ตัวอย่างหน้า blog

ใดๆในโลกล้วนเป็นสิ่งสมมติ

มหากาพย์อุลตร้าแมน ตอนที่2/6 (ไม่ได้เขียนเอง Credit Henshin Club

มหากาพย์อุลตร้าแมน ตอนที่2/6 (ไม่ได้เขียนเอง Credit Henshin Club)

ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์วงการฮีโร่ที่สำคัญ เลยขออนุญาตก๊อปของBlogของตัวเอง ขอให้CREDIT HENSHIN CLUB และคุณBooska ผู้เขียนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ คนที่มีฮีโร่เป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆอย่างในชีวิต

ตอนที่ ๕ ใช้หนี้ด้วยกระดาษชำระ ?

สมโพธิอ้างว่าโนโบรุเดินทางมาหาเขาในปี 2513 หรือ 1970 (หน้า 65 ในหนังสือความลับของยอดมนุษย์ อุลตร้าแมน ซึ่งอันนี้ผมว่าแปลกเพราะฮาจิเมะยังดูแลธุรกิจอยู่จนถึงต้นปี 2516 หรือ 1973 และเวลานั้นโนโบรุยังไม่มีอำนาจตัดสินใจในการบริหารบริษัทฯ เว้นเสียแต่ว่าโนโบรุรับงานเจรจา “ลับเฉพาะ” จากพี่ชาย แต่ผมดูบุคคลิกและนิสัยของโนโบรุแล้ว ยากจะเชื่อว่าเขาจะมารับงานหนักหนาสาหัสแบบนี้ในเวลานั้น) โดยบอกกับเขาว่า “ซื้อตั๋วเครื่องบินมาเที่ยวเดียว ต้องการให้เขาช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นกลับญี่ปุ่นไม่ได้” ทั้งยังอยากจะขายบริษัทฯทิ้ง

ตนเองจึงหาทางช่วยเหลือ ด้วยการติดต่อคุณชูชีพ ปัญจะสังข์ ผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศช่วยซื้อภาพยนตร์อุลตร้าแมน 3 ชุด เป็นเงินราว 2 หมื่นดอลล่าร์ (สรอ) และตัวเองซื้อ 2 ชุดรวมเป็นเงิน 18,000 ดอลล่าร์ เลยทำให้โนโบรุมีเงินซื้อตั๋วเครื่องบินกลับบ้านพร้อมเงินสดติดมืออีก เกือบ 4 หมื่นดอลล่าร์

คนไทยก็เลยได้มีโอกาสชมอุลตร้าแมนและจัมโบ้เอทางทีวีเป็นครั้งแรก (จากหน้า 67) ซึ่งข้อความนี้ก็ไม่ถูกต้องเพราะอุลตร้าแมนมาฉายทางทีวีก่อนหน้านั้น (คือก่อน พ.ศ. 2513) โดยซื้อลิขสิทธิ์มาจากยูไนเต็ด อาร์ติส อเมริกา คนแก่ๆอย่างผมจำได้ว่าเพลงไตเติ้ลยอดมนุษย์นั้นเป็นภาษาฝรั่งและฉายวันพฤหัสตอนพลบค่ำครับ ส่วนตอนแรกน่าจะฉายในราวๆเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2510




ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนตัวจริงอุลตร้าแมนเนื้ออุ่นๆผู้ใจดี

ไหนๆก็พาย้อนยุคแล้ว...สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นอุลตร้าแมนในเมืองไทยนั้น ครั้งแรกตีพิมพ์ลงใน การ์ตูนเด็ก (ของคุณอา ไพบูลย์ วงศรี ปรมาจารย์ผู้บุกเบิกการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยคนแรก) ฉบับที่ 7 แต่ยอดมนุษย์ของเราได้มาลงปกในเล่มต่อมา ( เล่ม 8 )

การ์ตูนเด็กฉบับปฐมฤกษ์วางขายเดือนมีนาคม ปี 2508 ดังนั้นเล่ม 7 ก็คงราวๆปลายปีเดียวกันหรือไม่ก็ต้นปี 2509 ครับ




ภาพจากป๋าสมบุญ (BOON) แฟนอุลตร้าแมนอีกคนผู้มากน้ำใจ (เฉพาะผู้หญิง)

ความสัมพันธ์ระหว่างสมโพธิกับโนโบรุพัฒนาไปด้วยดี จนกระทั่งสมโพธิเสนอจ้างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ผลิตหนังโรง “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” ในปี 2516 โดยเอาฟิล์มหนังทีวีจัมโบ้เอมาตัดต่อและถ่ายเพิ่มในโรงถ่ายซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เพื่อลดต้นทุน หนังเรื่องนี้เดิมจะลงทุนโดยไชโยเป็นเงิน 2 หมื่นดอลล่าร์และบริษัทฮูหลงฟิล์มของไต้หวันร่วมลงทุนอีก 3 หมื่น รวมเป็น 5 หมื่นดอลล่าร์ แต่ก่อนถ่ายฮูหลงถอนตัวทำให้สมโพธิต้องลงทุนเองทั้งหมด ทางโนโบรุจึงลดราคาให้ 5 พัน

ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ ออกฉายครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2517 ที่โรงหนังโคลีเซี่ยม ที่มีหุ่นจัมโบ้เอกับยักษ์วัดแจ้งตั้งอยู่หน้าโรง เด็กๆเต็มไปหมดทำผมหลงกับคนอื่นๆจนต้องนั่งรถเมล์กลับบ้านเอง







