bloggang.com mainmenu search


ผู้ปกครองหลายๆ ท่านกังวลเรื่องความสูงของบุตรหลาน ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่สูงมากนักลูกจะมีโอกาสที่จะสูงได้หรือไม่

การ เจริญเติบโต และการพัฒนาการด้านความสูงและการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา โดยตลอด 9 เดือน จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาตัวอย่างไม่หยุดยั้งทุกระบบ แต่วัยที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าวัยอื่น คือ วัยในครรภ์จนถึง 2 ขวบแรก และวัยรุ่น

วัยรุ่น 3 ช่วง
วัยรุ่นตอนต้น (10-13 ปี) สาวๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าหนุ่มๆ 2 ปี โดยร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เช่น เด็กชายจะมีขนหน้าอก ขนรักแร้ เสียงแตกและทุ้มขึ้น ส่วนสาวๆ เริ่มมีหน้าอก สะโพกผายออก มีประจำเดือน เป็นต้น วัยรุ่นระยะนี้จะมีอัตราการเพิ่มความสูงต่อปีมากที่สุด ผู้หญิง 8 ซม./ปี เมื่ออายุ 11 ปี ส่วนผู้ชาย 10 ซม./ปี เมื่ออายุ 13 ปี ถ้าต้องการให้ความสูงเพิ่มขึ้นมากๆ ต้องดูแลทั้งเรื่องของอาหาร การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด

วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี) สาวๆ เจริญเติบโตที่เร็วตอนอายุ 11.5 ปี และเติบโตน้อยลงเมื่ออายุ 16ปี ส่วนหนุ่มๆ จะเริ่มที่อายุ 13.5 ปี และหยุดโตเมื่ออายุ 20 ปี นอกจากนี้กล้ามเนื้อจะมีความแข็งแรงและมีขนาดเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะสมบูรณ์ถึง 95% ขณะอายุ 17-18 ปี

วัยรุ่นตอนปลาย (17-20 ปี) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงระยะท้ายทางด้านต่างๆ เช่น ความสูง อวัยวะเพศ กระดูก และกล้ามเนื้อ

ความสูง แบ่งการเติบโตเป็น 4 ช่วง
ช่วงที่ 1 อายุ 0-2 ปี
ช่วงที่ 2 อายุ 2-11 ปี ระยะนี้ความสูงจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 5 ซม./ปี
ช่วงที่ 3 เพศหญิงอายุ 11.5-16 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 8ซม./ปี เพศชายอายุ 13.5-20 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 10-12 ซม./ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุด ปัจจัยที่ส่งเสริมการเพิ่มความสูง ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน โภชนาการ การออกกำลังกาย การนอนหลับ
ช่วงที่ 4 อายุ 17-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายมีการเติบโตเกือบเต็มที่แล้ว โดยประมาณคือ 95-98% ของความสูงของผู้ใหญ่

สูตรคำนวณความสูงของลูก
เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) หาร 2ความสูงที่ควรจะเป็น + 8
เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ - 13) หาร 2ความสูงที่ควรจะเป็น + 6

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความสูงตัวหลักๆ ได้แก่ โกรท์ฮอร์โมน จะช่วยเพิ่มการเติบโตของเชลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะเกือบทั่วร่างกาย โกรท์ฮอร์โมนจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากตอนเข้าสู่วัยรุ่น โดยที่ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) จะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โกรท์ฮอร์โมนทำงานได้ดีขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้หญิงจึงมีความสูงเพิ่มขึ้นก่อนเด็กชาย ประมาณ 2ปี ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตโกรท์ฮอร์โมนขึ้นมา ได้แก่

กรดอะมิโนที่ได้จากการรับประทานอาหาร เช่น Arginin, lysine, lucine
การนอนหลับ เนื่องจากร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนตัวนี้ขณะที่นอนหลับสนิทตอนกลางคืน ในช่วง 1-3ชั่วโมงแรก

กระดูก ความสูง และการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกเหมาะสมจะเป็นตัวกระตุ้นในการเสริมสร้างมวล กระดูกให้แข็งแรงมากขึ้น รวมถึงทำให้มีความสูงที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้ที่ออกกำลังกายโดยการเล่นบาสเกตบอล บัลเลต์ ยิมนาสติก ฟุตบอล เป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงจะมีมวลกระดูกมากกว่าคนที่ไม่ได้ออก กำลังกาย ขณะที่การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ จะมีมวลกระดูกต่ำกว่า โดยวัยที่สามารถเพิ่มการสะสมมวลกระดูกได้ดีที่สุดคือ เพศหญิง ช่วงอายุ 9-11 ปี ส่วนเพศชาย ช่วงอายุ 11-13 ปี

การ ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อการเติบโตของกระดูก หรือในผู้หญิงที่ออกกำลังกายมากเกินไป จนสัดส่วนของกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป โดยมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันในสัดส่วนที่มาก ส่งผลต่อวงรอบประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ





ขอบคุณบทความดีดีจาก : วิชาการดอทคอม
Create Date :05 เมษายน 2554 Last Update :5 เมษายน 2554 8:25:27 น. Counter : Pageviews. Comments :1