*_* A TrUe FrIeNd Is OnE SoUL In TwO BoDiEs *_*
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดีมีใน กทม.แล้วด้วย





ชื่อทางการของมันชื่อ แมลงด้วงน้ำมัน
ถ้าโดนแล้วห้ามเกาเด็ดขาด เพราะมันจะลามไปเรื่อยๆ เลย
หนองหรือน้ำเหลืองของเราจะทำให้ลาม
จากอีกจุดเพิ่มเป็นอีกจุดลามเป็นแผลใหญ่
และที่สำคัญตอนนี้แมลงนี้มีอยู่ใน กทม. แล้วด้วย

เรียน ทุกท่านทราบเพื่อเป็นการเตือนถึงอันตรายของแมลง
และอาการที่เกิดขึ้น

(ตามภาพที่แนบมา) ดร.วัฒนา อู่วาณิชย์
เพื่อนที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเมล์มา
ให้เพื่อกระจายข่าวต่อด้วยค่ะ
โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดี
คนหลายคนถูกแมลงชนิดนี้ทำร้ายหลายรายแล้ว
หากโดน กรุณาพบแพทย์โดยด่วน
มิฉะนั้นแผลจะลุกลามไปรวดเร็วมาก
แมลงชนิดนี้จะไม่กัดหรือต่อย
แต่ฉี่ของมันมีความเป็นกรดสูงมาก
และเป็นสาเหตุให้เกิดแผล ซึ่งหากเกิดเป็นแผล
แล้วเอามือไปถูกแผลนั้นให้รีบล้างมือโดยเร็ว
มิฉะนั้นจะเกิดแผลลุกลามไปยังที่ๆ เอามือไปสัมผัสต่อไปอีก







นาย วิชัย ปราสาททอง



เมื่อปลายปี 2532 ปรากฏข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า
มีประชาชนได้รับอันตรายจากการบริโภคแมลงชนิดหนึ่ง
คือ ด้วงน้ำมัน ครั้งแรกเกิดที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ชาวบ้านนำด้วงน้ำมันมาคั่วเกลือรับประทานแกล้มเหล้า 7-8 ตัว
แล้วเสียชีวิต ครั้งหลังเกิดที่อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
เด็ก 2 คนนำด้วงน้ำมันที่จับได้จากต้นแคมาเผารับประทาน
เด็กที่รับประทาน 3 ตัว เสียชีวิต
ส่วนเด็กที่รับประทาน 2 ตัว มีอาการสาหัส
ทั้งสองครั้งมีอาการพิษเหมือนกันคือ
หลังจากรับประทาน 1-2 ชั่วโมง มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียนมีเลือดปนออกมา อุจจาระและปัสสาวะปนเลือด
ความดันต่ำ หมดสติและเสียชีวิต


ด้วงน้ำมันเป็นแมลงปีกแข็ง พบในประเทศไทย 4 สกุล 13 ชนิด
ได้แก่ Epicauta, Mylabris, Cissites และ Eletica
ชนิดที่เกิดเหตุที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดมหาสารคาม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mylabris phalerata Pall.
และมีชื่อตามท้องถิ่นว่า ด้วงไฟถั่ว เต่าบ้า แมงไฟเดือนห้า
มีลำตัวยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0 เซนติเมตร
ลำตัวและหนวดมีสีดำ พื้นปีกสีดำมีแถบสีส้มหรือสีเหลือง
คาดตามขวางของลำตัว 3 แถบ (ดังรูป)

ตัวเต็มวัยจะหากินอยู่บนพืชตระกูลถั่วหรือต้นฝ้าย กระเจี๊ยบแดง
ปอแก้ว และไม้ดอกต่างๆ เมื่อแมลงชนิดนี้ถูกรบกวน
หรือถูกต้องตัวจะขับของเหลวสีเหลืองอ่อนออกจากข้อต่อของส่วนขา
หากถูกผิวหนังจะเป็นตุ่มพุพองอักเสบ
และหากรับประทานอาจเสียชีวิตได้
เนื่องจากในของเหลวที่ขับออกมามีสารแคนทาริดิน (cantharidin)
ด้วงน้ำมัน 1 ตัวมีแคนทาริดิน ประมาณร้อยละ 1.4 หรือ 7 มิลลิกรัม
สารชนิดนี้นอกจากจะพบในด้วงน้ำมันชนิดนี้แล้ว
ยังพบในแมลงชนิดอื่นๆ ได้อีกแต่มีปริมาณแคนทาริดินแตกต่างกันไป



