กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
 

เทคโนโลยีแห่งความปลอดภัย RFID and Biometric Technology

เทคโนโลยีแห่งความปลอดภัย RFID and Biometric Technology


เทคโนโลยี RFID


         RFID เป็นระบบที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Smart Card และทำหน้าที่แทน Barcode ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกระบบ ในระบบ Smart Card จะใช้บัตรที่มีหน่วยความจำ และไมโครโปรเซสเซอร์บรรจุอยู่ภายใน สัมผัสโดยตรงกับเครื่องอ่านบัตร ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆที่ต้องการให้ทราบของผู้ถือบัตรได้ ส่วนระบบ RFID ตัวบัตรสามารถอยู่ห่างจากเครื่องอ่านได้ ไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่านแบบบัตรสมาทร์การ์ด และไม่ต้องหันบัตรเข้าหาเครื่องอ่านเหมือน Barcode FID เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเกือบร้อยปีแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ยังมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกในการติดตั้งและใช้งาน ปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้กำลังจะมีบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้


         RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio Frequency Identification เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็ก (tag) เข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้าสินค้า สัตว์ บุคคลได้ เมื่อตัวส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับมาพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแท็กได้

 


รูปที่ 1 RFID Microchip และ RFID Tags


องค์ประกอบของ RFID


          RFID Tag จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ


          1. RFID Tags หรือ Transponder ส่วนเสาอากาศหรือตัวรับส่งสัญญาณ RFID Tag ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Transponder, Transmitter & Responder ประกอบด้วยไมโครชิป และขดลวด ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศที่คอยรับ-ส่งสัญญาณ Tags มีทั้งที่ใช้แบตเตอรี่ (Active RFID)ซึ่งมีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมกะไบต์ ขนาดใหญ่ราคาค่อนข้างแพง และแบบที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ (Passive RFID)เพราะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่แล้ว มีหน่วยความจำขนาดเล็ก ประมาณ 32 – 128 บิต ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และราคาถูก


           RFID tags แบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่


           1. Active RFID tags ต้องใช้แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (แบตเตอรี่) ที่ติดตั้งอยู่ภายในเพื่อการการทำงานข้อสังเกต คือ ราคาแพง, มีขนาดใหญ่กว่าแบบPassive, อายุการใช้งานจำกัด, ไม่ต้องใช้เครื่องอ่านที่มีกำลังสูง


           2.Passive RFID tags ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการทำงานข้อสังเกต คือ ราคาถูก,มีขนาดเบา เล็ก ไม่จำกัดอายุการทำงาน และต้องใช้เครื่องอ่านที่มีกำลังสูงอีก ด้วยเครื่องอ่านสัญญาณ (RFID Reader) มีทั้งแบบอยู่กับที่และแบบพกพา จะประกอบไปด้วยภาครับและภาคส่งสัญญาณวิทยุ ส่วนควบคุม และเสาอากาศ ความถี่ที่สร้างขึ้นจะมีขนาดเท่ากับความถี่ที่ RFID Tags สามารถตอบสนองได้ โดยอาศัยทฤษฎีการเหนี่ยวนำสัญญาณไฟฟ้า เมื่อคลื่นสัญญาณกระทบกับแผ่นป้ายระบุข้อมูล (RFID Tags) เพื่อให้แผ่นป้ายระบุข้อมูล (RFID Tags) ส่งข้อมูลของตัวเองกลับมายังเครื่องอ่านสัญญาณ (RFID Reader) จากนั้นจะแปลงสัญญาณที่ได้รับให้อยู่ในรูปดิจิตอลเพื่อใช้ประมวลผลทางคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ต่อไป



 รูปที่ 2 Passive RFID Tag


ที่มา www.cisco.com


           2. เครื่องอ่าน Reader หรือ Interrogator ส่วนวงจรไฟฟ้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Transceiver, Transmitter & Receiver ทำหน้าที่เขียนหรืออ่านข้อมูลใน Tags ด้วยสัญญาณความถี่วิทยุ มีส่วนประกอบหลัก คือ ส่วนรับและส่งสัญญาณวิทยุ ส่วนสร้างสัญญาณพาหะ ขดลวดที่ทําหน้าที่เป็นสายอากาศ วงจรจูนสัญญาณ หน่วยประมวลผลข้อมูล และส่วนติดต่อกับคอมพิวเตอร์