หลังถ่ายทำ สมโพธิฝากฟิล์มเนกาตีฟต้นฉบับเก็บไว้ที่ญี่ปุ่นเพราะเมืองไทยอากาศร้อน (ฟิล์มจะทำปฏิกิริยากับอากาศที่เรียกว่า อ๊อกซิเดชั่น คือลุกเป็นไฟ มิฉะนั้นต้องเก็บในห้องแอร์ 24 ชั่วโมงซึ่งจะแพงมาก) แต่สมโพธิอ้างว่าโนโบรุแอบเอาเนกาตีฟฟิล์มไปขายให้บริษัทฮูหลงในราคา 3 หมื่นดอลล่าร์เอาเงินเข้ากระเป๋าโดยไม่บอกสมโพธิ

แต่เพราะสำนึกในบุญคุณของเอยิ ซึบูราญ่า สมโพธิบอกว่าเขายังคงว่าจ้างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ สร้างหนังโรงอีกเรื่องคือ “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” เป็นเงิน 9 หมื่นดอลลาร์ โดยใช้ฟิล์มหนังทีวี 16 มม. บางส่วนของอุลตร้าแมนทาโร่มาขยายเป็นฟิล์ม 35 มม. แต่การถ่ายทำมีงบเกินเลยจนกลายเป็น 1 แสน 2 หมื่นดอลล่าร์






รูปนี้มีความหมายครับดูดีดี รูปนี้ถ่ายที่หน้าโรงหนังเฉลิมกรุง ตรงกลางรูปมีชายที่ยกมือขวาขึ้น นั่นคือ โนโบรุ ซึบูราญ่า และที่เขาอุ้มอยู่ในมือข้างซ้ายนั่นคือ พีระศิษฎ์ แสงเดือนฉาย อายุใกล้จะ 4 ขวบ กำลังยกมือซ้ายชูขึ้นเหมือนกัน

พีระศิษฎ์บอกว่ามือขวาเขากำเช็คที่ได้มาจากโรงหนังโดยมีมารดายืนอยู่ด้านข้างและพี่สาวอีก 2 คน (หน้า 91 หนังสือ อุลตร้าแมน เป็นของใคร)


หนังโรงเรื่อง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” ฉายวันแรกในไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2517



ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนอุลตร้าแมนผู้ใจดี

สมโพธิบอกว่าหนังทำรายได้ถล่มทลาย เจ็ดวันล้าน (หน้า 78 แต่หลักฐานโฆษณาในหนังสือพิมพ์ปี 2517 บอกว่า 9 วันล้าน ความทรงจำคนเรามันมักเลือนไปตามกาลเวลา) สมโพธิยังเคยเล่าเรื่องที่ต้องซื้อน้ำแข็งมากมายมาใช้ในโรงหนังเฉลิมกรุงเพราะต้องเสริมเก้าอี้มากมายทุกรอบ จนแอร์รับไม่ไหว...



ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนอุลตร้าแมนผู้ใจดี

หนังเรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 25 เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติเนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555 อันเป็นที่ถกเถียงกันพอควรในหลายๆเวป





พิริยะสาส์น ฉบับพิเศษ ราคา 5 บาท ขายดิบขายดีจนหมดทุกแผงสมัยนั้น

จากประสพการณ์ครั้งก่อน เนกาตีฟฟิล์มเรื่องนี้จึงถูกนำไปเก็บไว้ที่บริษัทโตเกียวแล็ปในนามของสมโพธิเอง

ข่าวความดังของหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ไปถึงฮ่องกง (ที่มีคนบ้าอุลตร้าแมนไม่แพ้เมืองไทย) ในปี 2518 เซอร์ รันรัน ชอว์ เจ้าของชอว์ บราเธอร์ เสนอซื้อสิทธิ์จัดจำหน่ายหนังเรื่องนี้ในเอเซียตะวันออกเป็นเวลา 7 ปีด้วยจำนวนเงิน 120,000 ดอลล่าร์

สมโพธิอ้างว่าติดงานถ่ายของไชโยจึงไหว้วานให้โนโบรุเดินทางไปส่งเนกาตีฟฟิล์มหนังหนุมานฯให้ชอว์บราเธอร์ที่ฮ่องกง (อีกแล้ว !) และโนโบรุเอ่ยปากขอยืมเงินจำนวน 120,000 ดอลล่าร์เป็นเวลา 1 ปี (นี่ก็เอาอีกแล้ว !) ซึ่งทางสมโพธิอ้างว่ามีรายได้จากหนัง 3 เรื่องก่อนคือ ท่าเตียน ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ และ หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ มากมาย จึงเห็นว่าเงินเพียง 120,000 ดอลล่าร์ย่อมสามารถให้โนโบรุยืมไปใช้เพื่อทดแทนบุญคุณอาจารย์ได้

ทว่าก่อนโนโบรุเอาเนกาตีฟฟิล์มไปส่งให้ชอว์ บราเธอร์ สมโพธิบอกว่า โนโบรุกลับแอบเอาเนกาตีฟฟิล์มไปก็อปปี้และเอาไปขายไต้หวันได้เงินอีก 8 หมื่นดอลล่าร์เข้ากระเป๋าแล้วจึงเอาเอกสารอนุญาตฉายหนังในไต้หวันให้สมโพธิลงลายมือชื่อภายหลัง

