bloggang.com mainmenu search


"การสอนลูกแบบชาวเยอรมัน"
134
     เด็กที่ถูกเลี้ยงอย่างพะเน้าพะนอจนเกินเหตุ
เมื่อเติบโตแล้วยากที่จะพึ่งพาตนเองได้
เด็กควรถูกฝึกให้รู้จักความยากลำบาก
เพื่อความอยู่รอดของตัวเขาเองในอนาคต
และเพื่อจะช่วยกันพัฒนาสังคม พัฒนาโลกให้เจริญยิ่งขึ้น




     เมื่อเด็กๆเจอปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ
ฝึกให้เขาจะรู้จักหาทางออก และมีความมั่นใจในตัวเอง
เด็กเยอรมันส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยวิธีนี้
เมื่อโตขึ้นพวกเขาจึงสามารถปลีกตัวออกจากอ้อมอกพ่อแม่
และสร้างอนาคตในวันข้างหน้าด้วยตัวเขาเอง


   

 ลองมาศึกษาหลักการใหญ่ๆที่ชาวเยอรมันปลูกฝังในตัวลูกๆของพวกเขา


1.   ฝึกฝนให้รู้ความเป็นอยู่ของผู้คนประเทศอื่น และความคิดเห็นของคนอื่น

     ทุกๆปี จะมีนักเรียนระดับมัธยมมากมาย ใช้เวลาช่วงปิดเทอมใหญ่ 
เดินทางไปยังประเทศต่างๆที่ค่อนข้างยากจนในแถบแอฟริกาหรืออเมริกาใต้
พวกเขาไม่ได้ไปเรียนหนังสือ ไม่ได้ไปหางานทำเพื่อหารายได้พิเศษ
แต่มักเป็นงานพวกอาสาสมัครหรือจิตอาสา
พวกเขาเดินทางไปเพื่อฝึกฝนให้ตนเองอยู่ให้ได้ในสภาพสังคมแบบนั้น
เด็กๆจะดูแลและะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างของตัวเขาเอง
สิ่งที่พวกเขาได้รับคือได้เข้าใจและซึมซาบความยากลำบากของสังคมคนจน
รู้ซึ้งถึงความยากลำบากของคนอื่น
แล้วจะได้สำนึกถึงความสุขสบายที่ตนเองได้รับอยู่ในทุกวันนี้
นี่เป็นบทเรียนล้ำค่าที่เด็กๆชาวเยอรมันจะได้สัมผัสในช่วงขีวิตที่พวกเขากำลังเติบโต




     2.   การได้รับมรดกมากมายอาจไม่ใช่สิ่งดี

     พ่อแม่ชาวเยอรมันเห็นว่า ลูกหลานได้รับมรดกมากมายอาจไม่ใช่สิ่งดี
มีสิทธิ์ผลักดันให้พวกเขาดำดิ่งสู่ความหายนะ
นักธุรกิจใหญ่หรือเศรษฐีมากมายในเยอรมนีจึงบริจาคเงินทองมากมายให้องค์กรกุศล
และมักได้รับการสนับสนุนจากลูกหลานของพวกเขาเอง
พวกเขาคิดว่าอยากได้สิ่งใดก็ควรสร้างด้วยตนเอง
ช่วยให้พวกเขารู้จักและหวงแหนในสิ่งที่ตนหามาด้วยตัวเอง
มันน่าภูมิใจกว่ามากมาย




     3.   ต้องรู้จักให้เกียรติคนอื่น ตนจึงจะมีศักดิ์ศรี

     ชาวเยอรมันมักยึดมั่นในความคิดที่ว่า
สังคมเป็นเรื่องของส่วนรวม 
ทุกคนต้องช่วยกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ตนจึงจะอยู่ร่วมด้วยอย่างมีศักดิ์ศรี
สังคมจะดีนั้น เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน


     มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ตอนไปเที่ยวเยอรมัน
เมื่อเดินออกจากห้องน้ำสาธารณะ
มีคุณแม่ชาวเยอรมันยืนอยู่หน้าห้องน้ำชายถามเขาว่า
เห็นลูกชายของเขาในห้องน้ำหรือเปล่า
ลูกเขาเข้าไปนานแล้ว เพื่อนจึงเดินกลับเข้าไปสำรวจให้เขา
แล้วก็พบเด็กชายเยอรมันคนหนึ่ง
อายุประมาณ 11-12 ขวบ อยู่ในห้องสุดท้ายของห้องน้ำ
เด็กบอกเขาว่ากำลังซ่อมคันโยกของชักโครกอยู่ เพราะมันเสีย
แต่เขาไม่ต้องการให้สิ่งปฏิกูลของเขาที่อยู่ในโถชักโครกไปรบกวนคนอื่น
การทำให้ผู้อื่นลำบากใจ ไม่ได้เป็นการให้เกียรติแก่ตนเองเลยสักนิด
พ่อแแม่ชาวเยอรมันสอนลูกด้วยวิธีนี้



