Ninja!
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
เรื่องเบา ๆ ของ เบาหวาน

เบาหวาน Diabetes Mellitus



ลักษณะทั่วไป

เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ในคนทุกวัยแต่จะ พบมากในคนอายุ
มากกว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มี
ลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น

ประเภทของเบาหวาน เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง
และการรักษาต่างกัน ได้แก่

1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

เป็นชนิดที่พบ ได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคน อายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบ
ในคน สูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะ สร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมี
การสร้างแอนติบอดี ขึ้น ต่อต้านทำลายตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียก ว่า
"โรค ภูมิแพ้ต่อตัวเอง" หรือ "ออโตอิมมูน (autoimmune)" ทั้งนี้เป็นผลมา จากความผิดปกติทาง
กรรมพันธุ์ ร่วมกับการติดเชื้อ หรือการได้รับสารพิษ จากภายนอกผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลิน
เข้าทดแทนในร่างกายทุก วัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญ
ไขมัน จนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร คีโตน (ketones) ซึ่งเป็น
สารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้จะเป็นพิษ ต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วย หมดสติถึงตายได้รวด
เร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสาร คีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)"

2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

เป็น เบาหวาน ชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุน แรงน้อยมักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี
ขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่ม สาวได้บ้าง
ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้าง อินซูลินแต่ไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มี
น้ำตาลที่เหลือใช้ กลายเป็น เบาหวาน ได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมาก ๆ กับพวกที่ไม่อ้วน
(รูปร่าง ปกติ หรือผอม) สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไปมีลูกดก จากการ ใช้ยา หรือพบร่วมกับ
โรคอื่น ๆ ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่นที่เกิดกับ ชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยา
เบาหวาน ชนิดกิน ก็มักจะ ได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับ น้ำตาล
สูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินซูลิน ตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้องพึ่ง อินซูลิน

สาเหตุ

โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน (lnsulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มี หน้าที่คอย
ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ หรือมีพอแต่ใช้ไม่ได้ น้ำตาล
ก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาล คั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไต
กรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียก ว่า เบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการ
ปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต จะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมาก
กว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำ
น้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มี
ไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรงนอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ
เกิดความผิดปกติ และ นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย
โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ กล่าวคือ มักมีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวาน มากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้)
มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ , ยาขับ ปัสสาวะ , ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับ
โรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง , มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย , โรคฟีโอโครโมไซโตมา
(Pheochromocytoma) ซึ่งเป็นเนื้องอก ของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง, โรคคุชชิง เป็นต้น

อาการ

ในรายที่เป็นไม่มาก (ระดับน้ำตาลในเลือด 140-200 มก.ต่อเลือด 100 มล.) อาจ ไม่มีอาการ ผิดปกติอย่าง
ชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือดขณะที่ไปหา หมอด้วยโรคอื่นในราย
ที่มีอาการชัดเจน จะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ) กระหาย น้ำ ดื่มน้ำบ่อยหิวบ่อย หรือกินข้าวจุ
อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น

ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลง ฮวบฮาบ กินเวลา
เป็นสัปดาห์ หรือเดือน เด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่ง
อินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง น้ำหนักตัวอาจลดบ้างเล็กน้อย บางคนอาจมีน้ำหนักขึ้นหรือรูปร่างอ้วน
ผู้หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตาม ช่องคลอด หรือตกขาว บางคนอาจมีอาการคันตามตัว
เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก ผู้หญิง อาจคลอดทารกที่มีตัวโต (น้ำหนักมาก)กว่าธรรมดา
หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษหรือคลอดทารกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบ
ปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกทีหรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ เป็นต้น

สิ่งตรวจพบ

ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมันกล้ามเนื้อ ฝ่อลีบ
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างอ้วน อาจพบอาการ ชาตามมือและเท้า ความดันโลหิตสูง
ต้อกระจก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ บางรายอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกายการตรวจปัสสาวะ มัก
จะพบ น้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป


อาการแทรกซ้อน

มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน อย่างน้อย 5 ปี โดยไม่ได้รับการรักษาอย่าง จริงจังหรือปล่อยปละละเลย
โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
1. ตา อาจเป็นต้อกระจก ก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือ เลือดออก ในน้ำวุ้นลูกตา
(vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมาและอาจ
ทำให้ตาบอดในที่สุด
2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าซึ่งอาจ
ทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย(อาจลุกลาม จนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากมีภาวะความดัน
ตกในท่ายืน
บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะ
ไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่ง เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วย
เบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิต สูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาด
เลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้า ไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริวหรือ ปวดขณะเดิน
มาก ๆ หรืออาจทำให้ เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอับเสบ ,
กรวยไตอักเสบ, กลาก , โรคเชื้อราแคนดิดา , ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด , เป็นฝี หรือ
พุพองบ่อย,เท้าเป็นแผล ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนาน ๆ
ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการ เผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
กระหายน้ำ อย่างมากหายใจ หอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำ
รุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อย ๆ
จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

การรักษา

1. หากสงสัยหรือตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยให้ผู้ป่วยอดอาหาร
(รวมทั้งเครื่องดื่มทุกชนิด) ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะ เลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า เพื่อตรวจดูระดับ
น้ำตาลในเลือด ที่เรียกว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting blood sugar) ซึ่ง
ใน คนปกติจะมีค่า 60-120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล. ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่า 140 มก. ต่อเลือด 100 มล.
ในการเจาะตรวจ 2 ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่ามีความรุนแรงมาก
ขึ้นเท่านั้น

การรักษามักจะเริ่มด้วยการแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตัวอื่น ๆ
(รายละเอียดดูในเรื่องข้อแนะนำ) ถ้าคุมอาหารอย่าง เดียวไม่ได้ผล อาจต้องให้ยารักษาเบาหวาน โดยถือหลักดังนี้

1.1 ในรายที่เป็นไม่มาก (เช่น เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) อาจให้ยาชนิด กิน ที่สะดวก ราคาถูก และ
นิยมใช้กันมาก คือ ยาเม็ดคลอร์โพรพาไมด์ (Chlor propamide) ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่นไดอะบีนิส
(Diabenese)โดยมากจะมีอยู่ 2 ขนาด คือ เม็ดเล็ก ขนาด 100 มิลลิกรัม และเม็ดใหญ่ขนาด 250 มิลลิกรัม
ใช้กินวันละครั้งเดียว คือก่อนอาหารเช้าโดยเริ่มจากขนาดน้อย ๆ ก่อน คือใช้ ขนาดเม็ดเล็ก 1 เม็ด หรือเม็ดใหญ่
ครึ่งเม็ด วันละครั้ง แล้วคอยตรวจน้ำตาลใน ปัสสาวะทุกวัน (ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุกวัน)
ถ้ากินยาไป 10 วัน แล้วยังมีน้ำตาลในปัสสาวะขนาดสองบวก (2+) ถึงสี่บวก (4+) หรือน้ำตาล ในเลือดยัง
สูงเกิน 140 มก.ต่อเลือด 100 มล. แสดงว่าไม่ได้ผลให้เพิ่มยาอีก ครั้งละ 1 เม็ดเล็ก หรือครึ่งเม็ดใหญ่ ถ้ายัง
ไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มในขนาดนี้ทุกๆ 10 วันจนกว่าอาการต่าง ๆ ทุเลาลง (อ่อนเพลียน้อยลง ปัสสาวะห่างขึ้น
กระหายน้ำ น้อยลง) และน้ำตาลในปัสสาวะมีแค่หนึ่งบวก (1+) หรือไม่มีเลย ก็ให้กินยา ในขนาดนี้ไปเรื่อย ๆ
ถ้าเพิ่มยาจนใช้ยาเม็ดใหญ่ (ขนาด 250 มิลลิกรัม) กินวัน ละครั้งถึง 2 เม็ดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ไม่ควรเพิ่มมาก
กว่านี้ ผู้ป่วยที่กินยานี้ไม่ได้ ผล หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือเป็น โรคไต หรือโรคตับอยู่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาชนิด
อื่น เช่น ยาเม็ดไกลเบนคลาไมด์ (Glybenclamide) ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ดาโอนิล (Daonil), ยูกลูคอน
(Euglucon) ซึ่งมีขนาด 5 มิลลิกรัม ควรเริ่ม จากครั้งละครึ่งเม็ดแบบเดียวกับคลอร์โพรพาไมด์ ให้ได้สูงสุด
วันละ 4 เม็ด