เรื่องราวตรงนี้ผมว่ามันทะแม่งๆ สมโพธิโดนโกงครั้งก่อนแต่เขาก็ยังเชื่อใจให้โนโบรุโกงอีก 2 ครั้งติด เรื่องแรกคือขโมยก็อปเนกาตีฟ เรื่องสองคือเอาไปขายไต้หวันเอาเงินเข้ากระเป๋าและผิดสัญญากับชอว์ บราเธอร์ นิยายเรื่องนี้บอกว่า โนโบรุคือจอมโกหก คดโกง ถ้าลุงปล่อยเลยตามเลยไปก็ต้องบอกว่า “นายแน่มาก !” เลยทำให้ผมสงสัยว่า เรื่องสัญญาโอนสิทธิ์จะเป็นนิยายแบบเดียวกันหรือเปล่า ?

เมื่อถึงกำหนดคืนเงิน 120,000 ดอลล่าร์ในปี 2519 สมโพธิบินไปญี่ปุ่นเพื่อทวงถาม แต่โนโบรุกลับบอกสมโพธิว่าไม่มีเงิน (ไม่หนี ไม่จ่าย) แต่จะขอยกลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุ่นใช้หนี้แทน

สมัยนั้นกฏหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ยังไม่มีการบังคับใช้จริงจัง บทลงโทษก็แสนถูก ราคาลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนจึงแทบไม่มีมูลค่าทางการค้าแต่อย่างใด เขาจึงอ้างว่า “จำใจรับข้อเสนอโนโบรุ”

เปรียบเหมือนได้ชำระหนี้เป็นกระดาษชำระติดมือกลับมาม้วนหนึ่ง...

ตอนที่ ๕ ใช้หนี้ด้วยกระดาษชำระ ?

สมโพธิอ้างว่าโนโบรุเดินทางมาหาเขาในปี 2513 หรือ 1970 (หน้า 65 ในหนังสือความลับของยอดมนุษย์ อุลตร้าแมน ซึ่งอันนี้ผมว่าแปลกเพราะฮาจิเมะยังดูแลธุรกิจอยู่จนถึงต้นปี 2516 หรือ 1973 และเวลานั้นโนโบรุยังไม่มีอำนาจตัดสินใจในการบริหารบริษัทฯ เว้นเสียแต่ว่าโนโบรุรับงานเจรจา “ลับเฉพาะ” จากพี่ชาย แต่ผมดูบุคคลิกและนิสัยของโนโบรุแล้ว ยากจะเชื่อว่าเขาจะมารับงานหนักหนาสาหัสแบบนี้ในเวลานั้น) โดยบอกกับเขาว่า “ซื้อตั๋วเครื่องบินมาเที่ยวเดียว ต้องการให้เขาช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นกลับญี่ปุ่นไม่ได้” ทั้งยังอยากจะขายบริษัทฯทิ้ง

ตนเองจึงหาทางช่วยเหลือ ด้วยการติดต่อคุณชูชีพ ปัญจะสังข์ ผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศช่วยซื้อภาพยนตร์อุลตร้าแมน 3 ชุด เป็นเงินราว 2 หมื่นดอลล่าร์ (สรอ) และตัวเองซื้อ 2 ชุดรวมเป็นเงิน 18,000 ดอลล่าร์ เลยทำให้โนโบรุมีเงินซื้อตั๋วเครื่องบินกลับบ้านพร้อมเงินสดติดมืออีก เกือบ 4 หมื่นดอลล่าร์

คนไทยก็เลยได้มีโอกาสชมอุลตร้าแมนและจัมโบ้เอทางทีวีเป็นครั้งแรก (จากหน้า 67) ซึ่งข้อความนี้ก็ไม่ถูกต้องเพราะอุลตร้าแมนมาฉายทางทีวีก่อนหน้านั้น (คือก่อน พ.ศ. 2513) โดยซื้อลิขสิทธิ์มาจากยูไนเต็ด อาร์ติส อเมริกา คนแก่ๆอย่างผมจำได้ว่าเพลงไตเติ้ลยอดมนุษย์นั้นเป็นภาษาฝรั่งและฉายวันพฤหัสตอนพลบค่ำครับ ส่วนตอนแรกน่าจะฉายในราวๆเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2510




ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนตัวจริงอุลตร้าแมนเนื้ออุ่นๆผู้ใจดี

ไหนๆก็พาย้อนยุคแล้ว...สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นอุลตร้าแมนในเมืองไทยนั้น ครั้งแรกตีพิมพ์ลงใน การ์ตูนเด็ก (ของคุณอา ไพบูลย์ วงศรี ปรมาจารย์ผู้บุกเบิกการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยคนแรก) ฉบับที่ 7 แต่ยอดมนุษย์ของเราได้มาลงปกในเล่มต่อมา ( เล่ม 8 )

การ์ตูนเด็กฉบับปฐมฤกษ์วางขายเดือนมีนาคม ปี 2508 ดังนั้นเล่ม 7 ก็คงราวๆปลายปีเดียวกันหรือไม่ก็ต้นปี 2509 ครับ




ภาพจากป๋าสมบุญ (BOON) แฟนอุลตร้าแมนอีกคนผู้มากน้ำใจ (เฉพาะผู้หญิง)