แคนทาริดิน

แคนทาริดิน เป็นสารอินทรีย์ประเภท furan ในสภาพที่บริสุทธิ์เป็นผลึกแวววาวระเหิดที่อุณหภูมิประมาณ 120 องศาเซลเซียส มีจุดหลอมเหลวระหว่าง 216-218 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้น้อย ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ สามารถดูดซึมได้ทางผิวหนังและเยื่อเมือกในร่างกายเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นสารอื่น และจะเกิดอาการพิษ ซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ



อาการพิษจากการได้รับแคนทาริดิน

1. พิษเฉียบพลัน (acute poisoning) ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นตุ่มพุพอง หากรับประทานเข้าไปจะเกิดอาการคล้ายถูกไฟไหม้พอง คออักเสบ กลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อุจจาระร่วง อาเจียนเป็นเลือด ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด สลบและเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว
2. พิษเรื้อรัง (chronic poisoning) อาการคล้ายพิษเฉียบพลัน แต่รุนแรงน้อยกว่า
หากรับประทานแคนทาริดิน ในขนาดประมาณ 50-70 มิลลิกรัม จะทำให้ผู้ใหญ่เสียชีวิตได้



การรักษาผู้ที่ได้รับอันตรายจากการบริโภคแคนทาริดิน

1. ล้างท้องเพื่อให้สารพิษออกจากร่างกายหรือใช้ผงถ่าน
(activated charcoal) ดูดซับสารพิษ
2. รักษาระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและการช็อค
โดยการให้เลือดและน้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ
3. ป้องกันอันตรายที่เกิดกับไต โดยทำให้มีการถ่ายปัสสาวะ
เพิ่มมากขึ้น ด้วยการให้ของเหลวแมนนิทอล (mannitol)
และยาขับปัสสาวะ อื่นๆ เข้าทางเส้นเลือดดำ









ที่มา : หนังสือความรู้สิ่งเป็นพิษ ตอนที่9 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้าที่ 20-24.




เอกสารอ้างอิง

1. สมหมาย ชื่นราม. 2533. แมลงและสัตว์ศัตรูพืช. ใน : เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 7, 20-22 มิ.ย. 2533. ณ ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตร, บางเขน กรุงเทพฯ.
2. น.พ. สุภัทร สุจริต. 2531. กีฏวิทยาการแพทย์. พิศิษฐ์การพิมพ์, กรุงเทพ. หน้า 555-558.
3. Dreisbach, R.H. and Robertson, W.O. 1987. Handbook of poisoning. 12th ed., Appleton & Lange, California, p. 429-430.
4. Windholz, M. 1976. The Merck Index. 9th ed., Merck & Co., Inc., Raway, New Jersey, U.S.A., p. 1748.
5. Moffat, A.C. 1986. Clarke's isolation and identification of drugs, 2nd ed., the Pharmaceutical Press, London, p. 425-426.










Create Date : 28 สิงหาคม 2552
Last Update : 28 สิงหาคม 2552 18:32:34 น. 5 comments
Counter : 1104 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ZZU@farsai วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:18:34:09 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ZZU@farsai วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:18:35:22 น.  

 
Thank you ka.


โดย: CrackyDong วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:19:31:39 น.  

 
ขอบคุณ


โดย: น้ำเค็ม วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:26:14 น.  

 


โดย: ZZU@farsai วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:19:55:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ZZU@farsai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




*_* ShaRinG BeYoNd BoRdEr *_*


" ไม่ต้องเชื่อ..... แต่

.....ค้นพบได้ด้วยตัวเอง "


" ไม่ต้องเชื่อ.....แต่ต้องทำ

เป็นการไตร่ตรองด้วยเหตุผล "


~มิพานพบฤารู้จัก มิพูดคุยฤารู้ใจ~


" You " came with lonely wind.

That brought along sadness.

I came with a grain of sand.

That bought lonesome to

scatter over the sky.

When the wind blew.

The wave brought sand to shore.

A grain of sand then dreamed that

It would have been sparkle

at the horizon like stars.

But a grain of sand could only dream.

Staring at the stars quietly

with uncertainly through a cold night.

The wind waved goodbye,

left the worthless and

sand staring at the stars.

When the stars moved,

~Heart

Was

Lonely

In

TearS~

Pimp My Profile
Friends' blogs
[Add ZZU@farsai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.