bloggang.com mainmenu search
lozocatlozocat
การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กและนับได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ อย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ตระหนักถึง ประโยชน์ของการเล่นที่มีต่อลูกน้อยชัดเจนยิ่งขึ้น ขอสรุปประโยชน์เป็นด้านๆดังนี้

1. ช่วยเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย

เมื่อเด็กๆได้วิ่งเล่น ออกกำลังปีนป่ายทั่วไป ได้ขว้างบอล ปั่นจักรยาน เล่นม้าโยกจะทำให้ร่างกายแข็งแรง อย่างที่ทราบกันดี นี่นคือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกอันได้แก่แขน ขา กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว การทรงตัว ได้พัฒนา ส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็กได้แก่ กล้ามเนื้อมือ ก็จะพัฒนาได้ดีเมื่อเด็กๆได้เล่นต่อบล๊อก วาดภาพ ร้อยลูกปัดระบายสี ตัดกระดาษ ซึ่งในการเล่นกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้มื่อและสายตาทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้สำคัญสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตเมื่อเด็กๆโตขึ้น เช่นถ้ามือและตาประสานกันไม่ดี จะติดกระดุมไม่ได้ จับดินสอ หรือหยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆไม่ได้ วึ่งกว่าจะทำไเด้อาจจะต้องใช้เวลามากกว่าเด็กที่ได้เล่นได้ฝึกมาก่อนแล้ว ทำให้ลูกเสียโอกาสในการพัฒนาไป

2. ช่วยเสริมพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญา

ข้างต้นได้พูดถึงเรื่องการเชื่อมโยงของเซลล์สมองเมื่อเด้กได้เล่นไปแล้ว เมื่อเซลล์ สมองมีการเชื่อมโยงมาก และหนาแน่น สติปัญญาของเจ้าตัวน้อยในด้านต่างๆ ก็จะพัฒนาตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิด สร้างสรรค์ จินตนาการ ความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การรู้จักลองผิดลองถูก เช่น เมื่อเล่นของเล่น บางครั้งเด็กๆไม่รู้หรอกว่าเล่นอย่างไรถึงจะสนุก เขาก็ลองหาวิธีเล่นจนได ้ การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เด็กเรียนรู้ได้จากการสัมผัส สิ่งที่ตนเล่น เพราะไม่ว่าการเล่นแบบใด เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งให้เด็กเรียนรู้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

การเล่นจะช่วยให้เด็กมีโอกาสตอบสนองความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น ของตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ ได้รับความรู้สึกนึกคิดระหว่างเล่น และเข้าใจ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ได้ลองผิดลองถูกจนหาข้อสรุปได้เอง ซึ้งนี่คือพื้นฐาน ของสติปัญญา นอกจากนี้ขณะเล่น เด็กยังได้ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เช่นการเล่นบล๊อกไม้หลายขนาด หลากสีสัน จะช่วยให้เด็กรู้จักกการเปรียบเทียบ ขนาดใหญ่ - เล็ก รู้จักสี รู้จักรูปทรง รู้จักผิวสัมผัส ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดได้ช้ามาก หากเด็กไม่ได้เล่น เราอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมคนบางคนถึงเก่งในเรื่องคำนวณ
ขนาดของพื้นที่นักหรือไม่ก็ เก่งในเรื่องการอ่านแผนที่ ดูแป๊บเดียวก้รู้ว่าจะไปทิศไหน เรื่องนี้นอกจากจะเป็นเรื่องของความถนัดแล้ว การได้เล่นเกี่ยวกับเรื่องขนาด รูปทรง มิติสัมพันธ์ในวัยเด็ก จะช่วยฝึกทักษะในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

3. ช่วยเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์

ขณะที่เด็กๆเล่น พ่อแม่จะได้ยินเสียงหัวเราะกิ๊กกั๊ก ได้เห็นรอยยิ้มสดใส ได้เห็นหน้า เอาจริงเอาจังกับการเล่นตรงหน้า เรียกได้ว่าการเล่นก่อให้เกิดความสุขสนาน เพลิดเพลิน เสริมสร้างสมาธิ ส่งเสริมให้เกิดความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง

หากพ่อแม่ได้ปล่อยให้ลูกได้เล่นตามความต้องการบ้างลูกจะมีความสุข นอกจากนี้การเล่น ยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน ช่วยระบายอารมณ์เมื่อ เด็กรู้สึกโกรธ วิตกกังวลหรือคับข้องใจเป็นการลดความก้าวร้าวและลดความไม่พึงพอใจ ที่ได้รับจากคนรอบข้าง การเล่นจึงเป้นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการที่จะผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางอารมณ์

ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชื่อดังได้กล่าวไว้ว่า การเล่นมีคุณค่าอย่างมากในแง่ ของการบำบัด เพราะการเล่นช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พอใจและความวิตก กังวลได้ เช่น เด็กผู้ชายได้เตะบอล ก็เป็นการระบายอารมณ์ เด็กผู้หญิงอิจฉา น้องใหม่ การเล่นบทบาทสมมุติกับตุ๊กตาก็จะช่วยระบายอารมณ์ออกมากับตุ๊กตา เป็นต้น ที่สำคัญยังช่วยฝึกให้เด็กเรียนรู้จักอารมณ์ ต่างๆของตัวเอง เช่น รู้ว่าอารมณ์ สนุกสนานเป็นอย่างไรอารมณ์ผิดหวังเสียใจเมื่อการเล่นไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ เป็นอย่างไรซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ต้องสอนให้เขาได้รู้จักควบคุมอารมณ์ต่างๆที่ขึ้นให้ได้ อย่างเหมาะสมหากเราอยากเห็นลูกเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี สดใส ร่าเริง ต้องเปิดโอกาส ให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่