ความสัมพันธ์ระหว่างสมโพธิกับโนโบรุพัฒนาไปด้วยดี จนกระทั่งสมโพธิเสนอจ้างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ผลิตหนังโรง “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” ในปี 2516 โดยเอาฟิล์มหนังทีวีจัมโบ้เอมาตัดต่อและถ่ายเพิ่มในโรงถ่ายซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เพื่อลดต้นทุน หนังเรื่องนี้เดิมจะลงทุนโดยไชโยเป็นเงิน 2 หมื่นดอลล่าร์และบริษัทฮูหลงฟิล์มของไต้หวันร่วมลงทุนอีก 3 หมื่น รวมเป็น 5 หมื่นดอลล่าร์ แต่ก่อนถ่ายฮูหลงถอนตัวทำให้สมโพธิต้องลงทุนเองทั้งหมด ทางโนโบรุจึงลดราคาให้ 5 พัน

ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ ออกฉายครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2517 ที่โรงหนังโคลีเซี่ยม ที่มีหุ่นจัมโบ้เอกับยักษ์วัดแจ้งตั้งอยู่หน้าโรง เด็กๆเต็มไปหมดทำผมหลงกับคนอื่นๆจนต้องนั่งรถเมล์กลับบ้านเอง







หลังถ่ายทำ สมโพธิฝากฟิล์มเนกาตีฟต้นฉบับเก็บไว้ที่ญี่ปุ่นเพราะเมืองไทยอากาศร้อน (ฟิล์มจะทำปฏิกิริยากับอากาศที่เรียกว่า อ๊อกซิเดชั่น คือลุกเป็นไฟ มิฉะนั้นต้องเก็บในห้องแอร์ 24 ชั่วโมงซึ่งจะแพงมาก) แต่สมโพธิอ้างว่าโนโบรุแอบเอาเนกาตีฟฟิล์มไปขายให้บริษัทฮูหลงในราคา 3 หมื่นดอลล่าร์เอาเงินเข้ากระเป๋าโดยไม่บอกสมโพธิ

แต่เพราะสำนึกในบุญคุณของเอยิ ซึบูราญ่า สมโพธิบอกว่าเขายังคงว่าจ้างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ สร้างหนังโรงอีกเรื่องคือ “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” เป็นเงิน 9 หมื่นดอลลาร์ โดยใช้ฟิล์มหนังทีวี 16 มม. บางส่วนของอุลตร้าแมนทาโร่มาขยายเป็นฟิล์ม 35 มม. แต่การถ่ายทำมีงบเกินเลยจนกลายเป็น 1 แสน 2 หมื่นดอลล่าร์






รูปนี้มีความหมายครับดูดีดี รูปนี้ถ่ายที่หน้าโรงหนังเฉลิมกรุง ตรงกลางรูปมีชายที่ยกมือขวาขึ้น นั่นคือ โนโบรุ ซึบูราญ่า และที่เขาอุ้มอยู่ในมือข้างซ้ายนั่นคือ พีระศิษฎ์ แสงเดือนฉาย อายุใกล้จะ 4 ขวบ กำลังยกมือซ้ายชูขึ้นเหมือนกัน

พีระศิษฎ์บอกว่ามือขวาเขากำเช็คที่ได้มาจากโรงหนังโดยมีมารดายืนอยู่ด้านข้างและพี่สาวอีก 2 คน (หน้า 91 หนังสือ อุลตร้าแมน เป็นของใคร)


หนังโรงเรื่อง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” ฉายวันแรกในไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2517



ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนอุลตร้าแมนผู้ใจดี

สมโพธิบอกว่าหนังทำรายได้ถล่มทลาย เจ็ดวันล้าน (หน้า 78 แต่หลักฐานโฆษณาในหนังสือพิมพ์ปี 2517 บอกว่า 9 วันล้าน ความทรงจำคนเรามันมักเลือนไปตามกาลเวลา) สมโพธิยังเคยเล่าเรื่องที่ต้องซื้อน้ำแข็งมากมายมาใช้ในโรงหนังเฉลิมกรุงเพราะต้องเสริมเก้าอี้มากมายทุกรอบ จนแอร์รับไม่ไหว...



ภาพจากป๋าวรวุฒิ แฟนอุลตร้าแมนผู้ใจดี

หนังเรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 25 เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติเนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555 อันเป็นที่ถกเถียงกันพอควรในหลายๆเวป





พิริยะสาส์น ฉบับพิเศษ ราคา 5 บาท ขายดิบขายดีจนหมดทุกแผงสมัยนั้น

จากประสพการณ์ครั้งก่อน เนกาตีฟฟิล์มเรื่องนี้จึงถูกนำไปเก็บไว้ที่บริษัทโตเกียวแล็ปในนามของสมโพธิเอง

ข่าวความดังของหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ไปถึงฮ่องกง (ที่มีคนบ้าอุลตร้าแมนไม่แพ้เมืองไทย) ในปี 2518 เซอร์ รันรัน ชอว์ เจ้าของชอว์ บราเธอร์ เสนอซื้อสิทธิ์จัดจำหน่ายหนังเรื่องนี้ในเอเซียตะวันออกเป็นเวลา 7 ปีด้วยจำนวนเงิน 120,000 ดอลล่าร์

