****ทำความดีวันละนิดจิตแจ่มใส**** ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา สิ่งที่ตามเราไปมีเพียงแต่บุญและบาป
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
อริยสัจ 4 By วั ด ห น อ ง ไ ท ร

อริยสัจ 4 By วั ด ห น อ ง ไ ท ร
อริยสัจ 4 By วั ด ห น อ ง ไ ท ร


อริยสัจ 4

ในทางพุทธศาสนา อริยสัจ 4 เป็นคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง ว่าด้วย ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการซึ่งเป็นรากฐานของคำสอนพระองค์ทั้งมวล กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นความจริง 4 ประการที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยบุคคล ความจริงทั้งสี่ประการนั้นมีดังต่อไปนี้

o ทุกขสัจจ์ กล่าวว่า ความทุกข์มีอยู่จริง โดยพระพุทธองค์ตรัสว่า การเกิด ความแก่ชรา ความตาย ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ การพบสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความไม่สมปรารถนา นั้นเป็นทุกข์

o สมุทัยสัจจ์ กล่าวว่า ความทุกข์ทั้งหลายนั้นมีสาเหตุ พระพุทธองค์ตรัสว่าสาเหตุของความทุกข์นั้นคือ การไปสมมติว่าธรรมชาติซึ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนนั้นมีตัวตน มีแก่นสาร และเที่ยงแท้ ทำให้เกิดตัณหา คือความอยากอันขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่าทุกสิ่งไม่สามารถให้ความพึงพอใจได้อย่างเที่ยงแท้ เมื่อธรรมชาติไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็เกิดความทุกข์

o นิโรธสัจจ์ กล่าวว่า ความดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง และความดับทุกนั้นคือภาวะที่ไม่มีความยึดติด ไม่มีความอยาก มีปัญญาเข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ และไม่นำยึดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวเป็นตน อันจะทำให้เป็นสาเหตุแห่งความไม่สบายกายไม่สบายใจ จึงเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งมวล ภาวะนี้เรียกได้อีกอย่างว่านิพพาน

o มัคคสัจจ์ กล่าวว่า วิธีปฏิบัติให้บรรลุถึงความดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง คือ การรักษาคำพูด การกระทำ การหาเลี้ยงชีพ ความพยายาม สติ สมาธิ ความเห็น และความคิด ให้ถูกต้องดีงามและสอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งวิธีการปฏิบัตินี้สรุปได้เป็นหลักคำสอนที่ชื่อว่า มรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด (ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)


กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

ปริญญา - ทุกข์ ควรกำหนดรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ

สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย

ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ,กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า

นี่คือทุกข์

นี่คือเหตุแห่งทุกข์

นี่คือความดับทุกข์

นี่คือทางแห่งความดัิบทุกข์

กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า

ทุกข์ควรรู้

เหตุแห่งทุกข์ควรละ

ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง

ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น

กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว

ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว

ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว

ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว





from
//www.watnongsai.com/index.php?mo=3&art=22338




Create Date : 21 ตุลาคม 2551
Last Update : 21 ตุลาคม 2551 15:02:24 น. 0 comments
Counter : 603 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

you4lucky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ
Friends' blogs
[Add you4lucky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.