 4.   ฝึกฝนศีลธรรม

     "ศีลธรรมที่ดีงามมาจากการซึมซาบ
ไม่ใช่มาจากการท่องจำ"
ในหลักสูตรของพวกเด็กนักเรียน
เขาสอนให้เด็กรู้จักดูแลตัวเองให้อยู่ได้กับสังคมอย่างมีระเบียบ
มีปัจจัยหลักๆที่เน้นเป็นพิเศษก็คือ
“รักชีวิต รักความยุติธรรม ซื่อสัตย์ และมีสัจจะ”
โรงเรียนจะเน้นให้นักเรียนศึกษาหลักการของศาสนาให้ลึกซึ้ง
ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ พุทธ หรือเต๋า
สิ่งดีงามที่ศาสนาบ่มเพาะไว้
ย่อมสามารถนำพาให้เด็กมีความคิดและมีความประพฤติที่ดีจากส่วนลึกของจิตสำนึก




     5.  เด็กๆชาวเยอรมัน เรียนหนังสือแค่ครึ่งวัน

     ครูบาอาจารย์ไม่ได้มุ่งยัดเยียดความรู้ให้นักเรียน
แต่มีการสอนแบบองค์รวมของวิชาต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยา มนุษย์ศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา และความรู้อื่นๆทั่วๆไป ให้เด็กสัมผัสรับรู้ถึงความรู้ขั้นพื้นฐานแบบสิ่งละอันพันละน้อย

     เขาฉลาดพอที่จะให้เด็กๆ รับรู้จากความรู้พื้นฐานทั่วๆไป
ให้เด็กเข้าใจสังคม ให้เด็กเข้าใจครอบครัว
และตั้งหัวข้อให้เด็กๆได้สนทนา แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
แสดงปาฐกถา และให้เด็กค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวพวกเขาเองหลังเวลาเรียน
นี่คือวิธีที่สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดของตัวเอง
ไม่ใช่ให้ท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง

     เด็กๆแม้อายุจะยังไม่มาก แต่ครูมักหาหัวข้อสังคมมาให้เด็กๆได้สนทนากัน
ได้แสดงความคิดเห็น เสนอหนทางแก้ไขหรือหาทางออก
นี่คือวิถีเส้นทางเติบโตของเด็กๆชาวเยอรมัน
ช่วยให้พวกเขาสามารถบ่มเพาะให้คิดเป็น คิดอย่างสร้างสรรค์และมีอิสระ




     6.  กิจกรรมร่วมกันคือวิธีของการอยู่ร่วมกัน

     ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมหรือกีฬาที่ทำร่วมกัน
เด็กๆจะถูกปลูกฝังให้รู้จักอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ
ส่งเสริมให้เด็กๆไปดูแลและสนทนากับคนแก่ในสถานเลี้ยงดูคนชรา
ร่วมกันเป็นจิตอาสาทำงานให้สังคม
เสริมสร้างให้เด็กๆมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมอย่างมีคุณค่า

     สังคมจะอยู่กันอย่างมีสำนึก
ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้า
ล้วนมาจากประชาชนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม
สำนึกในหน้าที่ของพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ


     การปลูกฝังสิ่งมีค่าเหล่านี้ไว้ในตัวเด็กตั้งแต่ก้าวแรกๆในสังคมของพวกเขา
เปรีบบเสมือนต้นกล้าที่ถูกบ่มเพาะดูแลอย่างดีที่ถูกวิธีตั้งแต่เริ่มแรก แล้วจะค่อยๆเติบโตเป็นต้นไม้ที่แข็งแรง มีรากที่สมบูรณ์และมั่นคง ยืนหยัดแข็งแกร่งอยู่ได้ด้วยตัวเขาเอง
แล้วพวกเขาก็จะรวมกันเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ให้คุณค่าให้ความร่มรื่นตลอดไป



www.facebook.com/Flintlibrary 

"ขจรศักดิ์" 
แปลและเรียบเรียง
Credit: kknews.com
ที่มา 
https://www.winnews.tv/news/26370

ขอบคุณของแต่งบล็อก...

132
ญามี่  / June July August / ชมพร  / เรือนเรไร  /  oranuch_sri / goffymew / Zairill
Create Date :08 สิงหาคม 2562 Last Update :8 สิงหาคม 2562 8:30:38 น. Counter : 1440 Pageviews. Comments :2