รูปที่ 3 Handheld RFID Reader with WiFi and Bluetooth


ที่มา www.korico414.en.ec21.com


การทำงานของ RFID


           พื้นฐานของ RFID คือความต้องการให้ สิ่งมีชีวิต ,วัตถุ หรือ เจ้าของวัตถุ ที่มีฉลากหรือป้าย RFID ติดอยู่ สามารถแจ้งข้อมูล ประวัติ หรือ ลักษณะเฉพาะ ของตัวเองให้ผู้อื่น โดยการใช้ไอซีประเภทไมโครชิปใส่ไว้ใน ป้ายหรือฉลาก ซึ่งไมโครชิปจะเก็บข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นไว้ และส่งสัญญาณข้อมูลออกมาด้วยความถี่วิทยุที่กำหนดไว้ ไปยังเครื่องรับหรือเครื่องอ่านข้อมูลRFID ที่อยู่ในระยะส่ง แผ่นป้ายหรือฉลากที่ระบุข้อมูลไว้ในไมโครชิปนี้ เราเรียกว่า RFID Tags หรือ Transponder แผ่นป้ายระบุข้อมูล (RFID Tags) ประกอบด้วยแผงวงจรไมโครชิปกับเสาอากาศขนาดเล็ก(แบบไดโพล) ที่ฝังเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นป้ายระบุข้อมูล


ภาพที่ 4 การทำงานของRFID


            ตัว Reader จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา (Radio Frequency) มาที่ตัว Tag เพื่อบันทึกหรือตรวจจับว่ามี Tag เข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ ถ้าเกิดว่าในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามี Tag เจ้าขดลวดที่รอบตัวนั้นนอกจากทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) ของ Tag ก็จะได้รับคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วจะแปลงความถี่กลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อใช้เลี้ยงวงจรของตัว Tag เพื่อให้ Tag เริ่มทำงานอ่านหรือบันทึกข้อมูลในหน่วยความจำใน จากนั้นก็จะส่งข้อมูลกลับด้วยการเหนี่ยวนำคลื่นความถี่ไปยังที่ Reader อีกครั้ง เพื่อทำการถอดรหัสสัญญาณออกมาเป็นข้อมูลให้นำไปใช้งาน


ย่านคลื่นความถี่ที่ใช้ในระบบ RFID


            คลื่นพาหะที่ใช้งานกันในระบบ RFID อาจแบ่งย่านความถี่ ISM (Industrial-Scientific-Medical) ออกได้เป็นย่านหลักๆได้แก่



ภาพที่ 5 ย่านความถี่ที่ใช้ใน RFID


ที่มา www.eepn.com/images/Articles/36910.jpg


             ย่านความถี่ต่ำ 100-500 kHz ความถี่มาตรฐานที่ใช้งานทั่วไปคือ 125 kHz เป็นย่านความถี่ที่แพร่หลายทั่วโลก มีระยะการรับส่งข้อมูลใกล้ ต้นทุนไม่สูง มีความเร็วในการอ่านข้อมูลต่ำ พบใน ปศุสัตว์,ระบบคงคลัง และรถยนต์ เป็นต้น


            ย่านความถี่กลาง 10-15 MHz ความถี่มาตรฐานที่ใช้งานทั่วไปคือ 13.56 MHz พบใน สมาร์ทการ์ด เป็นต้น


            ย่านความถี่สูง 850-950 MHz, 2.4-5.8 GHz ความถี่มาตรฐานที่ใช้งานทั่วไปคือ 2.45 GHz เหมาะกับงานที่มีระยะการสื่อสารข้อมูลในระยะไกล มีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง ราคาแพง พบใน รถไฟ, ระบบเก็บค่าผ่านทาง เป็นต้น


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน RFID


            การนำ RFID มาใช้ในธุรกิจและชีวิตประจำวันทำได้ดังนี้ เช่น


            - ใช้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในสายการผลิต เช่นตรวจสอบวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ว่าครบ และถูกต้องตามรุ่นที่กำหนดไว้หรือไม่ ทำให้ประหยัดคนในการ QC วัตถุดิบก่อนเข้าสายการผลิต


            - ใช้ในงานด้าน Logistics และWarehouse ทำให้เราตรวจสอบสินค้าที่จะส่งหรือรับ ได้อย่างรวดเร็วในปริมาณครั้งละมากๆ ป้องกันสินค้าสูญหายหรือโจรกรรม เช่น ในด้านการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน Wal-Mart สุดยอด ซูปเปอร์สโตร์ ในอเมริกาได้ตั้งกฏไว้ว่าสินค้าที่จะไปวางขายที่นั่น ต้องมี RFID ที่สามารถส่งคลื่นวิทยุเข้าไปอ่านข้อมูลสินค้าได้ทั้งหมด ทำให้การการตรวจสอบข้อมูลต่างๆนั้น ประหยัดเวลาในการตรวจสอบสินค้าได้อย่างมาก ระบบรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น สามารถแยกได้ว่าสินค้าใดต้องส่งไปที่ไหนต่อ ช่วยในการจัดการสินค้าในคลังสินค้าได้อย่างดี



