bloggang.com mainmenu search



“ควาย” ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย ซึ่งวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยชนบทในสมัยก่อน มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับควาย จนถึงปัจจุบันนี้ควายก็ยังมีความผูกพันธ์กับคนไทยอยู่ดี ถึงแม้ว่าอาจจะน้อยลงกว่าเดิมมาก เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยเรามากขึ้น ทำให้เราเห็นความสำคัญของควายน้อยลง

วันนี้เราจะพาไปรำลึกวิถีชีวิตเก่าๆ ของคนไทยที่ผูกพันธ์กับควายมาช้านาน ที่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ตามมากันเลยค่ะ






หมู่ บ้านอนุรักษ์ควายไทย - สุพรรณบุรี ทำการเปิดโครงการ เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2545 อย่างเป็นทางการ มีพื้นที่ 70 ไร่ ติดถนนทางหลวงหมายเลข 340 (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ 115-116 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของอำเภอศรีประจันต์ และจังหวัดสุพรรณบุรี บ้านควาย – สุพรรณบุรี เป็นโครงการที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยชนบทในสมัยก่อนซึ่งมีความ สัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับควาย และเป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง

บ้านควาย – สุพรรณบุรี ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักษาขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมซื่งเป็น มรดกของประเทศไทย นอกจากนี้โครงการบ้านควายยังสนองนโยบายของรัฐโดยการสร้างงานสร้างรายได้และ สร้างโอกาศให้แก่ชุมชน และชุมชนใกล้เคียงในการทำมาหากินและประกอบอาชีพเพื่อยังชีพอย่างพอเพียง โดยแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้านชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง

พิธีเปิดโครงการ บ้านควาย – สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2545 ในงานมีการจัดแสดงสินค้าหัตถกรรม “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” และกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น การประกวดควายงาม การแสดงความสามารถพิเศษของควาย และ วิ่งควาย





ผู้เข้าเยี่ยม ชมบ้านสามารถสัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบย้อนยุค และกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น การทำนาในแบบโบราณที่ยังใช้แรงงานจากควายและอุปกรณ์การทำนาแบบโบราณ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้าเยี่ยมพื้นที่จำลองในการแบ่งสันส่วน พื้นที่ทำเกษตกรรม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช และสวนผีเสื้อนานาพันธุ์ สวนกล้วยไม้ หมู่บ้านชาวนา และสวนสมุนไพร




รอบการแสดง - และเวลาเปิดทำการของบ้านควาย

การเปิดทำการ เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด เวลาเปิด เวลา 09.00 – 18.00 น.ค่าเข้าชม 150 บาท

รอบการแสดง วันธรรมดา มี 2 รอบ (วันจันทร์ – วันศุกร์)

- เวลา 11.00 – 11.30 น. และเวลา 15.00 – 15.30 น.

รอบการแสดง วันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 3 รอบ

-รอบเช้า เวลา 11.00 – 12.00 น.

-รอบบ่ายเวลา 14.30 – 15.30 น. และ 16.00 – 17.30 น.

ค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 100 บาท


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 0 2270 0395-7 สำนักงานสุพรรณบุรีโทร. 0 3558 1668




การเดินทางไปบ้านควาย

บ้าน ควาย ตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มีเนื้อที่ 114 ไร่ พื้นที่โครงการ 70% ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรี 20 กิโลเมตร ห่างจากตัว อ.ศรีประจันต์ ประมาณ 2 ก.ม.

การเดินทางโดยรถส่วนตัว

ถยนต์ สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้หลายเส้นทาง ดังนี้

1.จากกรุงเทพฯ ผ่านอ.บางบัวทอง ไปจนถึงตัวเมือง จ.สุพรรณบุรี หรือจากกรุงเทพฯ ผ่านนนทบุรี อ.บางบัวทอง ไปจนถึงตัวจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 ก.ม.

2.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.ปทุมธานี อ.ลาดหลุมแก้ว ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 115 ก.ม.

3.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.พระนครศรีอยุธยา ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 132 ก.ม.

4.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.สิงห์บุรี อ.เดิมบางนางบวช จนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 228 ก.ม.

5.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.อ่างทอง ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 150 ก.ม.

6.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.นครปฐม อ.กำแพงแสนไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 164 ก.ม.


การเดินทางโดยรถโยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิตกำแพงเพชร 2 และสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดสุพรรณบุรีทุกวันมีทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศไว้บริการ

-ติดต่อสอบถามราบละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 - 5378055

-รถธรรมดา โทร. 02 - 4345557 - 8

-รถปรับอากาศ โทร. 02-4351199-200

การเดินทางโดยรถไฟ

การ รถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจ.สุพรรณบุรีทุกวัน วันละ 1 เที่ยวใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟจ.สุพรรณบุรี และต้องต่อรถโดยสารไปอีก 20นาทีโดยประมาณเพื่อไปเที่ยวชมบ้านอนุรักษ์ควายไทยที่ อ.ศรีประจันต์ ซึ่งอาจจะดูไม่ค่อยสะดวกในการเดินทางนักสำหรับผู้ที่จะคิดเดินทางโดยรถไฟ





























ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.buffalovillages.com

Create Date :16 มีนาคม 2554 Last Update :16 มีนาคม 2554 15:39:47 น. Counter : Pageviews. Comments :2