Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 เมษายน 2550
 
All Blogs
 

Jim Womack : เหตุใด Toyota ชนะ แล้ว Toyota จะแพ้ได้อย่างไร

วันนี้ได้รับ Email จาก Jim Womack แห่ง LEI : Lean Enterprise Institute ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ Toyota ชื่อเรื่องเต็ม ๆ มันก็คือ Why Toyota Won and How Toyota can lose

Jim Womack นี่ ถือเป็นกลุ่มนักวิจัยเรื่อง Lean Manufacturing กลุ่มแรก ๆ และมีผลงานตีพิมพ์ที่เป็นหนังสือชื่อดังเรื่อง The machine that change the world. ซึ่งเป็นเรื่องราวของกลุ่มนักวิจัยโครงการ IMVP : International Motor Vehicle Program แห่งมหาวิทยาลัย MIT เป็นเรื่องราวการวิเคราะห์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่สมัยการผลิตยังเป็นแบบงานฝีมือ - Craft Production จนมาเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญโดย Henry Ford แห่งค่าย Ford ผู้พัฒนาระบบ Mass Production ขึ้น ก่อนจะกลายเป็นระบบ Lean Manufacturing โดย Taichi Ohno - Eiji Toyoda แห่ง Toyota (และ Shigio Shingo เจ้าของความคิด Jidoka) แม้ว่าเนื้อหาจะครอบคลุมแค่ช่วงปี 199x แต่ว่า จะเห็นไอเดียได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับค่ายรถต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลพวงมาจากอดีตทั้งสิ้น เราจะมองเห็นได้ว่า Nissan/Mazda ตกอับอย่างไร และฟื้นคืนอย่างไร แล้วเราก็จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ Ford กำลังแก้ตัว ก็เป็นในแนวทางเดียวกัน

โฆษณาขายหนังสือไปละ สรุปคือ Jim Womack เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เรื่อง Lean Manufacturing ดีมากคนหนึ่งของโลก และอยู่ในแวดวงการศึกษาด้วย เพราะฉะนั้น จขบ.คิดว่า บทความนี้ น่าอ่าน และน่าจะเป็นกลางพอสมควร เพราะไม่ได้เอียงข้างค่ายไหนเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่ จขบ. เคยอ่านหนังสือบางเล่ม รู้สึกว่าผู้เขียนค่อนข้างมีใจเอนเอียง เช่น หนังสืออธิบายระบบการผลิตของค่ายรถยักษ์ใหญ่ โดยนักเขียนเป็นคนที่เคยทำงานในค่ายรถใหญ่อีกค่ายหนึ่ง ก่อนย้ายมาค่ายนี้ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับ Priciple 14 ข้อ (ไม่รู้จะเขียนอธิบายวกวนไปทำไมเนาะ) ตะแกเอียงข้างมาก ๆ

เอ้า เข้าเรื่องซะที

บทความนี้ เกริ่นไว้ที่ The machine that change the world ว่า คำว่า machine ยังคงเป็นคำที่นิยามการทำธุรกิจของ Toyota ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การจัดการ Supply Chain ฯลฯ (อ้างอิงมาจาก คำพูดที่ Allan Mulally อธิบายแก่ประชาชนพนักงานชาว Ford ที่ Detroit)

เรื่องของเรื่องก็คือ ตอนนี้ ป้าย No. 1 ของโลกคงเป็นของ Toyota อย่างแน่นอนแล้วในปีนี้ ตอนนี้เหลือแค่ว่า จำนวนขาย และยอดขายจะเป็นเท่าไหร่เท่านั้นเอง ในขณะที่ความจริงก็คือ ผลกำไรน่ะ เป็น อันดับ 1 มานานแล้ว (อันนี้ เคยอ่านเจอเหมือนกันว่า กำไร ต่อรถ 1 คัน ของ Toyota มากกว่า กำไรต่อรถ 1 คันของ Big 3 รวมกันเสียอีก)

