* * * * ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ * * * * บล็อกที่ 892





Transit of Venus 2012 taken by NASA's Solar Dynamics Observatory spacecraft






ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์




2
From left to right : Mercury, Venus, Earth and Mars (Sizes to scale, distances not to scale)







ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์หินที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งก็เรียกว่า ‘น้องสาว’ ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี แต่วงโคจรของดาวศุกร์เกือบจะเป็นวงกลม




บนท้องฟ้า ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เพราะดาวศุกร์มีวงโคจรที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และมีขนาดใหญ่พอสมควร จึงทำให้มีแสงสะท้อนมายังโลก มองเห็นได้ชัดตากว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น จะน้อยกว่าก็เพียงดวงจันทร์บริวารของโลกเท่านั้นเพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกกว่าดาวศุกร์นั่นเอง




3





เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กว่าโลก จะหันอย่างไรดาวศุกร์ก็ไม่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก อย่างมากก็ทำมุมไม่เกิน 47.8 องศา โดยปกติเราจะมองเห็นดาวศุกร์ในเวลาใกล้ค่ำและในเวลาเช้า สำหรับในเวลาดึกหรือเที่ยงคืนเราจะไม่มีทางมองเห็นดาวศุกร์ได้ เพราะโลกของเราบังไว้ ดาวศุกร์เมื่อปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เราจะเรียกว่า ดาวประจำเมือง (evening star) และเมื่อปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เราจะเรียกว่า ดาวประกายพรึก หรือ ดาวรุ่ง (morning star)




ชาวบาบิโลนโบราณ รู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ 1,600 ปีก่อนคริสตกาล สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀ ระยะห่างของดาวศุกร์กับดวงอาทิตย์ประมาณ 108.2 ล้านกิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของดาวศุกร์ประมาณ 12,100 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของโลกประมาณ 12,742 กิโลเมตร มวลของดาวศุกร์ประมาณ 4.8685x1024 kg (0.815 เท่าของโลก) ช่วงเวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 225 วัน ช่วงเวลาหมุนรอบตัวเอง 243 วัน จำนวนดาวบริวาร ไม่มี .. อุณหภูมิของดาวศุกร์ประมาณ 464 องศาเซลเซียส




4





ดาวศุกร์ เป็นดาวที่มีขนาดและมวลใกล้เคียงกับโลกมาก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างของดาวศุกร์มีความคล้ายคลึงกับโลก โดยแกนชั้นใน (Inner core) ประกอบด้วยโลหะแข็ง เช่น เหล็กและนิกเกิล ส่วนแกนชั้นนอก (Outer core) เป็นโลหะเหลวที่เป็นเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถวัดสนามแม่เหล็กของดาวศุกร์ได้ เนื่องจากดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้ามาก ไม่สามารถทำให้โลหะเหลวที่แกนชั้นนอกเกิดการหมุนเวียน (circulation) จึงทำให้ไม่เกิดสนามแม่เหล็กได้ ในส่วนของชั้นแมนเทิล (Mantle) จะเป็นหิน และในชั้นเปลือก (Crust) จะประกอบด้วยซิลิเกต เป็นหลัก .. พื้นผิวของดาวศุกร์จะมีความแห้งแล้งและร้อนกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะจักรวาล เพราะมีอุณหภูมิร้อนจัดถึง 464 องศาเซลเซียส ซึ่งนับว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะจักรวาล




วงโคจรของดาวศุกร์ มีความรีน้อย คือมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดประมาณ 107.5 ล้านกิโลเมตร และจุดที่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดประมาณ 108.9 ล้านกิโลเมตร ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีฤดูกาลเช่นเดียวกับดาวพุธ เพราะระนาบการโคจรกับระนาบของเส้นผ่านศูนย์กลางดาวศุกร์ เกือบเป็นระนาบเดียวกัน นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังเป็นหนึ่งในสองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล (อีกดวงคือดาวยูเรนัส) ที่มีทิศทางการหมุนรอบตัวเองกับทิศทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์แตกต่างกัน โดยมีทิศทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา และทิศทางการหมุนรอบตัวเองในลักษณะตามเข็มนาฬิกา




