****ทำความดีวันละนิดจิตแจ่มใส**** ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา สิ่งที่ตามเราไปมีเพียงแต่บุญและบาป
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
22 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
การเจริญอานาปาณสติ

การเจริญอานาปาณสติ

การเจริญอานาปาณสติ

       การเจริญอานาปาณสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ซึ่งดู ๆ ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก เพราะอาจเผลอตัว ไม่มีความรู้สึกตัว คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ขาดสติสัมปชัญญะ คือ เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่ โดยเฉพาะการกำหนด
ลมหายใจนี้ ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า การเจริญอานาปาณสตินี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า และ
เฉียบแหลม หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่

๗. สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวก
ดีมาก คือ
       ก. เสนาสนะในป่าที่สงัด เหมาะแก่ฤดูร้อน เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ เสมหะ
       ข. เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้ หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ เหมาะแก่ฤดูหนาว เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี
       ค. เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ

๘. การกำหนดลมหายใจนี้ จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น ๑๖ นัยด้วยกัน

หมวดที่ ๑
ก. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกยาวและเข้ายาว
ข. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกสั้นและเข้าสั้น
ค. กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้ว่าเบื้องต้น ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว ( การระลึกรู้ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ ปลายลมหายใจ ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านให้ใช้สติระลึกรู้ที่ปลายจมูกตรงจุดที่ลมกระทบเพียง แห่งเดียวเท่านั้น ก็จะสามารถระลึกรู้ทั้ง ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ และปลายลมหายใจ ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านห้ามการระลึกรู้ตามลมหายใจ จากจมูกไปยังหน้าอก และไปถึงสะดือหรือท้อง เพราะจะทำให้จิตแกว่งไม่ตั้งมั่น ในอารมณ์เดียว จิตจะฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ )
ง. ให้รู้ในกายสังขาร คือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่สงบ คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด ยิ่งขึ้นทุกที ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว


หมวดที่ ๒
ก. กำหนดให้รู้แจ้ง ปีติในเวลาหายใจออกและเข้า หมายความว่า กำหนดตามหมวดที่ ๑ จนได้ฌานแล้ว
       มีวสีภาวะทั้ง ๕ แล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์

       อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
       
       ที่ให้เพ่ง ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้น ๆ นั้น ปีติ มักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น

ข. กำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้า มีความหมายว่า ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือ จตุตถฌานนั้น ความสุขในองค์ฌานย่อมปรากฏชัด จึงกำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้าได้สะดวก

ค. กำหนดให้แจ้งใน จิตตสังขาร คือ เวทนา สัญญา ในเวลาหายใจออกและเข้า

ง. กำหนดให้แจ้งในการยังจิตตสังขารให้สงบ ในเวลาหายใจออกและเข้า ซึ่งผู้ที่ได้ฌานใด ๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้


หมวดที่ ๓
ก. กำหนดให้แจ้งในจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้จิตที่เป็นไปด้วยรูปฌานทั้ง ๕
ข. กำหนดให้แจ้งในความบันเทิงของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ปีติ ที่ประกอบด้วยฌานนั้น ๆ
ค. กำหนดให้แจ้งในจิตที่เป็นสมาธิ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายทั้ง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
ง. กำหนดให้แจ้งในความพ้นของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความพ้นทั้ง ๒ อย่าง คือ  พ้นด้วยสมาธิ ก็พ้นจากนิวรณ์ ๕ หรือพ้นจาก วิตก วิจาร ปีติตามลำดับขององค์ฌาน ถ้าพ้นด้วยวิปัสสนาก็พ้น
จากวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา เป็นต้น


หมวดที่ ๔
ก. กำหนดตามเห็นอนิจจัง ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปขันธ์ ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์ ในสังขารขันธ์ และในวิญญาณขันธ์
ข. กำหนดตามเห็นวิราคะ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงพ้นจากราคะด้วยอำนาจของวิปัสสนาหรือด้วยมัคคจิต ๔ ความพ้นทั้ง ๒ นี้เรียกว่า วิราคานุปัสสนา
ค. กำหนดตามเห็นความดับ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความดับของทุกข์ สมุทัย หรือความดับของ วยะ ขยะ คือ ความดับสิ้นไปของสังขารนั้น
ง. กำหนดตามเห็น ความสละในการยึดมั่น ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ละการยึดถือด้วยอุปาทาน มีอัตตวาทุปาทาน เป็นต้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนา

       ในอานาปาณสติ ๑๖ นัยนี้ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึง ๓ รวม ๑๒ นัยนั้นกล่าวรวมทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย

       ส่วนในหมวดที่ ๔ นั้น กล่าวเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว

       หมวดที่ ๑ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌาน และสงเคราะห์ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

       หมวดที่ ๒ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌานถึงจตุตถฌาน และสงเคราะห์ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

       หมวดที่ ๓ สงเคราะห์ด้วยฌานทั้ง ๕ และสงเคราะห์ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

       หมวดที่ ๔ กล่าวเฉพาะ วิปัสสนา




from : )

//oldaphidham.mcu.ac.th/






Free TextEditor


Create Date : 22 ตุลาคม 2551
Last Update : 22 ตุลาคม 2551 21:26:11 น. 0 comments
Counter : 626 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

you4lucky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ
Friends' blogs
[Add you4lucky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.