วย  หรือ คดีใบรับรองแพทย์เป็นเท็จทำให้แพทย์ติดคุก เป็นแพทย์ จังหวัดใกล้กรุงเทพ ต้องติดคุก จากการออกใบรับรองแพทย์ (ถูกจับวันศุกร์นอนคุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพราะติดวันหยุดเลยไม่ได้ประกัน) แพทย์เขียนใบรับรองแพทย์ ให้กับเจ้าหน้าที่ ด้วยความสนิทสนม แต่เจ้าหน้าที่เอาไปขายต่อ แล้วคนซื้อนำไปอ้างเพื่อเลื่อนนัดศาล เลยกลายเป็นเรื่องคดีอาญา ออกเอกสารเท็จ  เป็นต้น ถ้ามี cme สัญจรครั้งหน้า แพทย์ท่านใดที่สนใจเรื่องเหล่านี้ ห้ามพลาด ได้อะไรเยอะจริง ๆ เป็นการเรียนรู้จากความเจ็บปวดความผิดพลาดของคนอื่น เราจะได้ทำหน้าที่แพทย์ของเราอย่างปลอดภัย

๕. ผมเสนอความเห็นเกี่ยวกับ CME ไปบางส่วนแบบสรุปย่อมาก เพราะ ไม่มีเวลา หลายประเด็นทางคณะกรรมการ ศ.น.พ. แจ้งว่าได้ดำเนินการไปแล้ว บางประเด็นก็จะนำไปดำเนินการต่อ

๖. ผมเสนอให้มีการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ เกี่ยวกับ กฎหมาย ตัวอย่างคดีความ การแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เนต เฟสบุ๊ค ซึ่งมีหลายประเด็นที่ต้องระมัดระวัง  รวมถึงการสอนเรื่องที่ไม่ใช่วิชาการแพทย์ เพราะ การใช้ชีวิตหลังจากเรียนจบ มีเรื่องอีกเยอะที่จำเป็นต้องรู้แต่อาจารย์ไม่ได้สอน  

NU Live Streamed live on Jun 23, 2016  (แต่ไฟล์สะดุด ?)
https://youtu.be/DA4y3kwDWN4
https://youtu.be/v8zsLkT77a8
https://youtu.be/hpA748EMIfE

หัวข้อ 34607: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น. (เล่าสู่กันฟัง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1466863922

34580: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น. ข้อเสนอ ?
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1466411924

หัวข้อ 34448: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น.  (จำนวนคนอ่าน 473 ครั้ง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1464102726

หัวข้อ 34034: แพทยสภา ดัน “ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม” คิดเห็นอย่างไร ?  (จำนวนคนอ่าน 2190 ครั้ง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1455696146

โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น.   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-05-2016&group=15&gblog=67
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1335440969804909.1073742210.100000170556089&type=3


................................

โครงการสัมมนา CME สัญจร ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ วันศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ห้องสโลป CC 2802 ชั้น ๘ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา

แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมฯ
ไฟล์ pdf      //bit.ly/1TBhpKP
ไฟล์ word   //bit.ly/1TUbgXp


หมายเหตุ .. โปรดส่งแบบตอบรับฯ ภายในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ 
สามารถส่งได้ทั้งทาง อีเมล์ admin@ccme.or.th โทรสาร 02-591-7049 หรือ ไปรษณีย์ฯ

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ ( สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ) 02-590-1894 กด 7
โทรมือถือ 08-5685-9009 โทรสาร 02-591-7049
อีเมล์ admin@ccme.or.th
เวบ //www.ccme.or.th










...............................................

สำหรับ ผม ..

๑. เห็นด้วยที่จะมีการมี "ต่อ" ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

-ผู้ที่จะเข้าเรียนแพทย์ ในอนาคต รับทราบข้อกำหนดนี้ และถือว่าเป็นการบังคับตามกฏหมาย (กฏหมายออกบังคับใช้แล้ว ถือว่ารู้และยอมรับ)

-ส่วนนักศึกษาแพทย์ (ที่กำลังศึกษาอยู่) และ แพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว ถือว่าเป็น ทางเลือก (กฏหมายไม่มีผลย้อนหลัง)

๒.ควรมีระบบวิธีการ ที่จะใช้ในการพิจารณาต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรบ้าง และ มีระบบที่ช่วยสนับสนุน เช่น การเก็บคะแนน CMEควรมีข้อสอบ บทความเนื้อหาความรู้ที่ทันสมัยและจำนวนมากเพียงพอ ที่จะให้แพทย์เข้าไปศึกษา

สิ่งที่จะต้องปรับปรุงเป็นเรื่องแรกเลยก็คือเวบ www.ccme.or.th

เพราะตอนนี้เวบร้าง ไม่มีข้อสอบให้ทำเพิ่ม ทั้งที่ น่าจะเป็นวิธีทำได้และง่ายที่สุดด้วยซ้ำแถมยังสะดวกที่สุดสำหรับแพทย์ต่างจังหวัด แพทย์ที่ไม่ได้อยู่ในคณะแพทย์ใครที่สนใจที่จะติดตามความรู้และเก็บคะแนน ก็เข้าไปอ่าน ไปอัพเดตความรู้พักอยู่บ้าน ทำงานอยู่โรงพยาบาลคลินิก ก็สามารถทำได้ ไม่ต้องเดินทางไม่ต้องเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไปอบรมวิชาการ ฯลฯ