1.2 ในรายที่ใช้ยาชนิดกินไม่ได้ผล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน) หรือในกรณี
ที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือตั้งครรภ์หรือต้องทำผ่าตัดด้วยโรคอื่น ๆ ก็ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินซึ่งควร
ปรับให้ได้ขนาดที่พอเหมาะกับผู้ป่วยแต่ ละราย โดยเริ่มจากขนาดทีละน้อยก่อนเช่นเดียวกัน ส่วนมากจะสอน
ให้ผู้ป่วย หรือญาติฉีดเองที่บ้านผู้ป่วยชนิดพึ่งอินซูลิน อาจต้องฉีดอินซูลินทุกวันไปตลอด ชีวิตส่วนผู้ป่วยชนิด
ไม่พึ่งอินซูลิน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแล้ว อาจหัน กลับมาใช้ยาชนิดกินแทนก็ได้

1.3 ในการติดตามผลการรักษา นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้ว ควรนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดเป็นครั้งคราว
ถ้าระดับน้ำตาลวัดได้ 80-120 ถือว่าคุมได้ดี ระหว่าง 121-140 ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิน 140 ถือว่าไม่ดี ต้อง
ปรับปรุงในราย ที่ระดับน้ำตาลขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่แน่นอน หรือไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อย ก็อาจต้องตรวจ
เลือดดูระดับน้ำตาลที่เกาะอยู่บนฮีโมโกลบินในเม็ด เลือด แดงที่เรียกว่า "ฮีโมโกลบิน เอ1ซี" (hemoglobin
A1C) ซึ่งจะวัดค่าน้ำตาล เฉลี่ยย้อนหลังในช่วง 8-12สัปดาห์ นับว่าเป็นวิธีวัดระดับน้ำตาลได้ แม่นยำแน่นอน
ควรตรวจทุก ๆ 3 เดือน ถ้าวัดได้ต่ำกว่า 6.5% ถือว่าดี


ระหว่าง 6.5-7.5% ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิน 7.5% ถือว่าไม่ดีต้องปรับปรุง

2. ถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่ขาดการรักษานาน ๆ และสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาลโดย
เฉพาะอย่างยิ่งถ้าสงสัยมีภาวะคีโตซิส ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน

3. ผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบ หรือเป็นฝีพุพอง ให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน , อีริโทรไมซิน

4. ควรตรวจดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตรวจเลือด (หาระดับไขมันในเลือด, ครีอะตินีน,บียูเอ็น),
ตรวจปัสสาวะ, คลื่นหัวใจ เป็นครั้งคราวและตรวจ ตาโดยจักษุแพทย์ (ปีละครั้ง)