สมโพธิอ้างว่าติดงานถ่ายของไชโยจึงไหว้วานให้โนโบรุเดินทางไปส่งเนกาตีฟฟิล์มหนังหนุมานฯให้ชอว์บราเธอร์ที่ฮ่องกง (อีกแล้ว !) และโนโบรุเอ่ยปากขอยืมเงินจำนวน 120,000 ดอลล่าร์เป็นเวลา 1 ปี (นี่ก็เอาอีกแล้ว !) ซึ่งทางสมโพธิอ้างว่ามีรายได้จากหนัง 3 เรื่องก่อนคือ ท่าเตียน ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ และ หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ มากมาย จึงเห็นว่าเงินเพียง 120,000 ดอลล่าร์ย่อมสามารถให้โนโบรุยืมไปใช้เพื่อทดแทนบุญคุณอาจารย์ได้

ทว่าก่อนโนโบรุเอาเนกาตีฟฟิล์มไปส่งให้ชอว์ บราเธอร์ สมโพธิบอกว่า โนโบรุกลับแอบเอาเนกาตีฟฟิล์มไปก็อปปี้และเอาไปขายไต้หวันได้เงินอีก 8 หมื่นดอลล่าร์เข้ากระเป๋าแล้วจึงเอาเอกสารอนุญาตฉายหนังในไต้หวันให้สมโพธิลงลายมือชื่อภายหลัง

เรื่องราวตรงนี้ผมว่ามันทะแม่งๆ สมโพธิโดนโกงครั้งก่อนแต่เขาก็ยังเชื่อใจให้โนโบรุโกงอีก 2 ครั้งติด เรื่องแรกคือขโมยก็อปเนกาตีฟ เรื่องสองคือเอาไปขายไต้หวันเอาเงินเข้ากระเป๋าและผิดสัญญากับชอว์ บราเธอร์ นิยายเรื่องนี้บอกว่า โนโบรุคือจอมโกหก คดโกง ถ้าลุงปล่อยเลยตามเลยไปก็ต้องบอกว่า “นายแน่มาก !” เลยทำให้ผมสงสัยว่า เรื่องสัญญาโอนสิทธิ์จะเป็นนิยายแบบเดียวกันหรือเปล่า ?

เมื่อถึงกำหนดคืนเงิน 120,000 ดอลล่าร์ในปี 2519 สมโพธิบินไปญี่ปุ่นเพื่อทวงถาม แต่โนโบรุกลับบอกสมโพธิว่าไม่มีเงิน (ไม่หนี ไม่จ่าย) แต่จะขอยกลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุ่นใช้หนี้แทน

สมัยนั้นกฏหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ยังไม่มีการบังคับใช้จริงจัง บทลงโทษก็แสนถูก ราคาลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนจึงแทบไม่มีมูลค่าทางการค้าแต่อย่างใด เขาจึงอ้างว่า “จำใจรับข้อเสนอโนโบรุ”

เปรียบเหมือนได้ชำระหนี้เป็นกระดาษชำระติดมือกลับมาม้วนหนึ่ง...

ตอนที่ ๖ เหตุการณ์วันเซ็นต์สัญญา

คำกล่าวอ้างของสมโพธิในวันเซ็นต์สัญญากับโนโบรุนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลาราว 15:00 น. วันที่ 4 มีนาคม 2519 ที่บริษัทซึบูราญ่าเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่อยู่ในเขตร็อปปองหงิ โตเกียว

โดยสมโพธิสังเกตุเห็นว่าในสัญญาพิมพ์ชื่อ Hanuman ผิดเป็น Haruman แต่โนโบรุบอกว่าไม่เป็นไร เป็นเรื่องเดียวกัน และโนโบรุเห็นว่าในสัญญามีแต่ชื่อของซึบูราญ่าเอ็นเตอร์ไพรซ์ ไม่มีระบุชื่อ ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ดักชั่น แทนที่จะพิมพ์ใหม่ โนโบรุกลับให้เติมแค่คำว่า “prod. and” ก็พอ

สัญญาระบุภาพยนตร์ทีวีซีรี่ส์ 7 เรื่อง ตั้งแต่ อุลตร้าคิว อุลตร้าแมน อุลตร้าเซเว่น รีเทิร์นออฟอุลตร้าแมน อุลตร้าแมนเอซ อุลตร้าแมนทาโร่ และ จัมโบ้ เอ อีกเรื่อง กับหนังโรงอีก 2 เรื่องคือ ยักษ์วัดแจ้งฯ กับ หนุมานฯ แต่ที่ไม่รวมอุลตร้าแมนเลโอ สมโพธิบอกในหนังสือว่า “เป็นเพราะช่วงที่ทำสัญญาปี 2519 ลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนเลโอยังเป็นของสถานีโทรทัศน์ TBS อีก 3 ปีครึ่งจึงจะกลับมาเป็นของซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์” ดังนั้น เลโอ แอสตร้า และ คิงส์ จึงรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้หวุดหวิด

โนโบรุลงลายมือชื่อเมื่อเวลา 17:00 น. โดยบอกว่าสัญญาฉบับนี้มอบเป็นของขวัญวันเกิดครบ 5 ขวบของพีระศิษฎ์ ลูกชายสมโพธิ ที่เกิดวันที่ 4 มีนาคม จากนั้นจึงนำตราสี่เหลี่ยม (ตราบริษัทซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์) และตราวงกลม (ตราประจำตัวโนโบรุ) ที่วางอยู่บนโต๊ะมาประทับบนสัญญา

สัญญาฉบับนี้ไม่ว่าจะจริงหรือจะปลอมก็ตาม เป็นมูลเหตุของการฟ้องร้องระหว่าง ไชโย กับ ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ที่กินเวลายาวนานเป็นสิบปี...