คำถามที่น่าสนใจ คงไม่ใช่ว่า วันไหนที่ Toyota จะชนะอย่างเด็ดขาด หรือว่า ชนะเท่าไหร่ แต่เป็นคำถามว่า Toyota จะแพ้ได้อย่างไรมากกว่า คำตอบมาตรฐานอาจจะเป็นเรื่อง ปัญหาคุณภาพ ราคา เรื่องความล้มเหลวในการสร้างแบรนด์ Lexus ความพยายามในการสร้างสายการผลิตที่ดี และสร้างยอดขายที่ดีในจีน และ อินเดีย (อยากเถียง Jim แกจังเลยว่า อย่างน้อย จขบ. ก็ไม่ได้คิดแบบนี้นะ)
นั่นอาจจะใช่ก็ได้ แต่คงไม่ใช่สาเหตุของความพ่ายแพ้แน่ ๆ น่าจะเป็นพลพวงมาจากสาเหตุหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งให้ผลต่อเนื่องมาแบบนี้ สิ่งที่ท้าทาย Toyota คือ การรักษาความเป็น Lean ให้ต่อเนื่องตลอดทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระดับ Management ยันลงไปถึงระดับรากหญ้า
เป็นเรื่องธรรมดาที่พนักงานใหม่ของ Toyota จะต้องศึกษาหนังสือเรื่อง The Toyota way ของ Jeffry Liker (ผู้ซึ่งเคยทำงานให้กับ Ford มาก่อน) และ The Toyota way field book ของ Dave Meier เพื่อทำความเข้าใจกับ Toyota อย่างแท้จริง วิธีการสร้างคนของ Toyota คือ เริ่มจากการจ้างคนใหม่ ๆ สด ๆ มาจากมหาวิทยาลัยเลย แล้วเริ่มปลูกฝังวิธีคิดใหม่แต่แรก แต่ด้วยการเจริญเติบโตพรวดพราด เป็นไปได้ว่า การปลูกฝัง การฝึกสอนเรื่อง Lean Principle เหล่านี้ รวมไปถึงการฝึกสอนไปจนระดับ Supplier ของ Toyota ด้วย อาจไม่ดีเพียงพอ แล้วจะย้อนกลับไปสู่ The Mass Production Way (คำนี้ จขบ. คิดเองนะ แต่โดยสรุปคือ ย้อนกลับไปหารากหญ้าของการผลิต นั่นคือ ระบบ Mass Production ของ Ford/GM)

นอกเรื่องแป๊ปนึง ทำไม Mass Production ต้องพูดถึง GM ทั้ง ๆ ที่รู้ ๆ กันว่า คนแรกที่พัฒนา Mass Production Principle คือ Henry Ford แห่ง Ford Motor Company

เก๊าะ หลังจากปล่อยให้ Ford ใช้ Mass Production System กวาดเอารายได้ไปกับ Ford Model T ไประยะนึง Alfred Sloan แห่ง GM ก็เอาระบบ Mass Production มาต่อยอด ด้วยการใส่ Accessory ไปมากมาย รวมไปถึงการทำ out source (ตอนนั้น เรียกกันว่า invicible hand) แบบว่า สมัยแรก ๆ Ford เค้าเก๊งเก่ง คนอื่นตามไม่ทัน แกเลยอยากทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เลยเรียกหลักการนี้ว่า Visible Hand ไง

กลับมาต่อ พอการปลูกฝังระบบ Lean Thinking เข้าสู่หัว Manager ของ Toyota และ Supplier ของ Toyota ไม่ดีพอ ก็เป็นเรื่องง่ายที่คนเหล่านี้ จะเข้าสู่ Dark Side of the Force นั่นคือ เข้าสู่ระบบ Mass Production system ซึ่งหลาย ๆ Principle ขัดกับแนวทางของ Lean Manufacturing โดยสิ้นเชิง แล้วนั่นเรียกได้ว่าเป็นเหตุแห่งภัยภิบัติโดยสิ้นเชิง

สิ่งสำคัญของการปลูกฝังแนวคิด Lean Thinking ของ Toyota คือ การปลูกฝังวิธีคิดพื้นฐานอย่าง A3 Problem Solving (รายงาน A3 1 แผ่น เทียบได้กับ หลักการ Simply is the best ของ Mass Production), Standardise work (Copy Mass Production มาชัด ๆ) แล้วก็ Strategic Deployment (อันนี้ ไม่มีใครสร้างเป็นหลักการมาตรฐาน ขอ credit ให้ Lean Thinker ละกัน), การใช้ Gemba (3 Gen - Gemba, Gengi, Genbutsu หรือหลักการ 3 จริง ที่จริง สถานที่จริง กระบวนการจริง) หลักการทำ Root Cause analysis, Problem Solving