ข้อแนะนำ

1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจาก โรคแทรกซ้อนได้มาก จึงควรอธิบายให้
ผู้ป่วยเข้าใจ มิเช่นนั้น ผู้ป่วยมักจะดิ้นรนเปลี่ยนหมอไปเรื่อย ๆ หรือหันไปรักษาทางไสยศาสตร์ หรือกินยาหม้อ
หรือสมุนไพรแทน
2.ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือ มีอาการใจหวิวใจสั่น
หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมาก ๆ อาจเป็นลมหมดสติ หรือชักได้ ควรบอกให้
ผู้ป่วยระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาล หรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าว
ให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หายเป็นปลิดทิ้งทันที (ถ้าตรวจปัสสาวะตอนนั้น จะไม่พบ
น้ำตาลเลย) ผู้ป่วยควรทบทวนดูว่า กินอาหารน้อยไปหรือออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่หรือไม่ ควรปรับ
ทั้งสอง อย่างให้พอดีกัน จะช่วยป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้ายังเป็นอยู่บ่อย ๆ ควรไปปรึกษา
แพทย์ที่รักษา อาจต้องลดยาเบาหวานลงผู้ป่วยที่กินอาหารผิดเวลา ก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน จึงต้องหมั่นกิน
ข้าวให้ตรงเวลา
3. ผู้ป่วยอย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้เช่น สเตอรอยด์ , ยาขับปัสสาวะ
เป็นต้น และยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้เช่น แอสไพริน ,
ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , ซัลฟา เป็นต้น ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มี
ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และมีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน หรือคนอ้วน ควรตรวจเช็กปัสสาวะหรือเลือดเป็น
ครั้งคราว หากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะได้ให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ
5. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
5.1 พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด ขอย้ำว่าถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย (140-200มิลลิกรัมต่อเลือด
100 มิลลิลิตร) ก็อาจไม่มีอาการผิดปกติให้รู้สึกได้ อาจทำให้คนไข้ชะล่าใจปล่อยตัวจนอาจเกิด
โรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้ หากเป็นไปได้ควรตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
5.2 กินยาลดน้ำตาล หรือฉีดอินซูลิน ตามขนาดที่แพทย์สั่ง อย่าลดยา หรือปรับยาตามความรู้สึก หรือ
การคาดเดาของตัวเองเป็นอันขาด ควรใช้ยาและกินอาหารให้เป็นเวลา (ตรงเวลาทุกมื้อ) ปริมาณอาหาร
ให้พอ ๆ กันทุกวัน
5.3 ควรควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด โดยมีหลักง่าย ๆ ดังนี้
(1) กินอาหารวันละ 3 มื้อ กินให้ตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง กินในปริมาณใกล้เคียงกันทุกวันทุกมื้อ
(2) อย่ากินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา
(3) ในแต่ละมื้อ ให้กินอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผัก
(4) ห้ามกินน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมเชื่อมน้ำตาล นมหวาน (ให้ดื่มนมจืดแทน)
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด (เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น ละมุด อ้อย) ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แช่อิ่ม
หรือเชื่อมน้ำตาล
(5) ถ้าชอบหวาน ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทน
(6) ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ยาดองเหล้า เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
(7) หลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู เนย มันหมู มันไก่ เนื้อติดมัน หมูสามชั้นครีมกะทิ
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไข่แดง หอยนางรม อาหารทอด (เช่น ไก่ทอด กล้วยแขก ปาท่องโก๋
มันทอด ข้าวเกรียบ)
(8) หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด และอาหารสำเร็จรูป (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง)
(9) กินอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ถั่ว ขนมปัง ในจำนวนพอเหมาะไม่มากหรือน้อย
จนเกินไป
(10) กินผักให้มาก ๆ (ปริมาณไม่จำกัด) โดยเฉพาะผักประเภทใบและถั่วสด เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า
ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกะเฉด มะระ มะเขือยาว ถั่วงอก ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ฯลฯ