(ผมลงสี ลายมือชื่อของโนโบรุ ไฮไลท์คำว่า “prod. and” และตราประทับบริษัทซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์เป็นสีน้ำเงิน ส่วนตราประทับของโนโบรุป็นสีแดง เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน)




ตอนที่ ๖ เหตุการณ์วันเซ็นต์สัญญา

คำกล่าวอ้างของสมโพธิในวันเซ็นต์สัญญากับโนโบรุนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลาราว 15:00 น. วันที่ 4 มีนาคม 2519 ที่บริษัทซึบูราญ่าเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่อยู่ในเขตร็อปปองหงิ โตเกียว

โดยสมโพธิสังเกตุเห็นว่าในสัญญาพิมพ์ชื่อ Hanuman ผิดเป็น Haruman แต่โนโบรุบอกว่าไม่เป็นไร เป็นเรื่องเดียวกัน และโนโบรุเห็นว่าในสัญญามีแต่ชื่อของซึบูราญ่าเอ็นเตอร์ไพรซ์ ไม่มีระบุชื่อ ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ดักชั่น แทนที่จะพิมพ์ใหม่ โนโบรุกลับให้เติมแค่คำว่า “prod. and” ก็พอ

สัญญาระบุภาพยนตร์ทีวีซีรี่ส์ 7 เรื่อง ตั้งแต่ อุลตร้าคิว อุลตร้าแมน อุลตร้าเซเว่น รีเทิร์นออฟอุลตร้าแมน อุลตร้าแมนเอซ อุลตร้าแมนทาโร่ และ จัมโบ้ เอ อีกเรื่อง กับหนังโรงอีก 2 เรื่องคือ ยักษ์วัดแจ้งฯ กับ หนุมานฯ แต่ที่ไม่รวมอุลตร้าแมนเลโอ สมโพธิบอกในหนังสือว่า “เป็นเพราะช่วงที่ทำสัญญาปี 2519 ลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนเลโอยังเป็นของสถานีโทรทัศน์ TBS อีก 3 ปีครึ่งจึงจะกลับมาเป็นของซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์” ดังนั้น เลโอ แอสตร้า และ คิงส์ จึงรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้หวุดหวิด

โนโบรุลงลายมือชื่อเมื่อเวลา 17:00 น. โดยบอกว่าสัญญาฉบับนี้มอบเป็นของขวัญวันเกิดครบ 5 ขวบของพีระศิษฎ์ ลูกชายสมโพธิ ที่เกิดวันที่ 4 มีนาคม จากนั้นจึงนำตราสี่เหลี่ยม (ตราบริษัทซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์) และตราวงกลม (ตราประจำตัวโนโบรุ) ที่วางอยู่บนโต๊ะมาประทับบนสัญญา

สัญญาฉบับนี้ไม่ว่าจะจริงหรือจะปลอมก็ตาม เป็นมูลเหตุของการฟ้องร้องระหว่าง ไชโย กับ ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ที่กินเวลายาวนานเป็นสิบปี...

(ผมลงสี ลายมือชื่อของโนโบรุ ไฮไลท์คำว่า “prod. and” และตราประทับบริษัทซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์เป็นสีน้ำเงิน ส่วนตราประทับของโนโบรุป็นสีแดง เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน)



ฉบับแปลไทย (แต่เวลาศาลพิจารณา จะดูจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก)



ฉบับแปลญี่ปุ่น




ฉบับแปลไทย (แต่เวลาศาลพิจารณา จะดูจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก)



ฉบับแปลญี่ปุ่น



ตอนที่ ๗ ความสัมพันธ์ที่ดีก่อนโนโบรุจะเสียชีวิต

ปี 2522 (1979) เศรษฐกิจในญี่ปุ่นเริ่มกระเตื้อง โนโบรุวางแผนออกอุลตร้าแมน 80 จึงคิดจะโปรโมทอุลตร้าแมนทางอ้อมโดยการเอาหนังโรงเรื่อง หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ ไปฉายในญี่ปุ่น โดยจ่ายเงินให้สมโพธิ 5 ล้านเยน (สมัยนั้น 100 เยน เท่ากับ 10 บาท ดังนั้น 5 ล้านเยนคือ 5 แสนบาท) แต่หนังเรื่องนี้ทำเงินถึง 60 ล้านบาท (60 ล้านบาทสมัยปี 2522 มันมหาศาลเชียวครับ...ไม่น่าเชื่อ) ตามที่สมโพธิอ้างว่าโนโบรุเล่าให้ฟัง สถานการณ์ของซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ จึงดีขึ้นทันตา