๓.ควรมีมาตรการจูงใจ ให้แพทย์ มาต่อใบอนุญาต ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตฯ ก็ทำงานเป็นแพทย์ได้แต่ถ้ามาต่อใบอนุญาตฯ จะมีข้อดี มากกว่าเพราะถือว่าเป็นหลักฐานเพิ่มความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ป่วย เช่น การสมัครงาน หรือเรียนต่อ จะต้องมีหลักฐานการศึกษาต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลหรือคลินิกถ้ามีแพทย์ที่ไม่ต่อใบอนุญาต พอมีคดี ทนายหรือศาล อาจมองว่าโรงพยาบาล(คลินิก)นั้นไม่ได้มาตรฐาน หรือถ้ามีเรื่องร้องเรียน ก็อาจถูกลงโทษที่หนักขึ้นดังนั้นถ้าจะไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน อาจไม่รับเข้าทำงาน เป็นต้น

หรืออาจจะมีการออกใบรับรองหรือประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องครบตามหลักเกณฑ์ สามารถเอาไปติดแสดงให้คนไข้และญาติได้ดูเพื่อให้คนไข้เกิดความมั่นใจว่าหมอที่ให้การดูแลรักษานั้นเป็นหมอที่ใฝ่รู้สนใจเรียนต่อ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการบังคับ ใช้มาตรการจูงใจเชิงบวกอย่างเดียวก็ไม่มีหลักประกันว่าทุกคนจะทำ เกิดมีหลายมาตรฐาน จึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเราจึงต้องพิจารณากันให้รอบคอบ

๔. ผมคิดว่า จุดประสงค์ของ การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาชีพเวชกรรม หรือการเก็บคะแนน CME คือเพื่อยืนยันกับประชาชนทั่วไปว่า แพทย์ที่รักษาเขานั้น มีการเรียนรู้ต่อเนื่องติดตามความรู้ใหม่ๆ สม่ำเสมอ จึงต้องหาวิธีสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนทั่วไปได้รับรู้รับทราบ

ประเด็นสำคัญที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ทราบว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้างมีวิธีการตรวจสอบ หรือ มีข้อสังเกตเครื่องหมายสัญลักษณ์ใบรับรอง ได้อย่างไร เช่นสัญลักษณ์ หรือ เอกสารรับรองว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (รับรอง ๓ ปี หรือ ๕ปีมีกำหนดว่าหมดอายุเมื่อไหร่ ) และ ควรมีวิธีให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบคะแนน CMEของแพทย์แต่ละท่านได้สะดวกเพื่อให้ประชาชนรับรู้และเลือกตัดสินใจเองว่า จะรักษากับแพทย์ท่านนั้นหรือไม่

ถ้าประชาชนทราบแล้ว แต่ยังยืนยันที่จะไปรักษากับแพทย์ที่ไม่ได้ต่อใบอนุญาตฯไม่ได้ติดตามความรู้ให้ทันสมัย ก็ถือว่า เป็นความเสี่ยงที่ผู้ป่วยยอมรับเอง

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายเองอยากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่ติดตามความรู้ต่อเนื่อง มากกว่าหมอที่ไม่เคยอัพเดตเลย

ดังนั้น"มาตรการทางสังคม " จึงน่าจะเป็นมาตรการที่ "จูงใจ" (ทางอ้อม)ให้แพทย์ ที่ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่ สนใจสมัครใจที่จะเข้ามาต่อใบอนุญาต ^_^

ปล. ถ้าเทียบง่าย ๆ เหมือนกับไปกินอาหารในต่างถิ่น ถ้าร้าน มีเครื่องหมาย หรือ ข้อมูล ที่แสดงว่า อาหารอร่อยก็น่าจะดีกว่า (เสี่ยงน้อยกว่า) ไปกินร้านที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย ส่วนว่าเราไปกินแล้วจะอร่อย หรือเปล่า ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

.................................................

ผมได้ตั้งกระทู้ในเวบไทยคลินิก มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นพอสมควร และส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการต่ออายุใบประกอบฯ สนใจแวะไปอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้

หัวข้อ 34034:แพทยสภา ดัน “ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม”คิดเห็นอย่างไร ? (จำนวนคนอ่าน2065 ครั้ง)

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1455696146;start=56

วัตถุประสงค์เพื่อแพทย์พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วย

การแก้ไขการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นจะให้มีผลเฉพาะผู้ที่สอบและรับใบอนุญาตใหม่เท่านั้นโดยมีการกำหนดชัดเจนว่าจะต้องต่ออายุเมื่อครบกี่ปีแต่จะไม่มีผลย้อนหลังไปยังแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาติฯ ก่อนหน้านี้โดยให้ขึ้นทะเบียนต่อใบอนุญาตโดยไม่ต้องจ่ายเงินและให้แสดงหลักการเข้าร่วมอบรมหรือประชุมวิชาการแทนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการติดตามและพัฒนาองค์ความรู้วิชการแพทย์ต่อเนื่องเป็นลักษณะการบังคับ

ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขในประเด็นนี้นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นแนวโน้มเดียวกับทั่วโลกซึ่งหลังแพทย์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วบางคนสงสัยว่าในกลุ่มแพทย์ที่เรียนจบมานานแล้วจะยังมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการรักษาและดูแลผู้ป่วยอีกหรือไม่และมีการพัฒนาการรักษาและเทคโนโลยีการแพทย์ที่รุดหน้าหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยดังนั้นแพทยสภาจึงได้เสนอในเรื่องนี้ซึ่งเรื่องนี้ทุกวิชาชีพต่างต้องทำเหมือนกันหมดเพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน โดยหลักเกณฑ์ที่จัดทำขึ้นได้ดูตัวอย่างจากต่างประเทศและประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่าการแสดงถึงการอบรมและการศึกษาจะประกันได้อย่างไรว่าแพทย์มีความรู้ดีขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เข้ารับการอบรมหรือศึกษาใดๆ เลยส่วนที่ในอดีตที่ไม่มีการกำหนดการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพแพทย์นั้นหากไปดูทุกประเทศเหมือนกันหมดโดยพึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อใบอนุญาตทีหลังทั้งสิ้น

..................................................

หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตของสภาวิชาชีพต่างๆ

//www.dentalcouncil.or.th/dentist/relicense.php

ทันตแพทย์
ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2559กำหนดให้ทันตแพทย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมไปแล้วไม่ต้องต่อใบอนุญาตกำหนดให้ทันตแพทย์ซึ่งจบใหม่ต้องต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปีเท่านั้นและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการต่อใบอายุวิชาชีพ แต่ทั้งทันตแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วและทันตแพทย์ใหม่ต้องเก็บหน่วยกิตให้ได้ 100 คะแนนภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 20 คะแนน

เภสัชกร

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 (ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2558)ใบอนุญาตให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปี ต้องมีการศึกษาต่อเนื่องรวมไม่น้อยกว่า 100 หน่วยกิต ในทุกรอบระยะเวลา 5 ปีโดยจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

พยาบาล

กำหนดในพระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ให้มีการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขออกเป็นข้อบังคับสภาการพยาบาลการต่อทะเบียนใบอนุญาตใช้ 50 หน่วยการศึกษาต่อเนื่องและเสียค่าธรรมเนียมต่อ 500บาท

เทคนิคการแพทย์

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์พ.ศ. 2547 การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเทคนิคการแพทย์ค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาทข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง

สัตวแพทย์

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์พ.ศ. 2545 การออกใบอนุญาตต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสัตวแพทยสภาสัตวแพทยสภากำหนดอายุใบอนุญาตใช้ได้ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่อใช้ 100 หน่วยการศึกษาต่อเนื่องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

กายภาพบำบัด

กำหนดในพระราชบัญญัติกายภาพบำบัดพ.ศ. 2547การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากายภา พบำบัดค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาทข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง

ทนายความ

กำหนดในพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ใบอนุญาตมีอายุใช้ได้ 2 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตเว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่เสียค่าธรรมเนียมในอัตราตลอดชีพให้มีอายุตลอดชีพของผู้ได้รับใบอนุญาต หลักเกณฑ์วิธีการ กำหนดในกฎกระทรวงค่าต่อใบอนุญาตทนายความตลอดชีพ 4,000 บาทใบอนุญาตทนายความ 2 ปี เสียค่าธรรมเนียม800 บาท ผู้มีใบอนุญาตเป็นทนายความ 2 ปี จะขอต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพได้แต่ต้องก่อนใบอนุญาตเดิม(2 ปี) หมดอายุโดยเสียค่าธรรมเนียม 800 บาท

วิศวกร

กำหนดในพระราชบัญญัติวิศวกรพ.ศ. 2542 ว่า การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาตการพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาวิศวกร ข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันอนุมัติให้ต่อใบอนุญาตค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิวิศวกร 3,000 บาท ระดับสามัญ 2,000 บาท ระดับภาคีวิศวกร1,000 บาท

สถาปนิก

กำหนดในพระราชบัญญัติสถาปนิกพ.ศ. 2543 ว่าการออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตการพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาสถาปนิกข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันที่ต่อใบอนุญาตค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิสถาปนิก 3,000 บาท สามัญสถาปนิก 2,000 บาท ภาคีสถาปนิก1,000 บาท

บัญชี

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชีพ.ศ. 2547ไม่กำหนดอายุใบอนุญาตแต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามที่สภาวิชาชีพกำหนด สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ1,000 บาท นับจากวันที่ออกใบอนุญาต (ไม่ใช้หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง)




Create Date :24 พฤษภาคม 2559 Last Update :25 มิถุนายน 2559 21:25:12 น. Counter : 4257 Pageviews. Comments :1