ภาพที่ 6 RFID technology in Wal-Mart


 ที่มา www.baselinemag.com


           - ใช้ในด้านความปลอดภัย ในอาคาร โดยให้เฉพาะผู้ที่ติด RFID Tags สามารถเข้าอาคารหรือพื้นที่ที่กำหนดได้หรือใช้ลงบันทึกเวลาทำงานหรือเข้าออกอาคาร Time Attendant



ภาพที่ 7 An integrated RFID Card Reader


 ที่มา www.procontrol.hu


           - ใช้แทนหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวอื่นๆ


           - ใช้เป็นตั๋วโดยสารรถ เรือ เครื่องบิน ตั๋วดูภาพยนตร์ ฯลฯ


           - ใช้ตรวจติดตามสัตว์ หรือของมีค่าต่างๆ เช่น ระบบ Animal Tracking ในการระบุตัวสัตว์และเก็บข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสัตว์ เพื่อประโยชน์ในด้านการตรวจสอบย้อนกลับ โดยทำการติดอุปกรณ์ RFID แบบเป็นรายตัวหรือเป็นกลุ่ม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบสายพันธุ์ การให้อาหาร วันที่ฉีดยา และการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ได้การติดตามสัตว์ เช่นในกรณีเกิดโรคระบาดก็สามารถต้นตอแหล่งที่มาของโรคเป็นไปได้สะดวก ทำให้การควบคุมทำได้รวดเร็ว




ภาพที่ 8 RFID Ear Tag Information Selections


ที่มา www.hy-smart.com


            - ติดที่ฉลากยา หรือ ฉลากสินค้า ป้องกันของที่ยังไม่ได้คิดราคาถูกขโมย สามารคิดราคาสินค้าปริมาณมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบอกวันหมดอายุของสินค้า หรือยาได้ เช่น ตัว Reader ที่เห็นติดตามทางเข้าออกในห้างสรรพสินค้านั้น จากในภาพ ถ้าหากมีการนำสินค้าที่ยังไม่ได้ชำระเงินออกมา เจ้าตัว Tag ที่ติดอยู่กับสินค้า จะถูกตัว Reader ตรวจจับด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งไม่ว่าจะซ่อนหรือปกปิดก็ไม่รอดพ้นการตรวจจับไปได้




     ภาพที่ 9 RFID Gate Reader


ที่มา www.future-store.org


            - ใช้ติดกับหนังสือในห้องสมุด เพื่อป้องกันการสูญหายหรือโจรกรรม อีกทั้งช่วยในการจัดประเภทและค้นหาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความสะดวกในการยืมหรือคืนหนังสืออัตโนมัติ ช่วยให้การตรวจสอบหนังสือบนชั้นมีความสะดวกรวดเร็ว และยังป้องกันการขโมยหนังสือได้อีกด้วย




ภาพที่ 10 ห้องสมุดยุค RFID


การเปรียบเทียบระหว่าง RFID กับ Barcode


            * สามารถให้ข้อมูลสินค้าได้มากกว่า เช่น Barcode จะบอกได้เพียงลักษณะจำเพาะของสินค้า แต่ RFID จะบอกได้ครอบคลุมทั้ง ผลิตเมื่อใด มาจากโรงงานไหน เก็บที่คลังสินค้าที่ไหน นั้นคือบอกได้แต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งจะช่วยในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


            * อ่านค่าข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง กว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายเท่า * อ่านค่าข้อมูลจากป้าย (Transponder/Tag) ได้พร้อมกันหลาย ๆ ป้าย


            * อ่านค่าได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมกับเครื่องอ่านอย่างบาร์โค้ด (Non-Line of Sight) ไม่ต้องอยู่ในตำแหน่ง face to face เพราะ RFID ส่งสัญญาณวิทยุออกมายังเครื่องรับ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงเหมือนบาร์โค้ดหรือแถบแม่เหล็ก


            * มีความแม่นยำในการอ่านข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยี RFID นั้นความถูกต้องจะสูงประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่บาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์


            * สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้ลดต้นทุนในการใช้ป้าย เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ * แก้ปัญหาของการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด


            * ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อย เพราะไม่จำเป็นต้องติดป้ายไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์


            * มีความปลอดภัยสูง และยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ


            * คงทน ทั้งต่อความเป็ยกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก


            * สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ระยะไกล


            * สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น มองไม่เห็นวัตถุ หรือวัตถุกำลังเคลื่อนที่อยู่ เช่น สินค้าที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต


            * สื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายชนิด เช่น น้ำ พลาสติก กระจก หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆ ที่บาร์โค้ดไม่สามารถทำไม่ได้ ข้อจำกัดของระบบ RFID


            * ไม่สามารถใช้ข้ามระบบความถี่ได้ จึงมีความพยายามสร้างเครื่องอ่านที่สามารถอ่านข้อมูลและแปลสัญญาณจาก RFID ของคลื่นที่แตกต่างกันและในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน


            * มาตรฐานของผู้ผลิต ต่างก็มีมาตรฐานเป็นของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถนำ Tag จากผู้ผลิตรายหนึ่งมาใช้กับตัวอ่านข้อมูลของผู้ผลิตอีกรายหนึ่ง จึงต้องมีการพัฒนาระบบมาตรฐานขึ้นมา


            * ราคาค่อนข้างสูง ทำให้กำกัดอยู่เฉพาะสินค้าบางชนิดเท่านั้น


เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric)


            ไบโอเมตริก (Biometric) เป็นเทคโนโลยีซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างนิติวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้นๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งคุณลักษณะทางกายภาพของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมของมนุษย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะเป็น เสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา)ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล Biometrics





 ภาพที่ 11 ตัวอย่างของคุณลักษณะทางกายภาพที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ ลายนิ้วมือ ม่านตา ช่องตาดำ ฝ่ามือ และรูปหน้า เป็นต้น


การใช้งานของไบโอเมตริก


             ไบโอเมตริกซ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) และการใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics) ในการระบุตัวบุคคล


            1. ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) เช่น ลายนิ้วมือ Fingerprint, ลักษณะใบหน้า Facial Recognition, ลักษณะของมือ Hand Geometry , ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry, ลักษณะใบหู Ear , ลักษณะ Shape Iris และ Retina ภายในดวงตา, กลิ่น Human Scent


            2. ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics) เช่น การพิมพ์ Keystroke Dynamics ,การเดิน Gait Recognition ,เสียง Voice Recognition ,การเซ็นชื่อ Signature


ภาพรวมของการนำเอา Biometrics มาประยุกต์ใช้งาน


            การนำเอา Biometrics มาประยุกต์ใช้งานนั้น ส่วนใหญ่เป็นงานที่มีความจำเป็นในการตรวจสอบ และระบุตัวบุคคล อีกนัยหนึ่งคือเป็นงานที่ต้องมีความมั่นใจว่าบุคคลที่เข้ามาใช้งานนั้นเป็นบุคคลที่ผู้นั้นระบุว่าตนเองเป็น รวมถึงงานที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการระบุตัวผู้ใช้ การประยุกต์ใช้งาน Biometrics นั้นเหมาะสมทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ ตัวอย่างของหน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถนำมาเอา Biometrics มาช่วยในการดำเนินงานได้ เช่น


             1. Biometrics กับการควบคุมการเข้าออกสถานที่ / หรือการใช้ตรวจสอบเวลาทำงาน


              การเข้าออกสถานที่หวงห้ามในปัจจุบัน มักจะใช้บัตรผ่าน หรือใช้รหัสผ่าน หรือแม้แต่การใช้ยามเฝ้า ซึ่งการป้องกันแบบนี้สามารถถูกลักลอบได้ง่าย เช่นบัตรผ่าน หรือรหัสผ่าน อาจหาย ลืม หรือแม้แต่ให้คนอื่นยืมใช้ได้ ส่วนยามเฝ้าก็ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของยามแต่ละคน ความบกพร่องของระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจึงมีอยู่มาก การนำเอาไบโอเมตริกซ์มาช่วยเช่น การผ่านเข้าออกโดยใช้ลายนิ้วมือ, ใช้การตรวจสอบรูปหน้า, หรือแม้แต่การใช้การตรวจสอบลักษณะของเรตินาภายในดวงตา จึงเป็นทางออกที่ดีกว่าการใช้งานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน



