ท้องแบบไหนถึงผ่าคลอด ผ่าตัดคลอด หรือ Caesarean Section เป็นการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องบริเวณด้านล่างของมดลูก วิธีคลอดแบบนี้ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ และหมอสูติฯ ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกให้ผ่าตัดคลอดในกรณีที่จำเป็นจริงๆและก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกทางไหน... ผ่าตัดคลอดหรือคลอดธรรมชาติ อยากให้คุณพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้อย่างละเอียดค่ะผ่าตัดคลอดจำเป็นเมื่อ... *เด็กอยู่ในท่าผิดปกติภายในมดลูก เช่น อยู่ในท่าหันข้างเอาก้นลง หรือเอาเท้าลง ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะต้องเอาหัวลงจึงจะถือเป็นท่าปกติ *แม่มีความดันเลือดสูง (ครรภ์เป็นพิษ) หรือเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ *ตั้งท้องแฝดมากกว่าสองคน*ไม่มีความคืบหน้าในการคลอด เนื่องจากการกระตุ้นการคลอดไม่สำเร็จ *สายสะดือเคลื่อนออกทางช่องคลอด*รกเกาะตัวต่ำจนครอบบริเวณปากมดลูก*เด็กตัวโตมาก *การตกเลือดก่อนคลอด เนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนด ฯลฯยาชามีกี่แบบ แน่นอนค่ะ เมื่อผ่าตัดก็ย่อมต้องมียาชา ยาสลบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งวิธีการที่ใช้ในกระบวนการผ่าคลอดนั้นทำได้หลายวิธี ดังนี้ *ฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังแบบเอพิดูรัล (Epidural) ซึ่งนิยมกันมากที่สุด วิธีนี้แม่จะรู้สึกตัวตลอดระยะเวลาของการผ่าตัด เมื่อคลอดเสร็จจะสามารถอุ้มลูกได้ทันที การฉีดยาชาแบบนี้แม่จะได้ยินเสียงดูดของเหลวต่างๆ และรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในท้องและการดึงรั้งในขณะที่ลูกกำลังคลอด*ฉีดยาชาเข้าไปในช่องไขสันหลัง (Spinal Anaesthetic) วิธีนี้จะคล้ายคลึงกับวิธีแรก แต่ยาจะออกฤทธิ์เร็วกว่าและระยะเวลาสั้นกว่า ส่วนใหญ่หมอจะใช้ในกรณีฉุกเฉิน*ให้ยาสลบ (General Anaesthetic) วิธีนี้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเหมือนวิธีที่สอง และการผ่าตัดต้องทำในทันที โดยแม่จะเสียการรับรู้ทั้งหมดขั้นตอนการผ่าตัดคลอด 1. โกนขนบริเวณหัวหน่าว และทำความสะอาด2. ใส่สายสวนคาไว้ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อไม่ให้มีปัสสาวะค้าง3. ให้น้ำเกลือเข้าเส้นที่หลังมือ4. รัดสายวัดความดันที่แขน เพื่ออ่านความดันเลือดได้ตลอดเวลา5. คลุมผ้าสะอาดบริเวณที่จะผ่าตัด กั้นม่านไม่ให้แม่เห็นบริเวณที่จะผ่าตัด 6. เริ่มให้ยาชาเข้าไขสันหลัง รอเวลาให้ยาชาออกฤทธิ์เต็มที่ 7. เมื่อแน่ใจว่ายาสลบทำงานเรียบร้อยดีแล้ว หมอจะเริ่มผ่าบริเวณหน้าท้องด้านล่าง ซึ่งมักผ่าตามแนวที่เรียกว่า "บิกินี่" 8. ยกกระเพาะปัสสาวะขึ้น แล้วกรีดมีดที่มดลูก9. เจาะถุงน้ำแล้วดูดน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กออก10. ดึงตัวเด็กออกมา บางครั้งต้องใช้คีมดึงหัวออกมากรณีที่หัวอาจติดแน่นในช่องเชิงกราน11. ถ้าหมอฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังหรือเข้าไปในช่องไขสันหลัง เราอาจเห็นลูกขณะที่คลอดออกมา แถมยังได้ยินเสียง และได้อุ้มลูกในทันที12. ขณะที่ลูกคลอดจะมีการฉีดยาซินโทมิทรีนเพื่อช่วยให้รกลอกตัว และทำคลอดรก จากนั้นจึงเย็บปิดแผล13. หลังผ่าตัดเสร็จ แม่จะถูกพาไปห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดเพื่อเฝ้าดูอาการ ส่วนลูกอาจไปที่ห้องทารกแรกเกิดเพื่อเฝ้าดูอาการ ผ่าตัดคลอดดีกับแม่อย่างไร?