Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2549
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 

Rapid Prototype - SGC

SGC
SGC ย่อมาจาก Solid Ground Curing หรืออาจเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Solider Process เป็นวิธีการสร้าง Rapid Prototype อีกวิธีหนึ่ง ถูกพัฒนาโดยบริษัท Cubital ของประเทศอิสราเอล วิธีการสร้างจะใช้ Photosensitive Resin เช่นเดียวกับ SLA แต่มีจุดเด่นที่สามารถสร้างชิ้นงานได้ขนาดใหญ่ และรวดเร็ว ในขณะที่ราคาเครื่องจักรการสร้าง SGC แพงเนื่องจากกระบวนการซับซ้อน กระบวนการสร้างสามารถแสดงให้เห็นดังรูป


รูปแสดงกระบวนการสร้าง Solid Ground Curing อ้างอิงจาก [1]





ขั้นตอนการสร้าง SGC

ขั้นเตรียมการ สร้างข้อมูล CAD Data หรือข้อมูล 3 มิติของรูปร่างชิ้นงาน แล้วใช้ Program ในการจัดการแบ่งข้อมูลของชิ้นงานเป็นส่วน ๆ
ขั้นแรก พ่นสาร Photosensitive Resin บนฐานวางชิ้นงาน



รูปแสดงขั้นแรกของการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]





ขั้นที่ 2 สร้างหน้ากาก ( Photomask ) เพื่อป้องกันแสงโดยเปิดช่องเฉพาะบริเวณที่เป็นที่จะสร้างเป็นชิ้นงานในชั้นนั้น ๆ


รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 ของการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]





ขั้นที่ 3 วาง Photomask ลงบนฐานวางชิ้นงาน และปล่อยแสง UV ตกกระทบ Photosensitive Resin บริเวณที่ Photomask เปิดช่องเอาไว้ ทำให้ Photosensitive Resin บริเวณนั้น ๆ แข็งตัว


รูปแสดงขั้นตอนที่ 3 ของการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]





ขั้นตอนที่ 4 หลังจากการอบชิ้นงานในชั้นนั้นเสร็จแล้ว จะทำการดูด Photosensitive Resin ส่วนที่ไม่แข็งตัวออกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แล้วอบภายใต้ UV ตรง ๆ อีกเพื่อให้แข็งตัวเต็มที่


รูปแสดงขั้นตอนที่ 4 ของการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]





ขั้นตอนที่ 5 เติมขี้ผึ้งเข้าไปบริเวณที่เป็น Photoresin ที่ถูกดูดออกมา โดยขี้ผึ้งจะถูกทำให้แข็งตัวโดยทำให้เย็นตัวลงเพื่อให้เป็นตัว Support สำหรับชั้นต่อไป


รูปแสดงขั้นตอนที่ 5 ของการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]





ขั้นตอนสุดท้ายก่อนขึ้น Layer ต่อไปคือการกัดพื้นผิวบนสุดของ Layer บนสุดทั้งส่วนของ Photoresin และขี้ผึ้งเพื่อให้มั่นใจว่าชั้นบนสุดจะเรียบสำหรับปู Photoresin ในชั้นถัดไป


รูปแสดงขั้นตอนสุดท้ายของ Layer ในการสร้าง SGC อ้างอิงจาก [1]


เมื่อเสร็จสิ้นทุก Layer แล้ว จะทำการถอดชิ้นงานที่เป็นขี้ผึ้งออกไป และอาจมีขั้นตอนของการทำ Surface Finish เช่นการขัดให้เรียบ แต่ไม่จำเป็นต้องทำการอบอีกครั้งหนึ่ง

ข้อสังเกตของการทำ SGC
-> สามารถทำ Rapid Prototype ได้ขนาดใหญ่ถึง 20x20x14 นิ้วได้อย่างรวดเร็ว
-> Photosensitive Resin แข็งตัวจากการใช้ Mask โดยที่การสร้า Mask จะเป็นเช่นเดียวกับการทำ Laser Printing ทำให้เร็วมาก
-> ไม่ต้องการการอบในขั้นตอนเสร็จสิ้นการสร้างชิ้นงาน
-> เนื่องจากมีการกัดเรียบในแต่ละ Layer ทำให้ชิ้นงานในชั้นถัดไปราบเรียบ
-> เนื่องจากมีการใช้ขี้ผึ้งทดแทนส่วน Photosensitive Resin ที่ถูกดูดออกไป ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้งานส่วน Support (ไม่เหมือน SLA )
-> มีขยะเยอะ (ขี้ผึ้ง)
-> ไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากความเร็ว และขนาดที่ทำได้ใหญ่
-> ข้อเสียอย่างมากคือการที่ราคาเครื่องจักรที่ใช้สร้าง SGC ราคาแพง [2]

** ที่มา
[1] //www.efunda.com/processes/rapid_prototyping/sgc.cfm
[2] //home.att.net/~castleisland/sgc.htm




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2549
4 comments
Last Update : 18 ธันวาคม 2549 20:55:51 น.
Counter : 2696 Pageviews.

 

ชอบมากๆเลยครับ แม้บางอันไม่เข้าใจนัก

จากความรู้อันน้อยนิดของกระผม แหะๆ

ขอบคุณครับ

 

โดย: TzOzOzN (TzOzOzN ) 23 มิถุนายน 2550 19:02:30 น.  

 

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้
ไม่ทราบว่ามีที่ไหนให้บริการ sla ในประเทศไทยบ้างครับ
pui_108108@hotmail.com

 

โดย: pui IP: 58.9.59.114 10 ตุลาคม 2550 1:22:25 น.  

 

ขอบคุณคะ กำลังทำรายงานพอดีเลย...
ขออ้างอิงหน่อยนะคะ

 

โดย: khaw-khong IP: 203.113.51.102 27 ธันวาคม 2550 14:56:04 น.  

 

จะสอบค่ะ

 

โดย: หนูนุ่ม IP: 124.120.104.97 24 กันยายน 2551 15:28:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.