ตัวอย่างหน้า blog

...ส บ า ย ๆ ส ไ ต ล์ มื อ ไ ม่ PRO แ ถ ม ยั ง... LOWFESSIONAL ...

R5, R8 Roland RhythmBox Fillin


[รวมเรื่องที่ผ่านมา]
R5 และ R8 เป็นริทึ่มบอกซ์ หรือกลองไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต ในปัจจุบันก็ยังมีใช้งานกันอยู่ นอกจากเสียงที่เป็นมาตรฐานระดับคุณภาพของโรแลนด์แล้ว ความพิเศษของกลองไฟฟ้ารุ่นนี้ก็คือ สามารถแยกชิ้นกลองออกไปเข้ามิกซ์แต่ละช่องได้เลย โดย R8 แยกไปได้ 8 ชิ้นกลอง และ R5 แยกไปได้ 4 ชิ้นกลอง

ข้อดีของการแยกชิ้นกลองไปเข้ามิกซ์แต่ละช่องก็คือ สามารถปรับแต่งเสียงให้ทุ้มแหลม หรือใส่เอฟเฟคส์ต่างๆได้โดยอิสระ เช่น เสียงกระเดื่องเอาให้ทุ้มหนักตึ้บๆ ส่วนสะแนร์ก็ต้องปรับให้ออกกลางๆไปถึงแหลม เพื่อให้ได้เสียงแซ่ติดไปด้วย ส่วนไฮแฮทก็ปรับให้ใสได้เท่าที่อยากได้ อย่างนี้เป็นต้น

นับถอยหลังไปราวๆ 10 กว่าปี ผมก็มีโอกาสได้ใช้งาน R5 กับเขาเหมือนกัน ในขณะที่ใครๆเขาพากันสนุกกับการแยกชิ้นกลองไปเข้ามิกซ์ แต่ผมมองเห็นความสามารถนี้ในอีกมุมมองหนึ่ง

ในการเล่นดนตรีสดๆตามร้านอาหาร มือกลองเป็นตำแหน่งที่หาทำยายากกว่าตำแหน่งอื่น อีกทั้งการมิกซ์เสียงกลองสดๆตามร้านอาหารเล็กๆก็ทำยากมาก จึงนิยมใช้กลองไฟฟ้ามาทำหน้าที่แทน

ลองยกตัวอย่างโดยทั่วๆไป การโปรแกรมจังหวะกลองเข้าไปเพื่อใช้ในการเล่นสดๆจะเป็นดังนี้
- แพทเทอร์น 01 ตั้งเป็นจังหวะโซล
- แพทเทอร์น 02 ตั้งเป็นจังหวะส่ง
1. เมื่อเล่นเพลงไปในจังหวะที่ 01 ก่อนถึงห้องที่จะเป็นจังหวะส่ง 1 ห้อง นักดนตรีที่ควบคุม R5 จะต้องกด + เพื่อให้จังหวะส่งใน 02 เข้ามารอไว้
2. พอเพลงเล่นครบห้องในจังหวะ 01 เครื่องก็จะเล่นจังหวะส่งใน 02 ให้เรา
3. ในขณะที่เครื่องกำลังเล่นจังหวะส่งนั้น เราจะต้องรีบกด - เพื่อให้จังหวะที่ 01 เข้ามารอในคิว
4. เมื่อเครื่องเล่นจังหวะส่งใน 02 ครบห้องแล้ว ก็จะมาเล่นจังหวะปกติใน 01 ตามที่เรากดรอไว้

จะเห็นว่าวุ่นวายน่าดู ต้องคอยกะจังหวะก่อนถึงห้องส่งจริง แล้วก็ต้องพะวงคอยกดกลับ มือไม้เป็นระวิงกันเลยทีเดียว ที่สำคัญคือมันไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการเล่นดนตรี บางครั้งมีอารมณ์อยากจะส่งกลองสัก 2-3 เม็ดก็ทำไม่ได้ ต้องกดก่อนถึงห้องส่ง พอถึงห้องส่งมันก็จะต้องเล่นยาวเต็มห้องนั้นอีก ถ้ากดช้าไป มันก็เลยห้องที่จะส่งไปอีกห้องนึง นักร้องก็งงหันหน้าหันหลัง โอ๊ย...เครียดครับ

ย้อนกลับไปที่ R5 อีกครั้ง นอกจากมันจะแยกชิ้นกลองมาออกที่ช่องต่างๆ 4 ช่องแล้ว ความสามารถอีกอย่างก็คือ เขาได้เตรียมพื้นที่ว่างๆไว้อีกส่วนนึง เอาไว้ให้เราสามารถคัดลอกชิ้นกลองที่มีอยู่ นำไปสร้างเป้นชิ้นกลองอันใหม่ เพื่อให้สามารถปรับแต่งเสียงให้แตกต่างจากเดิมได้ เช่น เสียงสแนร์ไฟฟ้า ของเดิมอาจจะเสียงกลางๆ ซึ่งเราก็ยังต้องใช้อยู่ แต่บางเพลงต้องการเสียง "โป๊งๆ" เราก็ทำการคัดลองสแนร์เดิมไปเป็นสแนร์อีกอัน แล้วปรับแต่งเสียงให้ "โป๊งๆ" ได้อย่างที่ต้องการ

สมมติว่าผมจะทำจังหวะ 3 ช่า ที่แพทเทอร์น 01
1. ผมคัดลอกชิ้นกลองหลักๆออกมาอีก 2 กลุ่ม เสียงเดียวกันเป๊ะๆ
2. กลุ่มต้นแบบเดิม ผมตั้งค่าให้ไปออกที่ช่อง M4 โดยโปรแกรมให้เป็นจังหวะหลัก
3. กลุ่มที่คัดลอกออกมาครั้งที่ 1 ในแพทเทอร์นเดียวกับข้อ 2. ผมโปรแกรมให้เป็นลูกส่งกลองแบบที่ 1 ตั้งให้ออกที่ช่อง M1
4. กล่อมที่คัดลอกออกมาครั้งที่ 2 ในแพทเทอร์นเดียวกับข้อ 2. ผมโปรแกรมให้เป็นลูกส่งกลองแบบที่ 2 ตั้งให้ออกที่ช่อง M3

นั่นคือ ในแพทเทอร์น 01 จะมีจังหวะ 3 ช่า และลูกส่งอีก 2 แบบอยู่ข้างใน

 

Last Update : 27 พฤศจิกายน 2554
16:28:31 น.

Your name
 

Location :

Free Domain Names @ .co.nr!

 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com