ภาพที่ 12 การสแกนลายนิ้วมือเพื่อผ่านเข้าออก


             2. Biometrics กับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย


             เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook หลายๆรุ่น มีการนำเอาเทคโนโลยี Biometrics ประเภทลายนิ้วมือเพื่อมาช่วย Authentication การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่อนข้างมีประโยชน์มากสำหรับบุคคลที่ต้องการความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพราะถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกขโมย แต่ผู้ที่ขโมยไปก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยการใช้ลายนิ้วมือมาช่วยมีอยู่หลักๆสองประเภท คือเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ในตัวเครื่องอยู่แล้ว และ ประเภทที่ใช้ PC Card ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ ใส่เข้าไปในช่อง PC Card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook โดยที่ลายนิ้วมือจะเป็นการใช้ทดแทนการใช้รหัสผ่าน (Password) นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย จะต้องให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านก่อนการใช้งานทุกครั้ง แต่เนื่องจากรหัสผ่านสามารถถูกคาดเดา หรือขโมย หรือ ถูกยืมไปใช้ได้ง่าย ดังนั้นการใช้ Biometrics มาเป็นตัวเข้ารหัสการใช้งานของผู้ใช้ระบบเครือข่าย จึงเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้อย่างแท้จริงว่า ผู้ที่ใช้ระบบเครือข่ายอยู่คือผู้ที่มีสิทธิในการใช้งานได้จริง



ภาพที่ 13 เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดมีระบบสแกนลายนิ้วมือ


              3. Biometrics กับการใช้งานของสถาบันการเงิน


              ในปัจจุบันการตรวจสอบตัวบุคคล เป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำธุรกิจของสถาบันทางการเงิน การใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายนิ้วมือ บัตรประจำตัว หรือแม้แต่รหัสผ่าน ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการปลอมแปลง และเป็นปัญหาที่สถาบันการเงินต้องพบเจอกับกลโกงต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีทางด้านไบโอเมตริกซ์มาเป็นสิ่งประกอบเพิ่มเติมในการตรวจสอบตัวบุคคล จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสถาบันทางการเงิน ทั้งทางด้านการช่วยในการเบิกถอนเงินทั้งที่ผ่านทางเคาเตอร์ และทั้งที่ผ่านทางเครื่อง ATM นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ในการตรวจสอบผู้ใช้บัตรเครดิต ก็จะเป็นการช่วยลดการปลอมแปลง หรือการลักลอบใช้บัตรเครดิตของผู้อื่น และในทางกลับกันก็ยังช่วยลดการปฏิเสธความรับผิดชอบของผู้ใช้งานเอง เพราะมีหลักฐานที่แน่นอนในการระบุตัวบุคคลที่เชื่อถือได้


              4. Biometrics กับการใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร


              การระบุตัวอาชญากรที่ทำการตรวจสอบลายนิ้วมือ หรือการชี้ตัวโดยพยาน ซึ่งสามารถนำเอา Biometrics มาช่วยในการตรวจสอบลายนิ้วมือโดยอัตโนมัติ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) ระบบนี้นอกจากจะให้ทางตำรวจตรวจลายนิ้วมือที่พบในที่เกิดเหตุกับฐานข้อมูลลายนิ้วมืออาชญากรที่มีอยู่แล้ว ระบบ AFIS ยังสามารถเป็นแหล่งข้อมูลให้กับทางองค์กรทางเอกชน ในการค้นหาประวัติการทำผิดกฏหมายของผู้สมัครงานหรือบุคคลากรภายในองค์กรได้อีกด้วย




ภาพที่ 14 การระบุตัวอาชญากรโดยใช้ Biometric


              5. Biometrics กับงานทะเบียนราษฎร์


              จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนางานทะเบียนราษฎร์ให้มีความทันสมัยและมีความสะดวกสบายและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งก็ได้มีการนำเทคโนโลยี Biometrics ร่วมกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อมาใช้กับการระบุยืนยันตัวบุคคลในการมาติดต่องานทะเบียนราษฎร์ ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ในการต่ออายุบัตรประชาชนก็สามารถทำแบบออนไลน์ได้ที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ใดก็ได้ เนื่องจากจะมีการยืนยันตัวบุคคลและเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายเดียวกันทั้งประเทศ เป็นต้น




ภาพที่ 15 การบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือลงในบัตร Smart card


แหล่งที่มาของข้อมูล


 //www.rfid-handbook.de/rfid/types_of_rfid.html, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


//www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_11_2548_rfid.pdf,วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


//www.vcharkarn.com/varticle/39485, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


//www.vcharkarn.com/vblog/35431/4,วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


//www.guru-ict.com/guru/files/[17]_Biometric.doc, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.cisco.com, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


 www.korico414.en.ec21.com, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.eepn.com/images/Articles/36910.jpg, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.baselinemag.com,วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.procontrol.hu,วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.hy-smart.com,วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553


www.future-store.org, วันที่เข้าถึง 7 กุมภาพันธ์ 2553



Free TextEditor




 

Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2553 21:24:07 น.
Counter : 6041 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

ปลาส้ม&เวตาล
Location :
ตาก Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ปลาส้ม&เวตาล's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com