
ตำแหน่งการวางซิลิโคนเมื่อเสริมหน้าอกคนไข้สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษาถึงแนวทางและบอกถึงความต้องการให้ทราบได้เพราะฉะนั้นก่อนการจะพูดคุยตกลงถึงตำแหน่งการวางซิลิโคนคุณหมอก็จะให้คำแนะนำและรายละเอียดถึงข้อดี ข้อเสีย ความแตกต่างของการวางในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาด้านกายภาพเดิม คนของไข้ เช่นความบางของผิวหนัง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังและเนื้อด้านข้างบริเวณหน้าอกของคนไข้ก่อน
ปกติการผ่าตัดศัลยกรรมหน้าอกจะมีตำแหน่งการวางซิลิโคน 2แบบคือ 1. วางบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก 2. วางใต้กล้ามเนื้อหน้าอก
1. วางเหนือกล้ามเนื้อหน้าอก
เหมาะผู้ที่มีเนื้อเต้านมอยู่แล้วพอสมควร และไม่เหมาะคนที่รูปร่างผอมวางใต้กล้ามเนื้อหน้าอกเพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ ยิ่งเนื้อเต้านมมีน้อย หรือบางจะยิ่งเห็นซิลิโคนชัดมาก แต่จะเจ็บน้อยกว่าเพราะไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อไม่ส่งผลใดๆ ต่อกล้ามเนื้อ และทำให้เต้านมชิดกันมากกว่า ตำแหน่งนี้มีโอกาสเกิดพังผืดสูงถ้านวดไม่ดีเวลาเกิดพังผืดรัด จะมองเห็นขอบเป็นริ้วๆและตัวเต้านมมีโอกาสคล้อยได้มากกว่า
ข้อดี คือ ได้รับความเจ็บปวดน้อยกว่า
ข้อเสียคือ มีโอกาสเกิดพังผืดสูงเต้านมมีโอกาสคล้อยได้มากกว่า
2. วางใต้กล้ามเนื้อหน้าอก
เหมาะ ผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย(คนไทยส่วนใหญ่จะเนื้อหน้าอกน้อย) ตำแหน่งนี้จะแลดูเป็นธรรมชาติที่สุด จะช่วยให้หน้าอกส่วนบนลาดลงดูเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นขอบโค้งไป เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อยวางแล้วมองไม่เห็นขอบซิลิโคลการสัมผัสจะได้รับความรู้สึกว่าจับเนื้อนมมากกว่า การเสริมหน้าอกแบบใต้กล้ามเนื้อจึงเป็นทางเลือกที่นิยมมากที่สุด
ข้อดี คือ ลดการเกิดผังผืด และดูเป็นธรรมชาติมากกว่าสัมผัสที่เนียนมากกว่า คลำไม่เจอซิลิโคน
ข้อเสียคือ หากเกร็งกล้ามเนื้อหน้าอกอาจจะมีอาการเจ็บได้
ข้อมูลของตำแหน่งการวางซิลิโคนศัลยกรรมหน้าอกที่นำมาฝากกันในวันนี้ อาจจะทำให้สาวๆ รู้มากขึ้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการรักษาและเทคโนโลยีการรักษาของแต่ละคลินิกด้วย และสำหรับสาวๆ ที่มีปัญหาหน้าอกเล็กและสนใจจะทำศัลยกรรมหน้าอก เราขอแนะนำ NidaEsth' คลินิกทำการรักษาโดย พตท.นพ ปิยะ รังรักษ์ศิริ ที่มีประสบการณ์ด้านการตกแต่งมานานกว่า 19ปี
- Comment