bloggang.com mainmenu search
อักขราทร จุฬารัตน์ศ.ดร.อักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกสื่อจับตาอาจจะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพ หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกโค่นอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : และปัจจุบันเขาเป็น 1 ใน 9 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องรับภารกิจสำคัญยิ่งของบ้านเมือง ในคดีตัดสินยุบพรรคการเมือง จำนวน 5 พรรค ในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2550

ที่ผ่านมา ศาลปกครองมีบทบาทสำคัญในการเบรคกระแสร้อนแรงทางการเมือง เช่น มีคำสั่งเพิกถอน พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการกำหนดอำนาจสิทธิประโยชน์บริษัท กฟฝ.จำกัด(มหาชน) 2548 และพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมาย ว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่าผลิตแห่งประเทศไทย 2548 และกรณีมีคำสั่งคุ้มครองการออกอากาศ "ไอทีวี" ชั่วคราว

อักขราทร จุฬารัตน เกิดเมื่อ 1 เมษายน 2483 อาวุโสสูงสุดในบรรดาประมุขทั้งสามศาล จบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้วเข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นสอบเนติบัณฑิตไทยได้

ต่อมา ได้รับทุนของ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยโรม ประเทศอิตาลี สำเร็จปริญญาเอก เป็นดอกเตอร์สาขากฎหมายมหาชน แล้วกลับมาทำงานในกระทรวงยุติธรรม เริ่มต้นในตำแหน่งเลขานุการกรรมการร่างกฎหมาย

ปี 2512 เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และมีผลงานวิชาการเป็นที่ยอมรับและรับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

ในปี 2548 คณะกรรมการมูลนิธิศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ มีมติมอบรางวัล "นักกฎหมายที่สมควรได้รับการยกย่องประจำปี 2548"

ก่อนหน้านี้ 25 เมษายน 2549 "อักขราทร" ได้นำคณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่เข้าปฏิญาณตัว และมีพระราชดำรัสให้แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีนัยยะสำคัญ

ล่าสุดเมื่อ 24 พฤษภาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ ในการวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองต่อประธานศาลปกครองสูงสุด และคณะตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จำนวน 20 คน ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย"เสื้อครุย" ตุลาการศาลปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

พระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า "...จะมีการตัดสินเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง เป็นการตัดสินที่สำคัญ ในใจมีคำตัดสินอยู่แล้วแต่บอกไม่ได้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินถูกต้องหรือไม่ ต้องวิจารณ์เป็นการส่วนตัว ผู้พิพากษาศาลอะไรก็ตาม ตีความแล้วต้องตีความให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองพัง"

ภาระกิจตัดสินคดียุบพรรคกาเมืองครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของสังคมการเมืองการปกครองประเทศไทยที่สำคัญยิ่ง

เป็นภาระกิจที่ อักขราทร จุฬารัตน์ ต้องนำใส่เกล้าในกระหม่อม นำไปสื่อความทำความเข้าใจต่อคณะตุลาการท่านอื่นๆ ด้วย

กรุงเทพธุรกิจ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

Create Date :26 พฤษภาคม 2550 Last Update :26 พฤษภาคม 2550 13:41:33 น. Counter : Pageviews. Comments :15