5
พื้นผิวของดาวศุกร์ร้อนระดับน้องๆ พื้นผิวของดวงอาทิตย์







ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ มีความหนาแน่นมาก โดยมีความดันบรรยากาศมากกว่าโลก 90 เท่า ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์เป็นหลักถึง 96.5 เปอร์เซนต์ ซึ่งชั้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี้ ปกคลุมตั้งแต่พื้นผิวของดาวศุกร์ สูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร และเหนือนั้นยังมีชั้นของกลุ่มเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟุริก .. แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังดาวศุกร์ ส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซนต์จะถูกสะท้อนโดยกลุ่มเมฆกลับไปสู่อวกาศ ส่วนรังสีความร้อนที่ปลดปล่อยจากพื้นผิวของดาวศุกร์จะถูกดูดกลืนด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนไปสู่อวกาศได้ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้นบนดาวศุกร์อย่างรุนแรง อุณหภูมิบนดาวศุกร์ที่เส้นผ่านศูนย์กลางและที่ขั้วโลกจะไม่แตกต่างกันมากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 464 องศาเซลเซียสไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน





ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus)





เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดาวศุกร์มีโอกาสโคจรผ่านดวงอาทิตย์ให้คนบนโลกมองเห็นได้ แต่จะเกิดขึ้นไม่บ่อย ลักษณะการผ่านจะเห็นเป็นจุดดำขนาดเล็กบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ผ่านไปเป็นแนวเส้นตรง โดยจะเกิดเป็นคู่ .. ใน 1 ศตวรรษ จะเกิด 1 คู่ .. แต่ละครั้งจะเกิดห่างกันประมาณ 8 ปี เช่น คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1631 และ 1639 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1761 และ 1769 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1874 และ 1882 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 และ 2012 โดยในปี ค.ศ.2012 นั้นจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2012




This image from NASA's Solar Dynamics Observatory shows Venus as it nears the disk of the sun on June 5, 2012 (เวลาสหรัฐ). Venus's 2012 transit will be the last such event until 2117 (อีก 105 ปีข้างหน้า).


6





เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 (บางประเทศยังเป็นวันที่ 5) มีนักวิทยาศาสตร์ สื่อมวลชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจดาราศาสตร์หลายคน ต่างเฝ้าชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปีนี้ ในบางประเทศโชคดีที่มีท้องฟ้าแจ่มใส .. นักวิทยาศาสตร์ใช้ช่วงเวลา 6 ชั่วโมงที่เกิดปรากฏการณ์นี้ เพื่อทดสอบและคำนวณระยะทางของดาวศุกร์และของดวงอาทิตย์ .. ในเว็บ theatlantic.com ได้เผยแพร่รูปภาพของปรากฏการณ์ครั้งนี้ด้วย จขบ.ขอนำรูปภาพทั้งหมดมาเผยแพร่ในบล็อกนี้อีกทอดหนึ่ง ขอขอบคุณ เว็บ theatlantic.com ไว้ ณ โอกาสนี้




Venus moves across the Sun in this image captured by Japan's satellite Hinode, on June 6, 2012. One of the rarest astronomical events occurred yesterday, when Venus passed directly between the sun and Earth, a transit that won't occur again until 2117. (Reuters/JAXA)


7





Details on the relative sizes and distances involved in yesterday's transit of Venus. (Sun Image by NASA SDO)


8





Planet Venus, visible as a black dot, in transit across the Sun near the Victory Tower in Chittorgarh, India, on June 6, 2012. (AP Photo/Atish Aman)


9





A girl uses a sun observation glass to watch the transit of Venus in Medellin, Colombia, on June 5, 2012. (Raul Arboleda/AFP/Getty Images)


10





An amateur astronomer observes Venus in a clearing in a grove near Jena, Germany, on June 6, 2012. (AP Photo/Candy Welz)


11





Venus in transit across the Sun, seen from in New Delhi, on June 6, 2012. (Manan Vatsyayana/AFP/Getty Images)


12





Venus before the Sun, seen through clouds above New Delhi, on June 6, 2012. (Manan Vatsyayana/AFP/Getty Images)


13





Venus appears as a black dot in front of the Sun, over Amman, Jordan, on June 6, 2012. (Reuters/Ali Jarekji)


14





Josh Romney and his wife Amanda Romney watch the planet Venus transit across the Sun outside Salt Lake City, Utah, on June 5, 2012. (Reuters/Jim Urquhart)


15





A jet passes in front of the Sun, as Venus is transiting, as seen from Huntington Beach, California, on June 5, 2012. Original here. (CC BY Jim Nista)