(11) กินผลไม้ที่มีรสหวานไม่มาก ได้มื้อละ 6-8 คำ เช่น ส้ม มังคุด มะม่วง มะละกอ พุทรา ฝรั่ง สับปะรด
5.4 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำงานออกแรงกายให้มาก
ควรทำในปริมาณพอ ๆ กันทุกวัน อย่าหักโหมทั้งการควบคุมอาหาร และการออกกำลัง ควรให้เกิดความ
พอเหมาะ ที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าอ้วนเกินแสดงว่า ยังปฏิบัติ ทั้ง 2 เรื่องนี้
ไม่ได้เต็มที่
5.5 พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียด หรือวิตกกังวล
5.6 ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้นซึ่งเป็นต้นเหตุของ
โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
5.7 หมั่นดูแลรักษาเท้า ดังนี้
(1) ทำความสะอาดเท้า และดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้างและฟอกสบู่ ตามซอกนิ้วเท้า และ
ส่วนต่าง ๆ ของเท้าอย่างทั่วถึง หลังล้างเท้าเรียบร้อยแล้ว ซับทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณซอก\นิ้วเท้า
ให้แห้งด้วยผ้าขนหนู ระวังอย่าเช็ดแรงเกินไป เพราะผิวหนังอาจถลอกเป็นแผลได้
(2) ถ้าผิวหนังที่เท้าแห้งเกินไป ควรใช้ครีมทาผิวทาบาง ๆ โดยเว้นบริเวณ ซอกนิ้วเท้า และรอบเล็บเท้า
(3) ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้าบริเวณที่เป็นจุดรับน้ำหนัก และ
รอบเล็บเท้า เพื่อดูว่ามีรอยช้ำ บาดแผล หรือการอักเสบหรือไม่ หากมีแผลที่เท้า ต้องรีบไปพบแพทย์
ทันที
(4) การตัดเล็บ ควรตัดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ ซึ่งอาจลุกลาม และเป็นสาเหตุ
ของการถูกตัดขาได้
- ควรตัดเล็บในแนวตรง ๆ และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป
- ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
- การตัดเล็บ ควรทำหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ ๆเพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ถ้า สายตามอง
เห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
(5) ป้องกันการบาดเจ็บและเกิดแผล โดยการสวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน (อย่าเดินเท้า เปล่า) ควร
เลือกรองเท้าที่สวมพอดี ไม่หลวม ไม่บีบรัด พื้นนุ่ม มีการระบายอากาศและความชื้นได้ ควรสวม
ถุงเท้าด้วยเสมอโดยเลือกสวมถุงเท้าที่สะอาด ไม่รัดแน่น และเปลี่ยนทุกวัน ก่อนสวม รองเท้า
ควรตรวจดูว่า มีวัตถุมีคมตกอยู่ในรองเท้าหรือไม่ สำหรับรองเท้าคู่ใหม่ในระยะเริ่มแรก
ควรใส่เพียงชั่วเวลาสั้น ๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รองเท้าค่อย ๆ ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
(6) หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็ง ๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า และไม่ควรซื้อยากัดลอกตาปลา
มาใช้เอง
(7) ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อน หรือประคบด้วยของร้อนใด ๆจะทำให้ เกิด
แผลไหม้พองขึ้นได้ และไม่ช่วยให้อาการชาดีขึ้นแต่อย่างใด
(8) ถ้ามีตุ่มหนอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้า ควรรีบไปหาแพทย์รักษา อย่าใช้เข็มบ่งเอง หรือใช้
ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ชะแผลควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ และปิดแผล
ด้วยผ้ากอซที่ปลอดเชื้อ และติดด้วยพลาสเตอร์อย่างนิ่ม (เช่น ไมโครพอร์) อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์
ธรรมดา
5.8 ผู้ที่กินยา หรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ประจำทุกวัน ถ้าหากมีอาการหิว ใจหวิว ใจสั่น หน้ามืดตาลาย
ตัวเย็น อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่กิน
อาหารน้อย หรือกินผิดเวลา ทำงานหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ
5.9 หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะด้วยตนเอง ช่วยให้รู้ได้คร่าว ๆ ว่า ควบคุมเบาหวานได้ดีเพียงไร
ควรปรึกษาแพทย์ถึงเทคนิคการตรวจ และความถี่ของการตรวจ การสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว
บอกไม่ได้ว่า ควบคุมโรคได้หรือไม่ถ้าเป็นไปได้ ควรซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีเทคนิค
การตรวจอย่างง่าย ๆไว้ตรวจเองที่บ้านทุกวัน จะช่วยให้สามารถประเมินผลการรักษา และปรับอาหาร
ให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
5.10 ควรพกบัตรประจำตัว ที่ระบุถึงโรคที่เป็น และยาที่ใช้รักษา หากระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน
ประสบอุบัติเหตุ หรือเป็นลมหมดสติ แพทย์จะได้ให้การช่วยเหลือที่ถูกต้อง และทันท่วงที