นั่นคือ โดยรวมแล้ว Toyota ให้ความสนใจกับการดูแล วิธีที่จะสร้างผลงาน มากกว่า จะแก้ปัญหา เมื่อผลงานออกมาแล้ว หรือเรียกได้ว่า Jidoka ภาค Value Stream Process ป้องกันปัญหา ก่อนที่จะหาทางแก้เมื่อส่อแววเจ๊ง

อันนี้ จขบ. เคยบ่น ๆ ให้เพื่อนร่วมงานฟังเหมือนกันว่า ถ้าเราปล่อยให้พนักงานผลิตชิ้นงานด้วยขั้นตอนตามใจชอบ แล้วตามแก้ปัญหาเมื่อมีของเสียเกิดขึ้น กับเข้าไปตามแก้การปฏิบัติงานของพนักงาน ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ แล้วเอาเวลามานั่งศึกษาว่า ขั้นตอนที่บังคับให้พนักงานทำนั้น มีความเสี่ยงในการสร้างปัญหา และทำงานยากเพียงไร แก้ให้ดีกว่านี้ได้มั้ย แบบหลังน่าจะดีกว่า จขบ. เคยลองใช้วิธีหลังดู Project นึง พบว่า อัตราของเสีย และปัญหาคุณภาพน้อยลงมาก อีกทั้งจับจุดแก้ปัญหาได้เร็ว เพราะไม่ต้องมานั่งเปรียบเทียบว่า พนักงานแต่ละคนทำงานต่างกันอย่างไร สรุปคือ ลดความแปรปรวนของขบวนการลง สร้างกรอบให้เคยชินกับการปฏิบัติงานในกรอบแคบ ๆ ที่สร้างไว้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะถูกจำกัดในวงที่เราคาดการณ์ได้ เพิ่งมาเจอความสอดคล้องกันก็กับบทความนี้แล

สรุปคือ Toyota อาจจะแย่ เมื่อความเป็น Lean ของคน ตามไม่ทัน ความเติบโตของยอดขาย และบริษัท เมื่อนั้น Jim แกคิดว่า Toyota คงพิจารณาลดความเร็วของการเติบโตของตัวเองมากกว่าที่จะเสี่ยงโตแต่เจ๊งง่าย (เทียบได้กับหลากการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเลย)

บทความนี้ ตีความจากบาทความเรื่อง Why Toyota Won and How Toyota Can Lose โดย Jim Womack แห่ง Lean Enterprise Institute แต่มีผสมโรงเข้าไปบ้าง ตามความเห็นของ จขบ. ต้นฉบับส่งมาเป็น E-Newsletter ครับ ใครอยากได้ต้นฉบับ ก็ Post Email Address ไว้ที่ Comment หรือ หลังไมค์มาก็ได้ครับ




 

Create Date : 05 เมษายน 2550
2 comments
Last Update : 12 เมษายน 2550 21:08:31 น.
Counter : 1506 Pageviews.

 

สุขสันต์วันสงกรานต์คร๊าบ...
...ไปเล่นน้ำกับผมไหมคร๊าบ

 

โดย: อ้วนดำปื๊ดปื๊อ 13 เมษายน 2550 5:20:05 น.  

 


แนวคิดแบบลีน : Lean Thinking

James P. Womack และ Daniel T. Jones เขียน
ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง แปล
ISBN :978-974-1231-31-1
อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์


วิถีแห่งโตโยต้า (THE TOYOTA WAY)

Jeffrey K Liker, Ph.D เขียน
ดร.วิทยา สุหฤทดำรง แปล
ISBN :978-974-93096-1-2
อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์


แกะรอยวิถีแห่งโตโยต้า คู่มือภาคสนาม : The Toyota Way Fieldbook

ISBN :978-974-09-6740-8


Toyata Talent เก่งแบบโตโยต้า

ISBN :978-0-0714-7745-1

 

โดย: LearnLean IP: 58.8.84.44 26 เมษายน 2552 20:08:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.