16





In the Wilhelm-Föster Observatory in Berlin, a woman points to the shadow of Venus on a projected image of the Sun, on June 6, 2012. (AP Photo/Christoph Soeder)


17





An image from NASA's orbiting Solar Dynamics Observatory shows the full disk of the Sun, as Venus passes in front of it on June 5, 2012. Also visible are numerous sunspots. (NASA/SDO)


18





The planet Venus transits at sunset, seen over the Great Salt Lake outside Salt Lake City, Utah, on June 5, 2012. (Reuters/Jim Urquhart)


19





A bird comes into land atop one of the domes of the landmark Taj Mahal as Venus begins to pass in front of the Sun, as visible from Agra, India, on June 6, 2012. (AP Photo/Kevin Frayer)


20





Hong Kong skygazers use special filters on telescopes and binoculars to observe the transit of Venus along the Victoria Harbour in Hong Kong, on June 6, 2012. (AP Photo/Vincent Yu)


21





Ultra-high-definition view of Venus as it passes out of the disk of the Sun, seen by the Helioseismic and Magnetic Imager aboard NASA's orbiting Solar Dynamics Observatory. (NASA/SDO HMI)


22





Venus in silhouette, seen between the Earth and Sun, from NASA's orbiting Solar Dynamics Observatory, on June 5, 2012. (NASA/SDO)


23





Residents of Sarajevo use a telescope to see Venus transiting across the Sun on June 6, 2012 outside the Bosnian capital. (Elvis Barukcic/AFP/Getty Images)


24





The Sun rises behind clouds over the Baltic Sea as the Venus passes in front, above Kolobrzeg, Poland, on June 6, 2012. (AP Photo/Michael Probst)


25





A visitor photographs a live image of Venus moving across the Sun visible through a coelostat, part of a solar telescope, at the Griffith Observatory in Los Angeles, on June 5, 2012. (AP Photo/Jae C. Hong)


26





Spectators at Edgewater Park watch the sun set as the planet Venus crosses the upper right portion of the star in Cleveland, Ohio, on June 5, 2012. (AP Photo/Mark Duncan)


27





Visitors observe the Venus transit from the observation deck of the Planetarium Hamburg, in Hamburg, Germany, on June 6, 2012. (AP Photo/Philipp Guelland)


28





Venus, visible before the Sun despite the clouds, in New Delhi, on June 6, 2012. (Reuters/Adnan Abidi)


29





Venus in transit, seen from Los Angeles, California on June 05, 2012. (Joe Klamar/AFP/Getty Images)


30





Astronomer Raminder Samra attempts to get a view of Venus crossing the Sun using a shadow on a piece of paper and the telescope at the MacMillan Southam Observatory in Vancouver, British Columbia, on June 5, 2012. Unfortunately, cloud cover prevented a proper view of celestial event. (Reuters/Andy Clark)


31





A close view of Venus passing in front of the Sun, seen from NASA's orbiting Solar Dynamics Observatory, on June 5, 2012. (NASA/SDO)


32





Venus passes across the sun as it rises over the Baltic Sea in Kolobrzeg, Poland, on June 6, 2012. (AP Photo/Michael Probst)


33





Skygazers use protective eyewear to observe Planet Venus as it passes in front of the Sun in Kolkata, India, on June 6, 2012. (Dibyangshu Sarkar/AFP/GettyImages)


34





Venus is barely visible in transit across the setting Sun over the Pacific Ocean, viewed from Encinitas, California, on June 5, 2012. (Reuters/Mike Blake)


35





Over a six-hour period on June 5-6 2012, the Solar Dynamics Observatory (SDO) collected images in many wavelengths of one of the rarest predictable solar events: the transit of Venus across the face of the sun. These transits occur in pairs eight years apart that are separated from each other by 105 or 121 years. The last transit was in 2004 and the next will not happen until 2117.




View of 2012 Venus Transit ความยาว 3.07 นาที








ของแถม .. รูปภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ แบบชัดๆ




36




จาก สิน yyswim



ต้องการกดโหวตให้ สาขา Best Topical Blog .. จขบ. ขอขอบคุณครับ





 

Create Date : 08 มิถุนายน 2555
13 comments
Last Update : 8 มิถุนายน 2555 0:30:46 น.
Counter : 12448 Pageviews.