การป้องกัน

โรคนี้อาจป้องกันได้โดย การรู้จักกินอาหาร (ลดของหวาน ๆ อาหารพวกแป้งและไขมัน กินอาหารพวกโปรตีน
ผัก และผลไม้ให้มาก ๆ) อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน
อย่าให้เครียด หรือวิตกกังวล (ผมว่าการป้องกันง่ายกว่าการรักษาเยอะเลยเนอะ)


สรุปสาเหตุและโอกาส ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

1. สาเหตุจากกรรมพันธุ์ หรือมีคนในครอบครัวเป็นมาก่อนเช่น พ่อ แม่ พี่
2. ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดี
3. ผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้การสังเคราะห์และประสิทธิภาพของอินซูลินได้น้อยลง
4. โรคของตับอ่อน เช่นตับอ่อนอักเสบ
5. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่นหัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งจะไปมีผลต่อตับอ่อนได้
6. การได้รับยาบางชนิด เช่นสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลสูงมากขึ้น หรือตอบสนองต่ออินซูลินไม่ดี
7. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการยับยั้งการทำงานของอินซูลิน


โรคแทรกซ้อน จากโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

โรคแทรกซ้อนมักเกิดจากผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล
หรือควบคุมได้ไม่ดี (ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว)

- ระยะสั้น ได้แก่การเกิดโรคแทรกซ้อนฉับพลัน เช่นการหมดสติจากระดับ
น้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากได้รับยามากเกินไป หรือการติดเชื้ออย่างเฉียบ
พลัน
- ระยะยาว ผลของระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ทำให้หลอดเลือด
ตีบแข็งในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดเลือดไหลเวียนไปได้ไม่ดีเกิดปัญหาตาม
มาได้เช่น โรคเกี่ยวกับตา ความดันโลหิตสูง โรคไตเสื่อม ไตวาย อัมพาต
หลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นประสาทเสื่อม เป็นต้น


ขอบคุณแหล่งข้อมูล //www.thailabonline.com เป็นอย่างสูงเลยครับ


Create Date : 15 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2549 22:26:39 น. 11 comments
Counter : 530 Pageviews.

 
ต๊ายยยยยยยย เรา 41ปี ... สงสัยต้องไปตรวจเบาหวานซะแล้ว ... กลัวเหมือนกัน...


โดย: @ ปั๊กกาเป้า @..อิอิ วันที่: 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:39:53 น.  

 
เคยไปเฝ้าไข้ ที่รพ.หลายเดือน เห็นคนเป็นเบาหวานและตัดขาก็มาก คุณหมอ เคยบอกว่า ให่ดูแลตวเองตั้งเเต่ตอนนี้ ดีกว่าต้องมาทานยาตลอดชีวิต ขอบคุณค่ะ สำหรับ ความรู้เรื่องเบาหวาน สุขภาพแข็งเเรงนะคะ


โดย: ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ) วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:1:43:19 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับ ลุงกล้วยมารับเรื่องราวที่มีประโยนช์ยามเช้าครับ


โดย: ลุงกล้วย วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:5:41:05 น.  

 


แวะมาเที่ยวหาจ้า


โดย: nakwan6 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:19:22:37 น.  

 
ขอบคุณ คุณ @ ปั๊กกาเป้า @..อิอิ ที่แวะมาเม้นท์ในบล็อคผมครับ เคยได้ยินมาว่าถ้าอายุเกิน35-40 ต้องไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้งก็ยังดี รูปที่เห็นทำให้นึกถึงเจ้า "วัมโป๊ะ" ในหนังสือการตูน"ก้าวแรกสู่สังเวียน" (ตูแก่ขนาดนี้ยังอ่านหนังสือการตูนอีก)

ขอบคุณ คุณ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ชื่อนี้ผมชอบนะ ของโปรดเลย) ที่แวะมาเม้นบล็อคผมและคำอวยพรครับ ใช่ครับที่คุณพูดถูกเผ๋งเลย ตอนที่ยังไม่เป็นป้องกันง่ายกว่าตอนที่ต้องมานั่งรักษาอีก(จริงๆ ไม่น่าเรียกว่ารักษานะน่าจะเรียกว่า"คุมอาการไม่ให้กำเริบ"มากกว่า) เพราะเมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตเลย ถึงอาการไม่กำเริบแต่ก็ทำให้มีอุปสรรคต่อชีวิตประวันเราไม่มากก็น้อย(ดังที่เห็นในตัวหนังสือสีแดงในบทความนี้) เช่นกันครับ ขอให้คุณก๋วยเตี๋ยวต้มยำ มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขครับ

ขอบคุณลุงกล้วยที่แวะมาเยี่ยมผมตอนเช้าครับ ชอบรูปนี้มากครับ (ชอบรูปที่มีโทนสีแบบนี้ครับ) ขอให้ลุงกล้วยรักษาสุขภาพนะครับ(อย่างน้อยก็ตรงตามจุดประสงค์กับเรื่องที่ผมโพสไว้ก็ยังดี)

ขอบคุณ คุณnakwan6 ที่แวะมาเยี่ยมและเม้นท์บล็อคครับ วันนี้พาเจ้าเปียกปูนมาเยี่ยมด้วย ขอบคุณมากครับ ขอให้สุขภาพแข็งแรงและมีความสุขครับ


โดย: postmaker วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:21:44:01 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะพี่~

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย พอดีอาสะใภ้เป็นเบาหวานด้วย ขออนุญาตปริ๊นไปฝากเค้านะคะ


โดย: แพนด้า (dekhype ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา:3:07:23 น.  

 


อรุณสวัสดิ์เช้าวันศุกร์ครับ ลุงกล้วยแวะมาส่งความสุขนะครับ


โดย: ลุงกล้วย วันที่: 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา:5:16:38 น.  

 
พี่โพสคะ กระต่ายเห็นพี่อัพบลอคเกี่ยวกับสุขภาพบ่อยๆ พี่ทำงานด้านนี้รึเปล่าคะ

ส่วนเบาหวานนี่ ทางคุณแม่หนูเป็นกันอ่ะค่ะ
สงัยหนูไม่รอดแน่ๆ


โดย: กระต่ายลงพุง วันที่: 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา:11:39:27 น.  

 
ขอบคุณน้องแพนด้าที่แวะมาเยี่ยมบล็อคพี่ครับ หวังว่าสิ่งที่พี่ได้นำเสนอไปมีประโยชน์กับน้องแพนด้าหรือคนรอบ ๆ ข้างน้องแพนด้าไม่มากก็น้อยครับ

ขอบคุณ ลุงกล้วยที่แวะมาเยี่ยมบล็อคผมและคำอวยพรครับ เช่นกันครับ ขอให้ลุงกล้วยมีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ครับ (คิดถึงเจ้าสไปเดอร์แมนจัง)

ขอบคุณน้องกระต่ายแวะมาเยี่ยมบล็อคผมครับ ใช่ครับ อาชีพพี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพครับ(แต่ไม่ใช่หมอ) เรื่องเบาหวานนี่ ถ้าไม่ติดจากกรรมพันธุ์ แล้วไม่ใช้ชีวิตอย่างสบายเกินไป กิน ๆ นอน ๆ รับประทานอาหารตามใจปากเกินไป ไม่ออกกำลังกายเลย ไม่เป็นโรคนี้ง่าย ๆ เหมือนกันนะ น้องกระต่ายคงไม่เป็นไรหรอกมั้งครับ เพราะอายุยังน้อยอยู่เลย(ถ้าไม่เคยแสดงอาการตอนที่ยังเป็นเด็กนะ) รักษาสุขภาพนะครับ


โดย: postmaker วันที่: 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา:12:39:12 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ "เบาๆ ที่ไม่เบา" เลยค่ะ ...^_^

อ้อ..คืนนี้ฝันดีจะเป็นของเราสองคนเน๊อะ..





โดย: แกงส้มชะอมกุ้งใส่ผักบุ้งนิดนึง ณ.จ๊ะ.... (น้องแกงส้ม ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:57:21 น.  

 
ขอบคุณน้องแกงส้มที่แวะมาเยี่ยมบล็อคผมตอนดึกครับ ดอกไม้สวยมากนะครับ


โดย: postmaker วันที่: 18 พฤศจิกายน 2549 เวลา:0:59:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MaThilDra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add MaThilDra's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.