ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
5 มีนาคม 2554

ผีเสื้อเมืองไทย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

//www.thaitrip4u.com/Butterfly.asp

เครดิต wikipedia






ผีเสื้อ เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้ คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก


การจำแนกแบบอนุกรมวิธานพืช

การศึกษาว่าด้วยโครงสร้างและโมเลกุลทางพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ตามอนุกรมวิธาน (Taxonomic) ได้มีกำหนดมหาวงศ์เพิ่มเติมนอกจากข้างต้น เช่น ดาเนเด (Danaidae) เฮลิโคนีเด (Heliconiidae) ลิบีเทเด (Libytheidae) และ แซไทริเด


การจำแนกกลุ่มผีเสื้อกลางวันและกลุ่มผีเสื้อกลางคืน

การจำแนกผีเสื้อแบบแยกสองแฉก (dichotomous classification) เป็นกลุ่มผีเสื้อกลางวัน (buttefly) และกลุ่มผีเสื้อกลางคืน (moth) เป็นอีกวิธีในการจำแนกผีเสื้อที่นิยมมากนอกเหนือจากแบบอนุกรมวิธานพืช การจำแนกประเภทเป็นกลุ่มทั้งสองดังกล่าวนั้นกระทำได้โดยการสังเกตลักษณ์ จำเพาะของผีเสื้อ

การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ

  1. ระยะไข่ (Egg Stage)
  2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
  3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
  4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)

อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้ว จึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว

ระยะไข่

ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้


ระยะหนอน

ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน แมลงที่ลงทำลายพืชผลทางการเกษตรก็จะเป็นวัยนี้เกือบทั้งสิ้น

ระยะดักแด้

เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

ระยะเจริญวัย

ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย









Butterfly & Moth List
ผีเสื้อกะลาสีลายทึบ
ผีเสื้อกะลาสี
ลายทึบ
ผีเสื้อเจ้าชายดำขอบปีกเรียบ
ผีเสื้อเจ้าชายดำ
ขอบปีกเรียบ
ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ
ผีเสื้อจ่า
เส้นปีกดำ
ผีเสื้ออไซเรี่ยนเล็ก
ผีเสื้ออไซเรี่ยนเล็ก

ผีเสื้อปีกกึ่งหุบหางยาว
ผีเสื้อปีกกึ่งหุบหางยาว
ธรรมดา
ผีเสื้อองครักษ์
ผีเสื้อองครักษ์

ผีเสื้อแถบขาวใหญ่
ผีเสื้อแถบขาวใหญ่

ผีเสื้อช่างร่อน
ผีเสื้อช่างร่อน

ผีเสื้อตาลหางแหลมธรรมดา
ผีเสื้อตาลหางแหลม
ธรรมดา
ผีเสื้อเหลืองหนามใหญ่โคนปีกดำ
ผีเสื้อเหลืองหนาม
ใหญ่โคนปีกดำ
ผีเสื้อเหลืองหนามธรรมดา
ผีเสื้อเหลืองหนาม
ธรรมดา
ผีเสื้อตาลหนามดำ
ผีเสื้อตาลหนาม
ดำ
ผีเสื้อไกเซอร์ดำ
ผีเสื้อไกเซอร์
ดำ
ผีเสื้อหนอนใบรักฟ้าใหญ่
ผีเสื้อหนอนใบรัก
ฟ้าใหญ่
ผีเสื้อหนอนใบรักตาลแดงธรรมดา
ผีเสื้อหนอนใบรัก
ตาลแดงธรรมดา
ผีเสื้อหนอนใบรักลายเสือ
ผีเสื้อหนอนใบรัก
ลายเสือ
ผีเสื้อหนอนใบรักสีตาล
ผีเสื้อหนอนใบรัก
สีตาล
ผีเสื้อหนอนใบรักขีดยาว
ผีเสื้อหนอนใบรัก
ขีดยาว
ผีเสื้อเจ้าป่า
ผีเสื้อเจ้าป่า


ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
แบบ Pomana

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
แบบ Catilla

ผีเสื้อลายเขาสูง
(เพศผู้)

ผีเสื้อเสือดาวใหญ่


ผีเสื้อกะลาสีแดง
ธรรมดา

ผีเสื้อใบไม้ใหญ่
อินเดีย(เพศผู้)

ผีเสื้ออาชดุ๊คธรรมดา
(เพศผู้)

ผีเสื้อแพนซี
เหลือง

ผีเสื้อจรกา
หนอนยี่โถ

ผีเสื้อหนอนกาฝาก
ใต้ปีกแดง

ผีเสื้อหนอนกาฝาก
ธรรมดา

ผีเสื้อหนอนใบกุ่ม
ธรรมดา

ผีเสื้อหนอนมะนาว


ผีเสื้อหางติ่งเฮเลน


ผีเสื้อพุ่มไม้
ธรรมดา

ผีเสื้อหางพริ้ว


ผีเสื้อขาวหางริ้ว


ผีเสื้อหนอนพุทรา
แถบตรง

ผีเสื้อหนอนพุทรา
ธรรมดา

ผีเสื้อหนอนพุทรา
แถบฟ้า

ผีเสื้อจุดเหลี่ยม
พม่า

ผีเสื้อจุดเหลี่ยม
นายมัวร์

ผีเสื้อหน้าเข็ม
แถบขาวเหลือบเขียว


ผีเสื้อกลางวัน Butterfly
ผีเสื้อจุดเหลี่ยมพม่า
วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Skippers)
Family Hesperiidae

