Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
8 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
ยังโกงได้อีก!! แฉงบซื้อ'ส้วม-เต็นท์'แพงเท่าตัว ชำแหละถุงยังชีพรัฐบาลแพงเกินจริง



แฉงบซื้อ'ส้วม-เต็นท์'แพงเท่าตัว
ชำแหละถุงยังชีพรัฐบาลแพงเกินจริง พบบัญชีเงินบริจาค 878 ล้านบาทช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม แฉ ปภ.ซื้อสุขากระดาษชุดละ 245 บาท แพงกว่าของเอกชนเท่าตัว ขณะที่ราคาเต็นท์ต่างกัน 825 บาทต่อหลัง พร้อมจับตา ศปภ.อนุมัติซื้อหัวเชื้ออีเอ็มแพงกว่า 2 บาท

กำลังถูกประชาชนตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับกระแสข่าวเรื่องการจัดงบประมาณซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่จัดซื้อในราคาแพงเกินจริง 800 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งของที่บรรจุอยู่ในถุง ประเด็นดังกล่าวประชาชนในโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ตั้งคำถามถึงความไม่ชอบมาพากลกันอย่างกว้างขวาง


เผยบัญชีรายจ่ายช่วยเหลือประชาชน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สรุปรายละเอียดการใช้เงินรับบริจาคผ่านบัญชีเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี 2554 ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 โดยมียอดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน- 2 พฤศจิกายน จำนวน 816,323,457.57 บาท เมื่อรวมกับยอดเงินบริจาค และดอกเบี้ยที่เหลืออยู่ก่อนหน้านี้อีก 60 กว่าล้านบาท ทำให้ กองทุนมีเงินรวม 878,487,897.44 บาท

ขณะที่รายจ่ายของกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-3 พฤศจิกายน มีจำนวน 507,114,560 บาท จึงมียอดคงเหลือ 371,373,337.44 บาท โดยรายจ่ายสำคัญของกองทุนคือ การจัดหาถุงยังชีพ 3 รายการ วงเงินรวมกว่า 294.634 ล้านบาท ประกอบด้วยการจัดหาเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่นๆ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)จำนวน 173,124,560 บาท การจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคในการบรรจุร่วมกับสิ่งของบริจาคสำหรับสนับสนุนภารกิจของ ศปภ.จำนวน 71,510,354.79 บาท และค่าจัดหาถุงยังชีพของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพ จำนวน 1 แสนถุง ถุงละ 500 บาท อีก 50 ล้านบาท


แจงเงินจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค


ส่วนรายละเอียดการใช้เงินสำหรับจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค และเครื่องใช้อื่นๆ ของ ปภ.จำนวน 173,124,560 บาท ประกอบด้วย 14 รายการ คือ 1.เรือท้องแบนไฟเบอร์กลาส 30 ลำ ลำละ 2.5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 7.5 ล้านบาท 2.เรือพาย 209 ลำ ลำละ 5,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,149,500 บาท 3.ห้องสุขาเคลื่อนที่ ทำด้วยไฟเบอร์ 18 ห้อง ห้องละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 576,000 บาท

4.ถุงยังชีพ 1 หมื่นถุง ถุงละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 5 ล้านบาท 5.สุขากระดาษ 30,088 ชุด ชุดละ 245 บาท รวมเป็นเงิน 7,371,560 บาท 6.ถุงยังชีพถุงละ 800 บาท 1 แสนถุง รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท 7.เต็นท์นอน 2 คนแบบไม่มีชั้นความร้อน 2,700 หลัง หลังละ 925 บาท รวมเป็นเงิน 2,497,500 บาท 8.เต็นท์นอน 2 คน แบบไม่มีชั้นความร้อน 1,200 หลัง หลังละ 1,750 บาท รวมเป็นเงิน 2.1 ล้านบาท

9.เต็นท์นอน 2 คนแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลัง หลังละ 1,950 บาท รวมเป็นเงิน 6,045,000 บาท 10.เต็นท์นอน 3 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลัง หลังละ 3,450 บาท รวมเป็นเงิน 4,485,000 บาท 11.เต็นท์นอน 4 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 1,950 หลัง หลังละ 4,000 บาท รวมเป็นเงิน 7.8 ล้านบาท 12.เต็นท์ยกพื้นขนาดนอน 5-6 คน 200 หลัง หลังละ 55,000 บาท รวมเป็นเงิน 11 ล้านบาท 13.สุขาเคลื่อนที่ 800 หลัง หลังละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 25.6 ล้านบาท 14.สุขามือถือพลาสติก 30,000 ชุด ชุดละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 12 ล้านบาท


พบเต็นท์นอน-สุขากระดาษราคาต่าง

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีข้อน่าสังเกตว่า การใช้เงินบริจาคในการจัดซื้อเต็นท์นอน 2 คน แบบไม่มีชั้นความร้อนในรายการที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นรายการเดียวกันมีราคาแตกต่างกันถึง 825 บาทต่อหลัง

ขณะที่การจัดซื้อสุขากระดาษ ที่ระบุว่ามีราคาชุดละ 245 บาท จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการจัดซื้อที่แพงกว่าสุขากระดาษที่มูลนิธิซิเมนต์ไทย จัดทำสำหรับบริจาคให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย มีราคาอยู่ที่ 111 บาทเท่านั้น ดังนั้นการจัดซื้อสุขากระดาษของ ปภ.ครั้งนี้ จึงมีราคาแพงกว่าของมูลนิธิซิเมนต์ไทยถึง 134 บาทต่อ 1 ชุด เมื่อคำนวณจากจำนวนที่ ปภ.จัดจัดซื้อทั้งหมด 30,088 ชุด จะมีราคาแพงกว่า 4,031,792 บาท


จับตาศปภ.อนุมัติซื้อหัวเชื้ออีเอ็ม

แหล่งข่าวจากศปภ.เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงกลาโหมแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียภายใน 15 วัน โดยกระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นประธานในการดำเนินการ โดยในชั้นของการหารือกับผู้แทนกระทรวงทรัพยากรฯ จะขอใช้อีเอ็มที่ได้รับบริจาคมา แต่ทางกระทรวงกลาโหมไม่แน่ใจที่มาของเชื้อจุลินทรีย์ ว่าจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้จริงหรือไม่ จึงเสนอให้แยกพื้นที่ในการบำบัด เพื่อวัดผลว่า การบำบัดได้ผลในพื้นที่ใดและไม่ได้ผลในพื้นที่ใดบ้าง แต่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศปภ.และกระทรวงทรัพยากรฯ ไม่เห็นด้วยกับการแยกดำเนินการ

ทั้งนี้ จุลินทรีย์ที่กระทรวงทรัพยากรฯ อ้างว่า ได้มาจากการบริจาคนั้น หากต้องการปริมาณมากต้องสั่งซื้อเพื่อนำมาทำหัวเชื้อในราคาลิตรละ 3 บาท แต่หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่กระทรวงกลาโหมนำมาใช้นั้นมีราคาเพียงลิตรละ 80 สตางค์ และประชาชนสามารถนำเชื้อจุลินทรีย์ไปขยายหัวเชื้อต่อได้ โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เนื่องหากหัวเชื้อ 1 ลิตร นำไปขยายหัวเชื้อได้จำนวนมาก


Create Date : 08 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2554 7:26:20 น. 0 comments
Counter : 654 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yungbin
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add yungbin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.