ข้อดี*ช่วยชีวิตแม่ ในกรณีที่การคลอดนั้นๆ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพแม่ ข้อเสีย *เสี่ยงต่อการเสียชีวิต สูงกว่าคลอดธรรมชาติสองเท่า *เสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในช่องท้อง เพราะการผ่าตัดคลอดต้องผ่าเข้าทางช่องท้อง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง และเส้นเลือดต่างๆ*เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้แม่ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดนานออกไป และอาจส่งผลต่อการให้นมลูก *เสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน เพราะการผ่าตัดคลอดต้องใช้ยาชาหรือยาสลบ ซึ่งอาจมีผลแทรกซ้อนต่อแม่ได้*ตั้งท้องยากขึ้น เพราะหลังจากผ่าตัดคลอดครั้งแรกแล้ว โอกาสตั้งท้องครั้งต่อไปอาจเกิดภาวะการเคลื่อนตัวของไข่ได้ง่ายมากขึ้น ทำให้ท้องนอกมดลูกได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดอีกหน*รู้สึกผิดหวัง เพราะผู้หญิงบางคนเมื่อเป็นแม่ก็อยากจะรับรู้ความรู้สึกของความเป็นแม่ผ่านการคลอดเองตามธรรมชาติ ดังนั้นการผ่าตัดคลอดอาจทำให้แม่ไม่ได้ซึมซับความรู้สึกดังกล่าวได้ *แยกกันหลังคลอดทันที เพราะการผ่าตัดคลอดทั้งแม่และลูกจะต้องแยกกันอยู่คนละห้อง โดยลูกต้องอยู่ในห้องทารกแรกเกิด ส่วนแม่ต้องพักฟื้นในห้องผู้ป่วยนอก ตรงนี้ทำให้สายสัมพันธ์แรกคลอด (Bonding) ระหว่างแม่ลูกขาดหายไปได้ในระยะแรกๆ *ระยะฟื้นตัวจะยาวนานกว่า คือต้องรอให้แผลสมานกันดีประมาณ 1 เดือน ผ่าตัดคลอดมีประโยชน์กับลูกอย่างไร?ข้อดี*ช่วยชีวิตเด็ก ในบางกรณีการผ่าตัดคลอดจำเป็น เพื่อช่วยชีวิตเด็กเอาไว้*กระทบกระเทือนเด็กน้อยกว่า ในกรณีมีข้อสงสัยที่ว่าเด็กในท้องอาจมีปัญหา การผ่าตัดคลอดช่วยลดการกระทบกระเทือนต่อเด็กได้ เมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอด ข้อเสีย*ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเด็กที่ได้รับการผ่าตัดคลอดมักจะเป็นเด็กที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่จะคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องของการหายใจ บางรายอาจได้รับผลกระทบจากยาที่ใช้ในการผ่าตัด คือ ยาจะไปกดทางเดินหายใจของลูก ทำให้หายใจยากเข้าไปอีก *ผลกระทบจากยาชา เด็กบางคนอาจได้รับผลเสียจากการใช้ยาชาหรือยาสลบ*ผลกระทบจากมีดผ่าตัด ในบางกรณีเด็กบางคนอาจถูกมีดบาดในขณะที่หมอกรีดเปิดมดลูก*อาจมีปัญหาการหายใจ เพราะการผ่าตัดคลอดจำเป็นต้องนัดผ่า และอาจทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทำให้มีปัญหาการหายใจได้ เนื่องจากขาดฮอร์โมนบางชนิดที่เด็กสร้างขึ้นระหว่างการคลอดปกติ (ฮอร์โมนดังกล่าวทำหน้าที่เป็นสารเคลือบเยื่อบุปอด ทำให้ปอดขยายตัวเต็มที่ ส่งผลให้เด็กหายใจได้ตามปกติ)*สายสัมพันธ์แรกคลอดขาดหายไป เพราะการที่แม่และลูกต้องแยกจากกันทันทีหลังคลอด อาจส่งผลกระทบต่อสายสัมพันธ์แรกคลอดได้ *ลูกไม่ได้ดูดนมแม่ทันที เพราะหลังผ่าตัดคลอด ทั้งแม่และลูกต้องแยกกันอยู่คนละห้อง ทำให้โอกาสที่ลูกจะได้ดูดนมแม่น้อยลง จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าการผ่าตัดคลอดนั้นเป็นวิธีที่เฉพาะจริงๆ สำหรับแม่บางกรณีเท่านั้น ทีนี้ถ้าหมอคนไหนอยากลงมือเอามีดผ่าตัดโดยไม่บอกสาเหตุ หยิบยกข้อมูลนี้ท้วงติงเลยค่ะ จาก: รักลูก Create Date :08 มิถุนายน 2552 Last Update :23 กรกฎาคม 2552 20:41:20 น. Counter : Pageviews. Comments :0 twitter google