ขนาด: เล็ก - กลาง
ลักษณะนิสัย:
มีหลายวงศ์ย่อยนิสัยแตกต่างกัน

ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายคลึงกับผีเสื้อกลางคืนมาก ปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม
เล็กและสั้น บินเร็วมาก มักมองตามไม่ค่อยทัน หัวโต ตากลม
และมีขนปกคลุมค่อนข้างมาก ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี
หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว ปลายหนวดมักโค้งงุ้มลงเล็กน้อย ลำตัว: อวบสั้น
จำนวนชนิด:
ทั่วโลก: >3,658 ประเทศไทย: >273 2T4U.com: 3
ผีเสื้อหนอนพุทราแถบตรง
วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน
Family Lycaenidae

ขนาด: เล็กมาก - กลาง
ลักษณะนิสัย: ขณะลงเกาะมักจะหุบปีกตั้งตรง นิ่ง และมักจะยกด้านท้ายให้สูงกว่า

ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็ก ปีกบนมีสีออกโทน น้ำเงิน ฟ้า เขียว หรือ ทองแดง
หลายชนิดที่ปลายปีกคู่หลังจะจุดสีดำ และหางยื่นออกมาคล้ายหนวด เพื่อลวง
ศัตรู ให้คิดว่าเป็นส่วนหัว เพศเมียขาทั้ง 3 คู่ สมบูรณ์ ส่วนเพศผู้ขาคู่หน้า
มีขนาดเล็กกว่าปกติ
หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว ยาวสมส่วน
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >6,564 ประเทศไทย: >369 2T4U.com: 7
ผีเสื้อกะลาสีลายทึบ
วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่
Family Nymphalidae

ขนาด: เล็ก - ใหญ่
ลักษณะนิสัย: เนื่องจากมีหลายวงศ์ย่อย และแต่ละวงศ์ย่อยก็มีนิสัยเฉพาะ

ผีเสื้อในวงศ์นี้มีหลายวงศ์ย่อย และค่อนข้างหลากหลายมาก ทั้งสีสัน และรูปทรง
ของปีก แต่จุดสังเกตุหลักคือผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาที่สมบูรณ์เพียง 2 คู่เท่านั้น
โดยขาคู่หน้าจะหดสั้นลงเหลือเพียงก้านเล็กๆ และมีขนปกคลุมอยู่ เป็นที่มาของชื่อวงศ์
หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว ตรง บางวงศ์ย่อยปลายหนวดจะงุ้มลง ลำตัว ยาวสมส่วน
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >7,461 ประเทศไทย: >367 2T4U.com: 25
ผีเสื้อหนอนมะนาว
วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง
Family Papiliondae

ขนาด: กลาง - ใหญ่
ลักษณะนิสัย: ส่วนใหญ่พบอยู่โดดๆ ไม่ค่อยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ บินได้นานและเร็ว
ขณะลงเกาะมักจะขยับปีกอยู่ตลอดเวลา พบเห็นได้ง่ายเนื่องจากมีขนาดใหญ่

ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีขนาดใหญ่ และมีหางยื่นออกมาจากปีกคู่หลัง อันเป็นที่มาของ
ชื่อวงศ์ โดยที่หางก็จะมีรูปร่างต่างกันออกไป ขาทั้ง 3 คู่ เรียวยาวสมบูรณ์ใช้งานได้
ตามปกติ ปีกใหญ่
หนวด:รูปก้านไม้ขีด ยาว และมักจะงอนชี้ขึ้นด้านบน ลำตัว:เพรียวยาว
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >572 ประเทศไทย: >64 2T4U.com: 2
ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ
Family Pieridae

ขนาด: กลาง - ใหญ่
ลักษณะนิสัย: มักรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ โดยรวมกลุ่มกันลงกินอาหารตามพื้นดิน
แฉะๆ หลายชนิดชอบบินอพยพย้ายถิ่นหากินเป็นกลุ่มๆ ชอบบินเนิบๆ ไม่รีบร้อน

ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีโทนสีพื้น ขาว เหลือง ครีม ส้ม เป็นหลัก
ปีกคู่หลังโค้งมน ไม่มีรอยเว้าหยัก หรือมีติ่งยื่นออกไปเป็นพิเศษ
ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี
หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว: ยาวสมส่วน
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,222 ประเทศไทย: >58 2T4U.com: 4
ผีเสื้อกลางคืน Moths
ผีเสื้อทองเฉียงพร้า
วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ
Family Geometridae

ขนาด: กลาง - ใหญ่
ลักษณะนิสัย:
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >15,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0

ผีเสื้อไม่ทราบชื่อ
วงศ์ผีเสื้อนกเค้า หรือ ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Owl Moths)
Family Noctuidae

ขนาด: เล็ก - ใหญ่มาก
ลักษณะนิสัย:
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >25,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0
ผีเสื้อยักษ์
วงศ์ผีเสื้อจักรพรรดิ์ หรือ ผีเสื้อยักษ์ (Emperor Moths)
Family Saturniidae

ขนาด: ใหญ่มาก - ใหญ่ที่สุดในโลก
ลักษณะนิสัย:
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0
ผีเสื้อไม่ทราบชื่อ
วงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว (Hawk Moths)
Family Sphingidae

ขนาด: กลาง - ใหญ่
ลักษณะนิสัย:
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0



Create Date : 05 มีนาคม 2554
Last Update : 5 มีนาคม 2554 9:34:03 น. 0 comments
Counter : 1593 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]