 

รู้สึกเศร้านิดๆ ครับ ความจริงผมค่อนข้างชอบเรื่องดวงดาวเหมือนกัน แต่น่าเสียดายไม่มีโอกาสได้ดูได้แต่ดูตามภาพข่าวหรือในอินเตอร์เน็ตนี่แหละ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 8 มิถุนายน 2555 1:42:56 น.  

 




ไม่ได้ดูด้วยตาตัวเอง ดูจากบล็อกนี้ก็ได้ดูหลายประเทศ

เลย ได้ความรู้ดีมาก ขยันหาเรื่องราวได้ละเอียดดีมาก

โหวตให้ด้วยค่ะ

 

โดย: พรไม้หอม 8 มิถุนายน 2555 9:36:30 น.  

 

เป็นบล็อกเอนทรี่ประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติเลยครับพี่สนิ

เห็นชื่อบล็อกและชื่อ yyswim แล้วเป็นอันต้องรีบกดเข้ามาชมทันใด เพราะรู้ว่าความยิ่งใหญ่อะไรบ้างที่กำลังรออยู่ภายในบล็อกเอนทรี่นี้ในสไตล์ของพี่สิน และก็เต็มอิ่มจุใจ ตื่นตาทั้งภาพหายากขนาดใหญ่ที่พี่สินบรรจงสรรหามาให้เสมอ แต่ครั้งนี้เป็นการรวบรวมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งที่น่าสนใจที่สน ภาพพื้นผิวดาวอาทิตย์ที่น่าทึ้งน่าเกรงขาม ภาพถ่ายดาวศุกร์เคลื่อนภาพดวงอาทิตย์จากมุมมองต่างๆที่ช่างงดงาม ผมชมไปทึ่งไป เอาะ โดยเฉพาะคลิบท้ายนั้นโหยพี่สิน ภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์มันเหลือเชื่อจริงๆครับ

ขอบพระคุณพี่สินมากๆที่รวบรวมสิ่งดีดีแบบนี้มาให้ชมเสมอ และเช่นเคยคงเป็นอีกเอนทรี่นึงที่ผมต้องชวนลูกสาวมานั่งชมด้วยกันอีกครั้งครับ ^^

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 8 มิถุนายน 2555 9:45:47 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
yyswim Topical Blog

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 8 มิถุนายน 2555 9:46:33 น.  

 

ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
เพิ่งเห็นภาพสวยๆวันนี้เอง

 

โดย: wicsir 8 มิถุนายน 2555 10:30:33 น.  

 

รายละเอียดที่นี่ทำให้ทราบเรื่องนี้ค่ะพี่สิน
ขอบคุณสำหรับสรรสาระดีๆ ที่พี่สินนำมาแบ่งปันค่ะ
ขอแชร์ไปเพื่อเป็นประโยชน์ที่หน้าเพจ และแชร์ไปกลุ่มด้วยเลยนะคะ

 

โดย: ณ ปลายฉัตร 8 มิถุนายน 2555 11:59:34 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
yyswim Topical Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: **mp5** 8 มิถุนายน 2555 12:05:17 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่สิน
อ้อแวะมาเยี่ยมค่ะ

ภาพสวยมากๆ เลยค่ะ

 

โดย: ladysamui 8 มิถุนายน 2555 14:10:00 น.  

 

ดาวศุกร์ดวงน้อยชั่งกล้าหาญ ขับรถปาดหน้าดวงอาทิตย์ผู้ยิ่งใหญ่โดยไม่เกรงกลัวบารมีกันเลย

 

โดย: Thongnetra 8 มิถุนายน 2555 15:39:46 น.  

 

วันนั้นฝนตกทั้งวันเลยค่ะ เลยอดดู

 

โดย: sawkitty 8 มิถุนายน 2555 15:59:00 น.  

 

ขอบคุณภาพและบทความดีๆ
แวะมาทักทายเช่นกัน

 

โดย: ลุงแมว 9 มิถุนายน 2555 11:16:11 น.  

 

ทีปํ หิ เอตํ ปรมํ นรานํ
ยํ ปณฺฑิตา โสกนุทา ภวนฺติ

บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้
จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย

มีความสุขกับการได้เป็นที่พึ่งของผู้ทุกข์ยาก ตลอดไป...นะคะ



 

โดย: พรหมญาณี 11 มิถุนายน 2555 11:09:23 น.  

 


แหล่มค่ะพี่สิน

 

โดย: อุ้มสี 12 มิถุนายน 2555 7:37:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.