4. ช่วยเสริมพัฒนาการด้านภาษา

การเล่นบางอย่างเด็กๆจะได้พูดเล่าเรื่องราวต่างๆออกมา เช่นขณะที่เขาเล่นบทบาท สมมุติกับตุ๊กตาตัวโปรดของเขา หรือกับการที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกอยู่เสมอ (ซึ่งทำได้ตั้งแต่แรกเกิด) การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง หรือแม้แต่การพูดคุยกันเอง ของเด็กในขณะที่เล่นด้วยกัน จะช่วยพัฒนาภาษของลูกได้อย่างดีทีเดียว

5. ช่วยเสริมพัฒนาการด้านสังคม

การเล่นจะช่วยทำให้เด็กๆ รู้จักที่จะเล่นร่วมกับผู้อื่น ช่วยทำให้มีโอกาสฝึกวิธีเข้าสังคม ฝึกการเรียนรู้ที่อยู่ร่วมกับคนอื่น เช่นรู้จักแบ่งปัน รู้จักรอคอย เช่นหากยังไม่ถึงทีเขา เขาก็ยังเล่นไม่ได้ต้องรอให้เพื่อนที่มาก่อนเล่นก่อน หรือการเล่นบางอย่างต้องเล่นไป ตามกฎกติกา จะเล่นตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องผลัดเปลี่ยนกันเล่น บางครั้งก็เป็นผู้นำ ในการเล่น บางครั้งก็เป็นผู้ตามที่ดี ช่วยให้เด็กๆได้ค่อยๆเรียนรู้ระเบียบกติกา ของสังคมซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมตัวลูกวัยนี้ให้รู้จักปรับตัวเข้ากับระเบียบสังคม เมื่อเขาโตขึ้นนอกจากนี้การเล่นยังสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ลูกด้วย
เพราะต้องเล่นร่วมกับคนอื่น หากเล่นโดยเอาแต่ใจตัวเอง เพื่อนที่เล่นด้วน กันจะไม่อยากเล่นด้วย

6. ช่วยเสริมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานที่สำคัญ

เพราะการเล่นจะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี รูปทรง ตำแหน่ง จำนวน หรือเรื่องราวที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต หรือที่เป็นพื้นฐาน ในการเรียน วิชาต่างๆ การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ผ่านการเล่นจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อว่าเด็กซึบซับได้ดีที่สุด เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากตัวของเขาเอง จึงเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

7. ช่วยให้พ่อแม่รู้จักลูกน้อยมากขึ้น

ขณะลูกเล่นหากพ่อแม่ได้สังเกตก็ทำให้รู้จักลูกน้อยในเรื่องต่างๆมากขึ้นรู้ว่าพัฒนาการ ด้านต่างๆของลูกน้อยเป็นอย่างไร เร็วช้าอย่างไร เช่น เมื่อถึงวัยที่ใช้มือหยิบจับของ ชิ้นเล็กๆได้แล้ว แต่ลูกน้อยยังจับไม่ได้ แสดงว่าพัฒนาการของกล้ามเนื้อนิ้วมือยังไม่พัฒนา ก็ต้องหาทางส่งเสริมกันต่อไป เป็นต้น รู้ว่าลูกมีปัญหาอะไรในใจหรือป่าว อารมณ์ ความรู้สึกความต้องการของลูกในขณะนั้นเป้นอย่างไร เพราะลูกอาจแสดงให้รู้ผ่านการพูดคุยกับตุ๊กตาหรือขณะเล่นบทบาทสมมุติ จะเห็นว่าการเล่นช่วยพัฒนาลูกได้รอบด้านทีเดียว ทำให้ลูกได้เรียนรู้โลก สังคม และรู้จักตัวเอง ได้ฝึกทักษะด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้เรื่องต่างๆต่อไป

คุณค่าของการเล่นบทบาทสมมุติ

ถึงวัยหนึ่ง เด็กๆจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ที่อบยู่ใกล้ชิด การเล่นบทบาทสมมุติจึงเป็นสิ่งที่เด็กชอบ ในขณะที่สวมบทบาทต่างๆเด็กได้ฝึกนึกคิดตาม ทำให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นเด็กชอบสมมุติตัวเองเป็นพ่อแม่ หรือเป็นสัตว์ที่ตัวเองชอบ เป็นหุ่นยนต์ตามหนังที่ได้ดู เด็กสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เขาชอบ เด็กผู้หญิงจะเล่นเป็นแม่โดยเอาตุ๊กตาเป็นลูกอาบน้ำ แต่งตัว ป้อนข้าวให้การเล่นบทบาทสมมุติเป็นการเล่นอิสระที่เด็กจะเล่นได้
เมื่อต้องการผู้ใหญ่ช่วยส่งเสริมด้วยการจัดอุปกรณ์ของเล่นให้


ที่มา : Plan toys

lozocat lozocat
Create Date :03 มิถุนายน 2552 Last Update :27 มิถุนายน 2552 9:11:13 น. Counter : Pageviews. Comments :0