เรื่องหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ ฉายในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า ウルトラ6兄弟VS怪獣軍団 (urutora 6 kyoudai VS kaijuu gundan) หรือ “6 พี่น้องอุลตร้าปะทะกองทัพสัตว์ประหลาด (เขาไม่นับเจ้าแม่อุลตร้าเป็นหนึ่งในพี่น้องอุลตร้าครับ)” วันที่ 17 มีนาคม 2522 โดยเอาไปพากย์ภาษาญี่ปุ่นและเปลี่ยนเพลงธีมเป็น ぼくらのウルトラマン Bokura no urutoraman หรือ “อุลตร้าแมนของพวกเรา” ที่สำคัญคือ โนโบรุ แต่งเพลงนี้เอง (แกเป็นนักแต่งเพลง นักร้อง อีกด้วยแต่จะเขียนชื่อว่า 谷のぼる ออกเสียงว่า โนโบรุ ซึบูราญ่าเหมือนกัน)



ถ้าดูในใบปิดโปรโมทหนังจะเห็นทาโร่ยืนเด่นโดยมีหนุมานซ่อนด้านหลังและอีกแบบวางไว้มุมล่างซ้าย ทั้งนี้หนุมาน (ハヌマーン) ไม่ได้เป็นตัวสำคัญของการโปรโมทหนังตอนที่ฉายในญี่ปุ่นเลยครับ





ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดนี้มีแค่วิดีเทปและเลเซอร์ดิสค์ที่ยังพอหาได้ในญี่ปุ่นเท่านั้น ยังไม่มีดีวีดีออกมาเพราะปัญหากรณีฟ้องร้อง คงมีแต่ดีวีดีของไชโยที่พากย์ไทยเท่านั้น





เอซ “จัดการเจ้าตัวจิ๋วยังไงกันดี...เหล่าพี่น้องอุลตร้า”

ต่อมาในปี 2527 (1984) ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ทำหนังโรงเรื่อง ウルトラマンZOFFY ウルトラの戦士VS大怪獣軍団 “อุลตร้าแมนโซฟี่ อัศวินอุลตร้าปะทะกองทัพสัตว์ประหลาด” โดยเอาฟิล์มหนังทีวี 16 มม. มาโบลล์เป็น 35 มม. ตัดต่อกับฉากที่ถ่ายใหม่เพียงเล็กน้อย โดยออกฉายวันแรกวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2527




โนโบรุได้ติดต่อให้สมโพธิไปรับฟิล์มหนังเรื่องนี้ที่โตเกียวโดยสมโพธิจ้ายค่าวัสดุให้ 18,000 ดอลล่าร์ (เกือบ 4 แสนบาทขณะนั้น) โดยสมโพธิเอาฟิล์มไปตัดต่อเข้ากับหนัง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” กลายเป็น “หนุมานพบสิบเอ็ดยอดมนุษย์” เอาไปฉายไนไทยและไต้หวัน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร คงเป็นเพราะเป็นหนังเก่าคนดูรู้เรื่องราวหมดแล้ว

มีใครทราบบ้างว่าอุลตร้าแมนอีก 4 ตัวที่เพิ่มเข้าไปในหนังมีใครบ้าง (แต่อุลตร้าแมนแจ็คใส่เขาในโปสเตอร์ไม่มีแน่นอน)



หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ (ใช้ชื่อฝรั่งว่า Space Warriors 2000) ทางเจ้าของคือ ไชโยซิตี้ สตูดิโอ ได้บริจาคกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ให้กับหอภาพยนตร์ในปี 2555 ครับ

ตอนที่ ๗ ความสัมพันธ์ที่ดีก่อนโนโบรุจะเสียชีวิต

ปี 2522 (1979) เศรษฐกิจในญี่ปุ่นเริ่มกระเตื้อง โนโบรุวางแผนออกอุลตร้าแมน 80 จึงคิดจะโปรโมทอุลตร้าแมนทางอ้อมโดยการเอาหนังโรงเรื่อง หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ ไปฉายในญี่ปุ่น โดยจ่ายเงินให้สมโพธิ 5 ล้านเยน (สมัยนั้น 100 เยน เท่ากับ 10 บาท ดังนั้น 5 ล้านเยนคือ 5 แสนบาท) แต่หนังเรื่องนี้ทำเงินถึง 60 ล้านบาท (60 ล้านบาทสมัยปี 2522 มันมหาศาลเชียวครับ...ไม่น่าเชื่อ) ตามที่สมโพธิอ้างว่าโนโบรุเล่าให้ฟัง สถานการณ์ของซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ จึงดีขึ้นทันตา

เรื่องหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ ฉายในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า ウルトラ6兄弟VS怪獣軍団 (urutora 6 kyoudai VS kaijuu gundan) หรือ “6 พี่น้องอุลตร้าปะทะกองทัพสัตว์ประหลาด (เขาไม่นับเจ้าแม่อุลตร้าเป็นหนึ่งในพี่น้องอุลตร้าครับ)” วันที่ 17 มีนาคม 2522 โดยเอาไปพากย์ภาษาญี่ปุ่นและเปลี่ยนเพลงธีมเป็น ぼくらのウルトラマン Bokura no urutoraman หรือ “อุลตร้าแมนของพวกเรา” ที่สำคัญคือ โนโบรุ แต่งเพลงนี้เอง (แกเป็นนักแต่งเพลง นักร้อง อีกด้วยแต่จะเขียนชื่อว่า 谷のぼる ออกเสียงว่า โนโบรุ ซึบูราญ่าเหมือนกัน)



ถ้าดูในใบปิดโปรโมทหนังจะเห็นทาโร่ยืนเด่นโดยมีหนุมานซ่อนด้านหลังและอีกแบบวางไว้มุมล่างซ้าย ทั้งนี้หนุมาน (ハヌマーン) ไม่ได้เป็นตัวสำคัญของการโปรโมทหนังตอนที่ฉายในญี่ปุ่นเลยครับ





ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดนี้มีแค่วิดีเทปและเลเซอร์ดิสค์ที่ยังพอหาได้ในญี่ปุ่นเท่านั้น ยังไม่มีดีวีดีออกมาเพราะปัญหากรณีฟ้องร้อง คงมีแต่ดีวีดีของไชโยที่พากย์ไทยเท่านั้น





เอซ “จัดการเจ้าตัวจิ๋วยังไงกันดี...เหล่าพี่น้องอุลตร้า”

ต่อมาในปี 2527 (1984) ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ทำหนังโรงเรื่อง ウルトラマンZOFFY ウルトラの戦士VS大怪獣軍団 “อุลตร้าแมนโซฟี่ อัศวินอุลตร้าปะทะกองทัพสัตว์ประหลาด” โดยเอาฟิล์มหนังทีวี 16 มม. มาโบลล์เป็น 35 มม. ตัดต่อกับฉากที่ถ่ายใหม่เพียงเล็กน้อย โดยออกฉายวันแรกวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2527




โนโบรุได้ติดต่อให้สมโพธิไปรับฟิล์มหนังเรื่องนี้ที่โตเกียวโดยสมโพธิจ้ายค่าวัสดุให้ 18,000 ดอลล่าร์ (เกือบ 4 แสนบาทขณะนั้น) โดยสมโพธิเอาฟิล์มไปตัดต่อเข้ากับหนัง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” กลายเป็น “หนุมานพบสิบเอ็ดยอดมนุษย์” เอาไปฉายไนไทยและไต้หวัน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร คงเป็นเพราะเป็นหนังเก่าคนดูรู้เรื่องราวหมดแล้ว

มีใครทราบบ้างว่าอุลตร้าแมนอีก 4 ตัวที่เพิ่มเข้าไปในหนังมีใครบ้าง (แต่อุลตร้าแมนแจ็คใส่เขาในโปสเตอร์ไม่มีแน่นอน)



หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ (ใช้ชื่อฝรั่งว่า Space Warriors 2000) ทางเจ้าของคือ ไชโยซิตี้ สตูดิโอ ได้บริจาคกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ให้กับหอภาพยนตร์ในปี 2555 ครับ

หนังเรื่อง หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ เอาไปฉายทางฝั่งตะวันตกโดยมีการตัดต่อและถ่ายเพิ่มโดยใช้ตัวละครฝรั่ง เพราะจะเอาเนื้อเรื่องแบบไทยๆไปขายที่โน่นคงไม่มีใครดู

เนื้อเรื่องกลายเป็นฟิกเกอร์อุลตร้าแมนที่พ่อซื้อมาให้ลูกชายในวันเกิดเป็นคนเล่าเรื่อง (ในความฝันของเด็ก) โดยเอาฉากการต่อสู้ของเหล่าอุลตร้าแมนกับสัตว์ประหลาดเก่าๆมาใส่ จนปิดท้ายด้วยเรื่องโจร 3 คนขโมยตัดเศียรพระเป็นเหตุให้พระอาทิตย์เข้ามาใกล้โลก หนุมานปรากฏตัวจัดการกับกับขโมยแต่โดนสัตว์ประหลาด 5 ตัวจัดการอยู่หมัด ก่อนที่พี่น้องอุลตร้าทั้ง 6 จะมาช่วยพิชิตสัตว์ประหลาดจนชนะในที่สุด พอเด็กตื่นขึ้นมาก็เห็นฟิกเกอร์อุลตร้าแมนเหาะออกไปทางหน้าต่าง

หนังเรื่องนี้เข้าใจว่าไปฉายทางทีวีในปี 1985 (2528) ใช้ชื่อว่า Space Warriors 2000: The Year of the Monkey Wrench โดยมีชื่อ Sompote Sands (แกจะใช้ชื่อนี้เสมอในประเทศฝั่งตะวันตก) เป็นผู้กำกับ (ต้นฉบับ) และ Marc Smith เป็นผู้กำกับฉบับดัดแปลง (เขียนในหนังว่า Accidental คือ โดยอุบัติเหตุ หรือ ไม่ได้ตั้งใจ)



ที่น่าขันคือไตเติ้ลเรื่องนี้ระบุว่ามี อุลตร้าแมน 11 ตัว ใช้ชื่อ อุลตร้าแมน 1 2 3 ไปเรื่อยๆจนถึง 11 และ หนุมาน แถมมีชื่อ “มอธร่า” และ “ก็อตเซลด้า” ซึ่งไม่ปรากฏในหนัง (ทั้ง ก็อตซิลล่า หรือ เจ้าหญิงเซลด้า)  และ ให้เครดิต “Whole cast of Japanese stuntmen whose names we could not read! “ หรือ “ทีมสตั้นแมนญี่ปุ่นทุกคน ที่เราอ่านชื่อไม่ออก”

หวังว่าโปรเจ็คอุลตร้าแมนโกฮอลลีวูด (ถ้าได้เกิด) จะไม่ออกมาห่วยๆแบบนี้นะครับ


อ่านต่อคลิกที่นี่เลย<noembed /></a></p> </body></body>

 

Last Update : 26 พฤษภาคม 2556
13:52:58 น.

Your name
 

Location :

 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com